บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญ๗นบุรี
วิชา 811201
การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
Innovation and Information Management
ผู้สอน
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
อาจารย์สาโรจน์ เผ่าวงศากุล
***ความรู้คืออำนาจ เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


แนวสังเขปรายวิชา

สารบัญ
เนื้อหาวิชา

กิจกรรม
การเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล

ตำราประกอบ
การสอน

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศ
ประกอบ
การเรียนการสอน

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ Internet

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน


Home

การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

การจัดการข้อมูลในสถานศึกษาทั่วไปควรคำนึงถึงความสะดวก และ ความรวดเร็วในการให้บริการข้อมูล โดยเฉพาะการดำเนินงานการให้บริการในระบบอินเทอร์เน็ต ผู้บริหารควรศึกษาถึงคู่มือการปฎิบัติงานในระบบ อินเทอร์เน็ตว่ามีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องในเรื่องใดบ้าง เช่น การใช้บริการร่วมกันใน การจัดหมวดหมู่และทำบัตรรายการ เพื่อให้บริการการค้นข้อมูลร่วมกัน การจัดทำเมนูหลักในการใช้บริการต่างๆ

ห้องสมุดบางแห่ง เช่น Suffolk County Council ได้จัดทำรายการการจัดหมวดหมู่ ทรัพยากรสารนิเทศบน Websiteของตนเอง สามารถสืบค้น ทำรายการ ตลอดจนให้บริการยืม-คืน และสั่งจองสารนิเทศได้ในระบบ อินเทอร์เน็ต

ห้องสมุด Hertfordshire ให้บริการข้อมูลชุมชนในระบบออนไลน์จากหน้าจอ Homepage และห้องสมุดประชาชน Enoch Pratt Free ให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้ บริการด้วยการให้บริการข้อมูลจากแผ่น CD-ROM และ ฐานข้อมูลออนไลน์

ตัวอย่างในการนำเสนอข้อมูลทางวิชาการทั่วๆไปที่ดี ได้แก่ตัวอย่างจากการให้บริการของห้องสมุด Kingston ในประเทศอังกฤษ ซึ่งให้บริการข้อมูลที่หลากหลายทางด้านการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด การประกวดกิจกรรมต่างๆในห้องสมุด

จากการจัดทำ Webpage ในแต่ละสถานศึกษาเพื่อแนะนำการใช้ข้อมูลเพื่อให้บริการการศึกษา ก่อให้เกิดแนวความคิดในการจัดทำห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวางในยุคสังคมข่าวสารปัจจุบัน ห้องสมุดในสถานศึกษาต่างๆเกิดนวัตกรรมทางการศึกษาตัวใหม่ในการสรน้างห้องสมุด เป็นการลงทุนเพื่อการศึกษาที่ทันต่อสังคมโลกาภิวัตน์ ไม่เปลืองงบประมาณในการดำเนินงาน แต่สามารถขจัดปัญหาเรื่องทรัพยากรเพื่อ การเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ทุกคนสามารถเข้าถึงตัวทรัพยากรสารสนเทศได้ทุกประเภทที่มีการจัดทำและให้บริการ ทั้งนี้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อโทรคมนาคมเป็นหลัก ผู้ใช้บริการจึงสามารถได้รับการตอบสนองอย่างกว้างขวาง และพิสูจน์ให้เห็นถึงสภาพของโลกไร้พรมแดน ที่แท้จริง

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์เป็นการจำลองสภาพห้องสมุดเหมือนกับมีการจัดทำและให้บริการห้องสมุดในสภาพจริง เพียงแต่ผู้ใช้บริการ จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็น ผู้ให้บริการยังคงเป็นบรรณารักษ์ หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการข้อมูลทางวิชาการ บุคลากร ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องร่วมมือกันในการสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

การจัดทำห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีพื้นความรู้เกี่ยวกับ การจัดหมวดหมู่ทรัพยากร สารสนเทศ ซึ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับความจำเป็นและความสำคัญของการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ต้องทราบ ประวัติการจัดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ รู้วิธี การจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยม สากลของดิวอี้ ตลอดจนรู้วิธีการเขียนโปรแกรมด้วย ภาษา HTML เพื่อดำเนินการสร้างข้อมูลสำหรับห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป

ลองพิจารณาตัวอย่างจากห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ที่ท่านกำลังศึกษาข้อมูลอยู่ ลองเปรียบเทียบการค้นจากห้องสมุดที่ท่านเคยค้นด้วยตนเอง ภายในห้องสมุดนั้นๆ กับสภาพที่ท่านกำลังค้นข้อมูลในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งนี้อยู่ ท่านมีความคิดเห็นในการค้นข้อมูลจาก ห้องสมุดในสภาพเดิม หรือ สภาพใหม่เป็นอย่างไร

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2011
Revised: June 2011