***เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน***


สารนิเทศเพื่อการเรียนรู้
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี


คำนำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
สังคมข่าวสาร

วัสดุสารนิเทศ

หนังสือและส่วนต่างๆ
ของหนังสือ

การจัดหมวดหมู่สารนิเทศ

การค้นข้อมูลใน
สังคมสารนิเทศ

หนังสืออ้างอิง

การเขียนรายงานการศึกษา
และค้นคว้า

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

วิธีการอ้างอิง

ในการเขียนรายงาน หรือ บทนิพนธ์ หรือ ผลงานทางวิชาการ ผู้เขียนจำเป็นต้องอ้างถึงแหล่งที่มา ของข้อมูล หรือ ข้อความในตัวเรื่องที่ยกมาโดยตรง หรือ ที่ประมวลความคิดเห็นมา การอ้างอิงทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
    1. การอ้างอิงแบบแยกจากเนื้อหา หรือ เรียกว่า เชิงอรรถอ้างอิง (Citation footnotes)
    2. การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา หรือ เรียกว่า การอ้างอิงระบบนาม-ปี หรือ ระบบ APA (American Psychological Association)

การอ้างอิงแบบแยกจากเนื้อหา หรือ เชิงอรรถอ้างอิง

เชิงอรรถอ้างอิง เป็นการระบุแหล่งที่มาของเนื้อหา หรือ ข้อมูลในเอกสารต่างๆที่นำมาใช้ประกอบ ในการเขียนผลงาน ด้วยการใส่ตัวเลขกำกับไว้ท้ายข้อมูลที่นำมาใช้ และระบุรายละเอียดของแหล่งข้อมูลนั้น ไว้ท้ายหน้าแต่ละหน้า โดยใส่หมายเลขกำกับ ให้ตรงกัน ในการระบุรายละเอียดของแหล่งข้อมูล จะมีรูปแบบแตกต่างกันไป ตามประเภทของข้อมูลในเอกสารชนิดนั้นๆ การอ้างอิงแบบเชิงอรรถจึง ค่อนข้างยุ่งยาก และ สลับซับซ้อนกว่าการอ้างอิงในระบบแบบแทรกในเนื้อหา

การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา หรือ ระบบนาม-ปี

การอ้างอิงระบบนาม-ปี หรือ ระบบ APA เป็นการแจ้งแหล่งที่มาของข้อความไว้ในวงเล็บ แทรกอยู่กับเนื้อหาในตำแหน่ง ที่มีการอ้างอิง สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (The American Psychological Association) เป็นผู้กำหนดแบบแผนการอ้างอิงระบบนี้ ปัจจุบัน ระบบนาม-ปี หรือ ระบบ APA เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมาก เพราะสะดวกและประหยัดเนื้อที่ในการพิมพ์ มีแบบแผน การลงรายการง่ายต่อการศึกษาและปฏิบัติ ข้อสำคัญในการอ้างอิงในระบบนี้ นอกจาก ระบุนามผู้เขียน ปีที่พิมพ์แล้ว จะต้องระบุหน้าที่อ้างอิงไว้ด้วย

ตัวอย่างการอ้างอิงระบบเชิงอรรถ

ตัวอย่างการอ้างอิงระบบนาม-ปี

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2002
Revised:April 2002