สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำนำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
สังคมข่าวสาร

วัสดุสารสนเทศ

หนังสือและส่วนต่างๆ
ของหนังสือ

การจัดหมวดหมู่
สารสนเทศ

การค้นข้อมูลใน
สังคมสารสนเทศ

หนังสืออ้างอิง

การเขียนรายงาน
การศึกษา
และค้นคว้า

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

การจัดทำโครงเรื่องรายงานครั้งแรก
(The first draft of a report)

วิธีการจัดทำโครงเรื่องรายงานที่จะเขียน ได้แก่การแบ่งเนื้อหาของรายงานตามรายละเอียดที่กล่าวไว้ในขอบเขต รายงาน ผู้เขียนจะต้องแบ่งเนื้อหาวิชาเป็นบทต่างๆให้ครอบคลุมในขอบเขตรายงานทั้งหมด

การกำหนดโครงเรื่องของตัวรูปเล่มรายงานการวิจัย เอกสารประกอบการสอน หรือ ตำรา ควรพิจารณานึกถึงส่วนประกอบของตัวเอกสาร ต่อไปนี้ คือ
ส่วนนำ หรือ ส่วนประกอบตอนต้น
ส่วนเนื้อเรื่อง หรือ ส่วนประกอบตอนกลาง
ส่วนอ้างอิง หรือ ส่วนประกอบตอนท้าย

รายละเอียดของแต่ละส่วนประกอบ มีดังนี้

    1. ส่วนนำ หรือ ส่วนประกอบตอนต้น
      1.1 ปก (Cover)
      1.2 หน้าปกใน (Title page)
      1.3 หน้าอนุมัติ (Approval page)
      1.4 บทคัดย่อภาษาไทย (Abstract in Thai)
      1.5 บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract in English)
      1.6 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)
      1.7 สารบัญ (Table of contents)
      1.8 สารบัญตาราง (List of tables)
      1.9 สารบัญภาพ หรือ สารบัญแผนภูมิ (List of figures)

    2. ส่วนเนื้อเรื่อง หรือ ส่วนประกอบตอนกลาง

      2.1 ส่วนเนื้อหา (Content)
      2.1.1 บทที่ 1
      2.1.2 บทที่ 2
      2.1.3 บทที่ 3
      2.1.4 บทที่ 4
      2.1.5 บทที่ 5
      2.2 ส่วนประกอบในเนื้อหา (Body of contents)
      2.2.1 อัญพจน์ (Quotations)
      2.2.2 การอ้างอิง (References)
      2.2.3 บันทึกเพิ่มเติม ( Notes)
      2.2.4 ตาราง (tables)
      2.2.5 ภาพประกอบ (Figures)

    3. ส่วนอ้างอิง หรือ ส่วนประกอบตอนท้าย

      3.1 บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง (References)
      3.2 ภาคผนวก (Appendixes)
      3.3 ประวัติผู้เขียน หรือ ผู้วิจัย (Biography)

ตัวอย่างการกำหนดส่วนเนื้อหา

วิชา ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

    บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคมข่าวสาร
    บทที่ 2 สื่อสารนิเทศในสังคมข่าวสาร
    บทที่ 3 การจัดเก็บและควบคุมสารนิเทศ
    บทที่ 4 การบริการและเผยแพร่สารนิเทศ
    บทที่ 5 การค้นข้อมูลในสังคมสารนิเทศ
    บทที่ 6 นโยบายและระบบสารนิเทศ
    บทที่ 7 เทคโนโลยีสารนิเทศ
    บทที่ 8 บุคคลสำคัญในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
    บทที่ 9 การศึกษาวิชาสารนิเทศศาสตร์
    บรรณานุกรม

    ในแต่ละบทจะต้องกำหนดโครงเรื่องย่อยให้สัมพันธ์กับเนื้อหาของเนื้อหาในแต่ละบท ดังตัวอย่างการกำหนด เนื้อหาย่อยในบทที่ 1 ดังนี้

    บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคมข่าวสาร
    1.1 ความหมายของสารนิเทศและสารนิเทศศาสตร์
    1.2 ความสำคัญของสารนิเทศ
    1.3 บทบาทของสารนิเทศ
    1.4 พัฒนาการของสารนิเทศจากบริการของห้องสมุด
    1.5 พัฒนาการของสารนิเทศจากประเภทของสื่อสารนิเทศ
    1.6 พัฒนาการของวิชาสารนิเทศศาสตร์
    1.7 บทสรุปเรื่องความรู้สังคมข่าวสาร
    1.8 คำรำพึงของบรรณารักษ์

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008