|
วิธีการอ้างอิงข้อมูล
วิธีการศึกษาค้นคว้าและเขียนรายงาน
ตอนที่ 3
"สวัสดีครับ คุณครู," สันติทำความเคารพครูกิ่งกาญจน์หลังจากเข้ามาที่โต๊ะ ทำงานภายในห้องพักครูเรียบร้อยแล้ว
"สวัสดีจ้ะ" ครูกิ่งกาญจน์รับไหว้ พลางถามต่อไปด้วยอารมณ์ดีว่า "วันนี้ จะให้ครูช่วยอะไรเอ่ย"
"เรื่องการทำรายงานแหละครับ," สันติตอบขึ้น "ผมยังไม่เข้าใจถึงเรื่องการ ลงเชิงอรรถและการเขียนบรรณานุกรม มันเลยยุ่งไปหมดเลยครับ"
"เอาละ ครูจะอธิบายให้ฟังทีละขั้นตอนก็แล้วกัน เธอรับเอกสาร 2-3 แผ่นนี้ ไปลองอ่านดูซิว่าเธอเข้าใจเพิ่มเติมขึ้นไหม,"
ครูกิ่งกาญจน์ตอบพลางหยิบแผ่นกระดาษ ซึ่งเธอได้สรุปการเขียนรายงานเอาไว้
สันติรับแผ่นกระดาษมาอ่านสักครู่ สีหน้าค่อย ๆ เบิกบานขึ้นเพราะเริ่มเข้าใจถึง สิ่งที่เขามองข้ามไป
"ผมนึกว่าประโยคต่างๆ ที่คัดลอกจากหนังสือ เราจำเป็นต้องคัดลอกทุกอย่างแต่ในรายงานเรื่องนี้เพียงแต่สรุป และใช้สำนวนภาษาของผู้เขียนเอง,"
สันติพูดขึ้น
"ใช่จ้ะ เธอชักสังเกตออกแล้วซินะ การเขียนรายงานก็คือ ผลการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้สอนกำหนด ให้ผู้เรียนทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นหมู่
ข้อความที่ผู้เขียนมาโดย ตรงจากหนังสือเราเรียกว่า "อัญพจน์" ถ้าหากมีความยาวไม่เกิน 3 บรรทัดสามารถนำมา
เขียนภายในตัวข้อความของรายงานได้เลยใส่เครื่องหมาย อัญญประกาศคู่ไว้ด้วย เช่น
"ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉัน
แต่ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรัก"
"หลักเกณฑ์การลงรายการอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรมล่ะครับ ผมสังเกต ว่าแต่ละสถานศึกษาลงรายการไม่เหมือนกันเลย,"
สันติเอ่ยถามถึงตัวปัญหายุ่งยากของเขา
"จริงทีเดียวที่เธอพูด ในสถาบันการศึกษามีการลงรายการอ้างอิง หรือเดิมนิยมลงรายการเชิงอรรถและ บรรณานุกรมต่างกันออกไป บางแห่งใส่เครื่องหมาย บางแห่งไม่ใส่เครื่องหมาย
แต่ครู อยากให้เธอใช้การลงรายการอ้างอิงและบรรณานุกรมที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อฝึกให้เธอได้ใช้หนังสือในระดับสูงต่อไป,"ครูกิ่ง กาญจน์ตอบ
พลางยื่นรายงานที่มีรูปแบบของการอ้างอิงให้สันติดู และแนะนำให้สันติดูหน้า บรรณานุกรมซึ่งปรากฏอยู่หน้าสุดท้ายของรายงาน
รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิง
การเขียนรายงานการอ้างอิงตามระบบนาม-ปี ค่อนข้างง่ายเพราะใช้รายการอ้างอิงเพียง 3 รายการ คือ รายการชื่อผู้แต่ง รายการปีที่พิมพ์ และ
หน้าที่อ้างถึงข้อความท ทั้ง 3 รายการจะอยู่ในเครื่องหมาบวงเล็บ แต่ละรายการคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค
รูปแบบการอ้างอิง
(ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์, หน้าที่อ้าง)
ตัวอย่าง
(จุมพจน์ วนิชกุล, 2526, หน้า 36)
(จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ และ ทวี สวนมาลี, 2519, หน้า 239)
หมายเหตุ
ชื่อผู้แต่ง ให้ระบุทุกคนโดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่น ระหว่างคนสุดท้ายจะมีคำว่า และ เชื่อม
รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม
1. หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: สถานที่พิมพ์, ปีที่พิมพ์.
ตัวอย่าง
จุมพจน์ วนิชกุล และ คนอื่นๆ. (2516). ห้องสมุดและ
การศึกษาค้นคว้า . กรุงเทพมหานคร: เคล็ดไทย.
2. บทความในหนังสือภาษาไทย
กอบเกื้อ สุวรรทัต-เพียร. (2519). สังคมตะวันตกและวิวัฒนาการ
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2. ใน กอบเกื้อ สุวรรทัต-เพียร (บก.),
อารยะธรรมตะวันตก (หน้า 332-363). กรุงเทพมหานคร: คัมภีร์.
3. บทความวารสาร หนังสือพิมพ์ และสารานุกรม
บทความจากวารสาร
จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ และทวี สวนมาลี. (เมษายน 2519).
ความสามารถในด้านการเงินของเทศบาล. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 16, 231 - 254.
บทความจากหนังสือพิมพ์
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2520, มกราคม 12). ข้าวไกลนา.
สยามรัฐ, หน้า 3.
บทความจากสารานุกรม
เจริญ อินทรเกษตร. (2511-2516). ฐานันดร. ใน
สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน (เล่ม 11,
หน้า 6912 -6930). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
4. สัมภาษณ์
แม้นมาส ชวลิต. (2519, ธันวาคม 7). ผู้อำนวยการ.
กองหอสมุดแห่งชาติ. สัมภาษณ์.
"ไหนลองสรุปซิว่า รายการอ้างอิงคืออะไร." ครูกิ่งกาญจน์ถามสันติหลังจากที่สันติได้ อ่านรายละเอียดของรูปแบบการลงเชิงอรรถแล้ว
"รายการอ้างอิง คือ การระบุที่มาของข้อความที่นำมาจากสื่อสารนิเทศประเภทต่างๆที่ใช้ในการเขียนรายงาน
ครับ," สันติตอบ
"เก่ง ใช้ได้ แล้วบรรณานุกรมล่ะ," ครูกิ่งการญจน์ถามต่อไป
"บรรณานุกรม คือ รายชื่อหนังสือ เอกสาร หรือ สิ่งพิมพ์ใด ๆ ที่ใช้เพื่อ การอ้างอิงในการเขียนรายงาน รายชื่อเหล่านั้นจะต้องนำ
มาเรียบเรียงอย่างเป็นระเบียบ เช่นตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง เพื่อแสดงไว้ให้ผู้อ่านรายงานสามารถตรวจสอบได้ " สันติตอบ อีกครั้งด้วยความมั่นใจ
"ใช่จ้ะ แสดงว่าเธอเข้าใจแล้วในเรื่องระเบียบวิธีการดำเนินงานการค้นคว้า และการเขียนรายงาน เธอสังเกตไหมว่าการเขียน
รายการอ้างอิงและบรรณานุกรมต่างกันตรงไหน," ครูกิ่งกาญจน์ถาม
"การเขียนรายการอ้างอิงจะกระทัดรัด มีเพียง 3 รายการอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ส่วนการเขียนบรรณานุกรม
จะเขียนย่อหน้าเข้าไป 4-7 ระยะตัวเขียนในบรรทัดที่ 2 ครับ," สันติตอบพลางชี้ให้ครูกิ่งกาญจน์ดู
"เก่งทีเดียว เธอนี่ถ้าสนใจอย่างจริงจังแล้ว เธอไม่ใช่คนที่เหลวไหลเลยนะ หวังว่าเธอคงเป็นวิศวกรที่ดีในอนาคตแน่,"
ครูกิ่งกาญจน์ชมเชยสันติจนเจ้าตัวต้องรีบลาออกจากห้องพักครู
|
|