|
หนังสือและส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ
Books, Libraries, and You
I always think the cover of
A book is like a door
Which opens into some one's house
Where I've not been before
A pirate or a fairy queen
May lift the latch for me,
I always wonder, when I knock
What welcome there will be.
---Annie Fellows Johnston
ที่มา
(Mott, Carolyn, & Baisden, Leo B.,
1961, p. 17)
"ผมชอบโคลงข้างต้นนี้อย่างมากทีเดียว," มานพพูดกับวิชัยนอกห้องสมุดหลัง จากค้นคว้าความหมายจากโคลงเรียบร้อยแล้ว
"ผมเห็นด้วย," วิชัยพูดเสริม สายตาจับจ้องอยู่ที่หนังสือ ๓ เล่มที่ตนเองถืออยู่
"หนังสือทุกเล่มช่างเปิดเผยเรื่องราวอะไรต่อมิอะไรมากมายเราได้พบได้เห็น สิ่งที่ไม่เคยพบด้วยการอ่าน หรือนายจะว่ายังไง?" มานพเอ่ยถาม
"นั่นนะซิ อาจารย์แก้วได้สอนให้เรารู้จักหน้าตาของหนังสืออย่างละเอียด เราก็เลยรู้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหนังสือได้อย่างดี," วิชัย ตอบพลางกล่าวต่อไปว่า
"ว่าแต่นายทำรายงานเรื่องส่วนประกอบของหนังสือเสร็จแล้วหรือยัง"
"เสร็จแล้ว" มานพตอบพร้อมกับพูดต่อไปว่า " ไหน เราลองมาตรวจดูกัน ไหมล่ะว่าคำตอบจะตรงกันหรือไม่"
"ก็ดีเหมือนกัน ไป นั่งตรวจที่ใต้ต้นชงโคต้นนั้นดีกว่า
หนังสือทุกเล่มมีประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกคน แต่ละส่วนของหนังสือมีชื่อเรียกว่า เป็นส่วนใดของหนังสือ และแต่ละส่วนนั้น ล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น เช่น
ใบหุ้มปกหนังสือทำ หน้าที่ป้องกันหนังสือไม่ให้เกิดความชำรุด เป็นสิ่งดึงดูดใจเวลาซื้อหนังสือ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ผู้แต่งหนังสือ หรือ
ชื่อหนังสือ ของหนังสือเล่มนั้นอึกด้วย ปกนอก (Cover) เป็นส่วนของหนังสือซึ่งประกอบด้วยปกหน้าและปกหลังโดยมี สันปกหนังสือ เป็นที่ยึด
เวลาเราจะทำรายงานค้นคว้า หน้าของหนังสือที่สำคัญมากที่สุดได้แก่ หน้าปกใน (Title page) หน้านี้จะอยู่ทางขวามือเสมอ
ที่ว่าสำคัญเพราะหน้านี้ให้รายละเอียด เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ (Title)
2. ชื่อรองของหนังสือ (Sub-Title)
3. ชื่อผู้แต่งหนังสือ (Author)
4. ชื่อผู้รวบรวมหนังสือ (Compiler)
5. ชื่อผู้แปล (Translator)
ดังนั้น เวลาทำรายงานจะต้องใช้ข้อความที่ปรากฎในหน้านี้อ้างอิงเสมอ เวลา ลงรายการเชิงอรรถหรือรวบรวมรายการบรรณานุกรม
นักเขียนหนังสือส่วนใหญ่มักจะมีแรงดลใจในการเขียนหนังสือ ดังนั้น ในบางครั้ง เรามักจะพบข้อความสั้น ๆ ตีพิมพ์ในหน้าคำอุทิศ
สมมุติว่าข้าพเจ้าจะเขียนหนังสือ สักเล่ม ข้าพเจ้าจะเขียนข้อความในหน้าดังกล่าวว่า
"ขออุทิศความดีของการเขียนหนังสือนี้
แก่ผู้สนใจการอ่านหนังสือทุกท่าน"
แต่ข้าพเจ้าจะเขียนถึงเหตุผลในการเขียนหนังสือของข้าพเจ้าหรือกล่าวถึง ขอบเขตความเป็นมา หรือ วัตถุประสงค์
ของการเขียนหนังสือข้าพเจ้าจะเขียนไว้ที่หน้าคำนำ ไม่ใช่ไปเขียนไว้ที่หน้าคำอุทิศ และในกรณีคล้ายกัน ถ้าข้าพเจ้าใคร่จะขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วม
ช่วยข้าพเจ้าในการเขียนหนังสือข้าพเจ้าก็จะกล่าวคำขอบคุณไว้หน้าประกาศคุณูปการ เพื่อแสดงความจริงใจของข้าพเจ้า
หนังสือที่พิมพ์ในประเทศไทยมักมีส่วนต่าง ๆ ของหนังสือไม่ครบ เช่น ไม่มีอภิธานศัพท์เลยหาคำแปลศัพท์เฉพาะไม่ได้ ไปเปิดพจนานุกรมทั่ว ๆ
ไปก็อาจได้ ความหมายไม่ถูกต้อง ไม่มีภาคผนวก เลยต้องไปค้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเอาเอง แต่ก็
ยังดีที่หนังสือบางเล่มมีการอ้างเชิงอรรถไว้ที่ส่วนท้ายของหน้าหนังสือ ทำให้สามารถค้นที่มาดั้ง เดิมของข้อความในหนังสือได้ และส่วนใหญ่แล้ว
หนังสือเกือบทุกเล่มมักจะมีบรรณานุกรมซึ่ง รวบรวมรายชื่อหนังสือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ผู้เขียนใช้ค้นคว้าอ้างอิงในงานเขียนหนังสือเล่มนั้น
หนังสือสารานุกรมเกือบจะทุกชุดมีดรรชนีไว้สำหรับค้นเรื่อง ค้นชื่อบุคคล สถาน ที่ต่างๆ หรืออื่นๆ ซึ่งกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น
ทำให้ผู้อ่านสะดวกต่อการค้นข้อความ และหนังสือสารานุกรมส่วนใหญ่มีเนื้อเรื่อง ซึ่งให้รายละเอียดของเรื่องราวตามหัวข้อต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหน้าสารบัญ
ตั้งแต่บทที่ 1 จนถึงบทสุดท้าย
"ตรวจแลัวตรงกัน," มานพเอ่ยขึ้น หลังจากก้มหน้าตรวจดูแบบฝึกหัด
"ก็เราเรียนแล้ว เราเข้าใจกันหมดนี่," วิชัยพูดขึ้น "เอ๊ะ นั่นกระดาษอะไร หล่นลงมาจากหนังสือที่นายยืมจากห้องสมุด"
"ไหน," มานพเหลียวหลังเอื้อมมือหยิบแผ่นกระดาษใบนั้น
" อํอ เป็นใบแก้คำผิดของหนังสือนั่นเอง เจ้าหน้าที่ห้องสมุดคงแก้ไขเรียบร้อย แล้วในหน้าหนังสือแต่ก็ยังคงสอดไว้ในหนังสือ,"
มานพตอบพลางหยิบกระดาษแผ่นนั้นสอดใส่ไว้ ในหนังสือตามเดิม
|
|