|
หนังสือคู่มือ
(Handbook)
ความหมายของหนังสือคู่มือ
หนังสือคู่มือเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องราวและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ บุคคล เหตุการณ์แนวโน้มเฉพาะด้านหรือเรื่องราวที่น่าสนใจเฉพาะด้านหรือเรื่องในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยเฉพาะ โดยให้รายละเอียดของเรื่องราวนั้นอย่างสั้น ๆ หรืออาจใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานและใช้ เป็นแหล่งอ้างอิงหาข้อเท็จจริงที่จะตอบคำถาม
วัตถุประสงค์ของหนังสือคู่มือ
1. ให้เรื่องราวและความรู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
2. เป็นคู่มือในการตอบคำถามเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งอย่างรวดเร็ว
3. เป็นคู่มือในการศึกษาปฏิบัติงานในด้านหนึ่ง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ของหนังสือคู่มือ
หนังสืออ้างอิงประเภทนี้จะช่วยให้ทราบถึงข้อเท็จจริง ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ควรรู้ใน สาขาวิชาต่างและคู่มือปฏิบัติในวิชาใดวิชาหนึ่งเช่น คู่มือในวิชาเคมี เป็นต้น
ประเภทของหนังสือคู่มือ
หนังสือคู่มือมี 4 ประเภทได้แก่
1. คู่มือช่วยปฏิบัติงาน เป็นหนังสือที่ทำหน้าที่แนะแนวทางให้คำสั่งสอนและแนะนำเช่นหนังสือแนะนำอาชีพ ตำราประกอบอาหาร คู่มือซ่อมรถ เป็นต้น
2. หนังสือรวบรวมความรู้เบ็ดเตล็ด เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้ที่ค้นได้ยากในสาขาวิชาต่าง ๆ
3. หนังสือคู่มือเป็นหนังสือที่ให้คำอธิบายและตีความหมายของเรื่องราวของเนื้อหาวิชาใดวิชาหนึ่งในแง่มุม หลาย ๆ ด้าน
4. หนังสือที่ให้เรื่องราวหรือเนื้อหาสำคัญโดยย่อเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะเรื่องที่สำคัญ โดยย่อภายใต้หัวเรื่องหรือชื่อเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ที่มา:
สุนิตย์ เย็นสบาย. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง.
พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:ศิลปาบรรณาคาร.
|
|