ตัวอย่างการอ้างอิงในระบบนาม-ปี
-3-
มีการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ได้น้อยแต่บางครั้งก็อาจต้องยอมรับและศึกษาในเรื่องนี้อย่าง จริงจัง (Badham, 2531, pp.38-45)
บรรณารักษ์และนักสารนิเทศจึงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นให้ผู้ใช้บริการได้นำข้อมูลที่ได้รับไปพิจารณา และ ใช้ประโยชน์เพื่อ การศึกษาค้นคว้า วิจัยต่อไป
สังคมกำลังเปลี่ยนแปลงไป ข่าวสารที่ได้รับมีความหลากหลาย หน้าที่ของ บรรณารักษ์และนักสารนิเทศจะต้องเพิ่มขึ้น จะต้องเรียนรู้ความผสมผสานทางวิชาการ ต่าง
ๆหลายสาขาวิชาเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรื่องข้อมูลนั้น ๆ นั่นคือความ
จำเป็นต่อการที่จะเรียนรู้วิชาสารนิเทศศาสตร์ต่อการนำไปปฏิบัติในสังคมข่าวสารต่อไป
ความหมายของสารนิเทศและสารนิเทศศาสตร์
ความหมายของสารนิเทศ (Information)
คำในภาษาไทยมีความหมายว่า ข่าวสาร ข้อมูล วิชาการ แหล่งความรู้ เอกสารล้วนแล้วแต่แปลเกือบจะใกล้เคียงกัน บางคำอาจใช้แทน กันได้ บางครั้งก็อาจ
เกิดความสับสนว่าจะใช้คำไหนดี ในภาษาอังกฤษมีคำที่เรียกใช้อยู่คำหนึ่งซึ่งตรงกับสังคม ยุคข่าวสาร คือ คำว่า Information และเรียกวิชาที่เกี่ยวข้องกับ Information
ว่า Information Science
สมาคมห้องสมุดอเมริกันให้คำจำกัดความของคำว่า Information ว่า หมายถึง ความคิด ข้อเท็จจริง และผลงาน ที่เกิดขึ้นจากจิตใจทั้งหมด
ซึ่งมีวิธีการติดต่อสื่อสาร มี การจดบันทึกรวบรวม มีการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือมีวิธีการแจกจ่ายทั้งอย่างเป็นทางการ และ ไม่เป็นทางการ ในทุกรูปแบบ (Young,
1983, p.117)
คำว่า "Information" ซึ่งบัญญัติความหมายโดย Prytherch (1987, p.381) สรุปได้ว่า คือ ข่าวสารข้อมูลที่ได้รับการบันทึกบนกระดาษ หรือวัสดุอื่น ๆ และใช้
ประโยชน์เพื่อการสื่อสาร และ Palmer (1987, p.6) ให้ความหมายที่สั้นกระทัดรัดว่า คือข้อมูลซึ่งใช้ในการตัดสินใจ
|