สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำนำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
สังคมข่าวสาร

วัสดุสารสนเทศ

หนังสือและส่วนต่างๆ
ของหนังสือ

การจัดหมวดหมู่
สารสนเทศ

การค้นข้อมูลใน
สังคมสารสนเทศ

หนังสืออ้างอิง

การเขียนรายงาน
การศึกษา
และค้นคว้า

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

บทสนทนาเรื่อง วัสดุห้องสมุด

"เป็นอย่างไรบ้าง การเข้าร่วมสัมมนาที่กรุงเทพฯ," สุรศักดิ์ถามครูวิชาญ เมื่อเห็นขณะยืนอยู่ที่โต๊ะ

"ดีมากเลยครับพี่," วิชาญตอบ

"คงได้อะไรต่ออะไรเสนออาจารย์ใหญ่ได้ซินะคราวนี้," เสียงผู้อาวุโสกว่าเย้าผู้อ่อนวัยกว่า

"ก็คงจะได้กระมังพี่ แต่ผมหนักใจว่าจะทำไหวแค่ไหนก็ไม่รู้ พี่ก็รู้ว่าโรงเรียนของเรา มีงบประมาณจำกัด ไปอบรมครั้งนี้ ผมได้แนวความคิด ในการปรับปรุงศูนย์วิชาการของโรงเรียน..."

"ศูนย์วิชาการ," สุรศักดิ์ขัดขึ้น "นี่ก็หมายความว่าคุณวิชาญจะยินดีรับทำ แล้วหรือครับนี่"

"ครับ," วิชาญตอบ "เพื่อโรงเรียนของเรา เพื่ออนาคตของเด็ก ผมอยากจะเห็นโรงเรียนของเราได้พัฒนาไปไกลด้วยงบประมาณจำกัดที่เรามี"

"ผมดีใจด้วยที่คุณครูวิชาญรับ พยายามต่อไปเถอะครับ," ครูสุรศักดิ์ให้กำลังใจ

"มีปัญหาอะไรที่จะให้ผมช่วยก็บอกมาได้เลย ผมยินดีช่วยเต็มที่"

"ครับ ขอบคุณครับ"

*************************

"ครับ ทั้งหมดที่ผมอ่านให้ฟังโดยสรุป คือ แผนงานการปรับปรุงศูนย์วิชา การของโรงเรียน," วิชาญอ่านรายงานแผนงานการปรับปรุง ให้คณะครูโรงเรียนบ้านทิวไผ่ สูงในที่ประชุมประจำเดิอน "ไม่ทราบว่าอาจารย์ท่านใดมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมบ้างไหมครับ"

"ครูวิชาญครับ," ครูดวงยกมือขึ้น พลางถามว่า "ผมไม่ทราบวัตถุประ สงค์ที่แท้จริงครับว่า ทำไมเราต้องมีหนังสือรวบรวมไว้ที่ห้องสมุด ไม่แยกมาไว้ที่หมวด"

"ผมคิดว่า อาจารย์ดวงยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้งนะครับ หนังสือในหมวดก็ยังคงอยู่ที่ หมวดครับ แต่ฝ่ายห้องสมุดจะเป็นฝ่ายดำเนินการให้ครับ"

"แล้ววัสดุอื่น ๆ ล่ะครับ เช่น แผนที่ ภาพ จะเก็บไว้ที่ห้องวิชาการหรือห้องสมุด," ครูแสวง ครูอาวุโสอีกผู้หนึ่งถามขึ้นในที่ประชุม

"วัสดุห้องสมุดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวัสดุตีพิมพ์ หรือ วัสดุไม่ตีพิมพ์ ล้วนแล้วแต่หมายถึง วัสดุเพื่อการอ่านและการศึกษาค้นคว้าต่าง ๆ ที่ห้องสมุดได้รวบรวมจัด หา จัดเก็บ เพื่อให้บริการในห้องสมุด ดังนั้น แผนงานปรับปรุงนี้จึงให้ห้องสมุดซึ่งจะเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์วิชาการเป็นผู้รับผิดชอบครับ"

"ผมเห็นด้วย ที่วัสดุตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร และ กฤตภาค ควรเก็บไว้ที่ห้องสมุด แต่วัสดุไม่ตีพิมพ์ควรเก็บไว้ ตามห้องวิชาการตาม เดิม," ครูดวงยังคงยืนยันความคิดของเขา

"แต่ ถ้าเรายอมรับแผนโครงการนี้ วัสดุไม่ตีพิมพ์ทุกชนิด ซึ่งได้แก่ ภาพ แผนที่และลูกโลก แผนภูมิ แผนภาพ และ วัสดุย่อส่วน เป็นต้น จะต้องเก็บรวบรวมไว้ ที่ศูนย์วิชาการ บรรณารักษ์จะต้องทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการ ซึ่งจะสะดวกกว่าครั้งที่ แล้วๆมาแน่ โรงเรียนของเรา จะได้ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ," ครูวิชาญตอบ

*************************

"นักเรียนคงจะทราบแล้วนะว่า วัสดุห้องสมุดทุกประเภท มีความสำคัญต่อการ เรียนต่อการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม วัสดุที่มีความสำคัญ ไม่แพ้หนังสือที่นักเรียนมองข้ามได้ แก่ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร และวัสดุไม่ตีพิมพ์ต่าง ๆ" ครูวิชาญพูดต่อหน้านักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเขาเป็นครูประจำชั้น

"วัสดุไม่ตีพิมพ์ เป็นอย่างไรครับ," วิเชียร ยกมือขึ้นถาม

"วัสดุไม่ตีพิมพ์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โสตทัศนวัสดุ หมายถึง วัสดุประเภทที่ใช้ ดูหรือฟังเป็นหลักเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจง่ายในการสอน วัสดุไม่ตีพิมพ์จึงมีบทบาทต่อการ ศึกษาค้นคว้าอย่างมากทีเดียว," ครูวิชาญตอบ พลางอธิบายต่อไปว่า "วัสดุไม่ตีพิมพ์มีอยู่มากมายหลาย ประเภท แต่ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
    1. ภาพ (Pictures)
    2. แผนที่และลูกโลก (Maps and Globes)
    3. แผนภูมิ (Charts)
    4. แผนสถิติ (Graphs)
    5. แผนภาพ (Diagrams)
    6. วัสดุย่อส่วน (Microforms)
    7. สไลด์ (Slides)
    8. ภาพเลื่อน (Filmstrips)
    9. ภาพยนตร์ (Motion Pictures)
    10. แผ่นเสียง (Recording Discs)
    11. แถบเสียง (Tapes)
    12. โทรทัศน์ (Televisions)
    13. วิทยุ (Radios)
    14. แถบภาพ (Video Tapes)
    15. หุ่นจำลอง (Models)

"นักเรียนคงจะเห็นวัสดุไม่ตีพิมพ์อื่น ๆ อีกมาก นอกเหนือจากที่ครูกล่าว มาแล้ว เพราะวัสดุไม่ตีพิมพ์จะมีจำนวนมากมาย ในชีวิตประจำวันและล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ ด้านการเรียนการสอนอย่างมาก แต่โรงเรียนของเรามีวัสดุเหล่านี้น้อย เพราะโรงเรียนของเรามี งบประมาณจำกัด ครูก็จำเป็นต้องของร้องเธอทุกคนช่วยสร้างเอกสารสิ่งพิมพ์ให้ห้องสมุดของโรงเรียน โดยช่วยกันทำกฤตภาคข่าว และกฤตภาคภาพ จากหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ ซึ่ง ครูจะอธิบายวิธีการทำ เธอก็จะได้ชื่อว่า มีส่วนสร้างความเจริญให้แก่โรงเรียนของเรา"

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008