|
ตัวอย่างการอ้างอิงในระบบเชิงอรรถ
การศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความหมายของ "บรรณารักษศาสตร์"
ในพระราชบัญญัติการศึกษาชั้นสูง ปี ค.ศ. 1965 ของสภาคองเกรส สหรัฐอเมริกา มาตรา 2(ข)วรรคที่ 222 ให้คำจำกัดความ "บรรณารักษศาสตร์" ว่า
"หลักการและการปฏิบัติงานในห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ ซึ่งรวมงานด้านจัดหา การจัด องค์การ การจัดเก็บการนำออกมาใช้ การเผยแพร่ข่าวสาร
การอ้างอิงและค้นคว้าวิจัย โดยใช้ ห้องสมุดและแหล่งข่าวสารอื่น ๆ "1
จอห์น เอฟ ฮาร์วี(John F. Harvey) อธิบายว่าบรรณารักษศาสตร์ คือ การศึกษาวิชาห้องสมุดสมัยใหม่ การศึกษาและปฏิบัติงาน ในการจัดดำเนินงานห้องสมุด
การบรรยายวิเคราะห์และปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ นโยบายและวิธีการขององค์การที่ให้บริการข่าวสารทุกชนิด การศึกษาและปฏิบัติ งานในด้านการวิเคราะห์ผู้ใช้
การเลือกสิ่งตีพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ การจัดหา การจัดองค์กร การจัดเก็บและการให้ บริการ ทั้งในโรงเรียน วิทยาลัย บริษัท
สมาคมหน่วยราชการห้องสมุดประชาชน ซึ่งที่แท้จริงแล้วก็ควมสถาบันทุกประเภท บรรณารักษสาตร์เป็นศิลปและศาสตร์แขนงหนึ่งที่นำคนกับหนังสือเข้าหากันได้
อย่างได้ผลดี2
เอช เค มาจุมดาร์(H.K. Majumdar) กล่าวถึงบรรณารักษศาสตร์ว่า บรรณารักษศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ
การส่งเสริม การเรียนรู้และการกระทำของมนุษย์ ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา การสังเกต การทดลองปฏิบัติ ถือว่าเป็นศาสตร์ สาขาหนึ่ง
และขณะเดียวกันยังมีความสามารถในการนำวิชาอื่นๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ร่วมกัน
.........................
1"Library Education," Journal of
Educationfor Librarianship 6
(Winter 1966 ): 219.
2John F. Harvey, "Toward a Definition
of International and Comparatove Library
Science". International Library Review 5(July 1973) : 292.
|
|