สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำนำ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
สังคมข่าวสาร

วัสดุสารสนเทศ

หนังสือและส่วนต่างๆ
ของหนังสือ

การจัดหมวดหมู่
สารสนเทศ

การค้นข้อมูลใน
สังคมสารสนเทศ

หนังสืออ้างอิง

การเขียนรายงาน
การศึกษา
และค้นคว้า

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

สารานุกรม
(Encyclopedias)

สารานุกรมจะมีมีคำภาษาอังกฤษใช้อยู่สามคำ คือ Cyclopedia, Enclopedia, และ Enclopaediaสามคำนี้ใช้ในความหมาย เดียวกัน สำหรับคำแรกในระยะหลัง ๆ นี้ไม่ค่อยใช้กันมากนัก ตรงข้ามกับคำที่สองซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สารานุกรม คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้อันเป็นพื้นฐานในทุกขาสาวิชารวบรวมความรู้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ แล้วนำมาเรียบเรียงไว้ ตามลำดับอักษร เหมะที่จะทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความรู้ที่ได้จากหนังสือสารานุกรม ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง ที่มีความน่าเชื่อถือสูง

ความสำคัญของสารานุกรม

หนังสือสารานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิงที่สำคัญที่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นแหล่งบันทึกภูมิปัญญา ของมวลมนุษยชาติตั้งแต่อดีต มาจนถึงปัจจุบัน ครอบคลุมศาสตร์ทุกแขนงวิชา มีการรวบรวมอย่างมีระบบ จึงได้กลายเป็นแหล่งอ้างอิงที่ครอบจักรวาล สำหรับอนุชนรุ่นหลัง เพื่อศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความพื้นขั้นพื้นฐานในแขนงวิชาต่าง ๆ นำไปสู่การค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอย่างลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง จนทำให้มีผลในการพัฒนาการใหม่ ๆ ในสังคมยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น สารานุกรมจึงได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญ

ในการบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าของบรรณารักษ์แผนกอ้างอิงเป็นเวลายาวนานเกินกว่าหนึ่งศวตวรรษ และปัจจุบันเป็นที่ยิมรับกันว่า สารานุกรมเป็นกรดูกสันหลังของงานบริการอ้างในห้องสมุดทุกประเภทเลยทีเดียว ลักษณะเฉพาะของสารานุกรม

เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของบรรพบุรุษในการสร้างงานศิลปะ จากภูมิปัญญาที่คอดแบบผสมผสาน การนำวัตถุดิบพื้นบ้านที่หาได้ในแต่ละท้องถิ่นของภาคต่าง ๆ ในประเทศ มาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ได้อย่างมีศิลปะ ถึงแม้ว่าเครื่องเครื่องใช้ เหล่านี้จะเป็นเพียงของใช้พื้นบ้านที่ชาวบ้านธรรมดาใช้กัน แต่ก็มีคุณค่ามากมายในตัวมันเอง สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ ได้กล่าวถึงลักษณะเฉพาะของสารานุกรมไว้ ดังนี้
1. สารานุกรมมีทั้งชนิดเล่มเดียวจบ และชนิดเป็นชุดหลายเล่มจบ ถ้าเป็นชุดหลายเล่มจะแจ้งไว้ที่สันว่า อักษรใดถึงอักษรใด เพื่อให้ค้นได้สะดวก
2. สารานุกรมทั้งขั้นอ่านยากสำหรับผู้มีความรู้สูง และขั้นอ่านง่ายสำหรับเยาวชน หรือผู้ที่มีความรู้ระดับปานกลาง ถ้ายากทราบสารานุกรมขั้นใดก็อ่านได้จากคำนำ
3. สารานุกรมประกอบด้วยบทความทางวิชาการด้านต่าง ๆ โดยการจัดเรียงลำดับตามตัวอักษร
4. มีชื่อเต็มหรืออักษรย่อของผู้เขียนบทความกำกับไว้ที่ท้ายเรื่องทุกเรื่อง
5. มีภาพประกอบบทความบางเรื่อง
6. สารานุกรมต่างประเทศส่วนมากมีบรรณานุกรม คือ รายชื่อหนังสือ หรือเอกสารอื่น ๆ ใช้ค้นคว้าเรียบเรียง บทความเรื่องนั้น ๆ โดยจัดไว้ท้ายบทความแตาละเรื่อง
7. มีดรรชนีค้นคว้าเรื่องย่อย ๆ ในเล่ม สารานุกรมบางชุดมีดรรชนีแยกเล่มไว้ ต่างหาก ลมุล รัตตากร ได้กล่าวถึงลักษณะเฉพาะ ของสารานุกรม ดังนี้
7.1 สารานุกรมเป็นหนังสือที่เขียน โดยผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขาวิชา
7.2 สารานุกรมจะได้รับการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่เสมอ
7.3 สารานุกรมอาจจะจบในเล่มเดียวหรืออาจจะเป็นชุด ชุดละตั้งแต่สองเล่มขึ้นไป จนถึง 20-30 เล่มก็มี
7.4 สารานุกรมต่างประเทศจะมีการปรับปรุงเนื้อหาทุก ๆ ปี
7.5 สารานุกรมต่างประเทศบางชุดจะมีฉบับเพิ่มเติมเหตุการณ์ในปีที่ผ่านมาแล้วแต่ละปี ๆ
7.6 สารานุกรมมักมีรูปภาพ แผนที่ ตารางและอื่น ๆ อันจะช่วยให้ความเข้าใจในเนื้อหา

ประโยชน์ของสารานุกรม

1. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลค้นหาคำตอบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงได้ทุก ๆ แขนงวิชา
2. ข้อเท็จจริงในหนังสือสารานุกรมเชื่อถือได้ เพราะเป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ
3. ใช้เป็นแหล่งศึกษาพื้นฐานความรู้ในเชิงประวัติความเป็นมา และวิวัฒนาการของศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ
4. ได้ความรู้ที่ทันสมัยเพราะมีการปรับปรุงเนื้อหาทุก ๆ ปี
5. ผู้ใช้สามารถค้นหาคำตอบได้สะดวกและรวดเร็ว เพราะมีเครื่องมือช่วยค้น คือดรรชนี (Index)
6. ผู้ใช้สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพราะมีการจัดเรียงลำดับเนื้อเรื่องอย่างมีระเบียบ
7. ใช้เป็นคู่มือของบรรณารักษ์ในการบริการตอบคำถามได้เป็นอย่างดี

ประเภทของสารานุกรม

1. แบ่งตามขอบเขตเนื้อหาวิชา
1.1 สารานุกรมทั่วไป (General Encyclopedias) สารานุกรมทั่วไป ได้แก่ สารานุกรมที่รวบรวมความรู้ทุกแขนงวิชา มีทั้งให้ข้อมูลละเอียด และอย่างสังเขป อธิบายเรื่องราวเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้เยวกับศาสตร์ทุกแขนงของมวลมนุษย์ตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน
1.2 สารานุกรมเฉพาะสาขาวิชา (Subject Encyclopedias) ได้แก่ สารานุกรมที่รวบรวมความรู้สาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือ รวบรวมเรื่องราวแขนงใดแขนงหนึ่งโดยเฉพาะ
2. แบ่งตามระดับอายุของผู้ใช้
2.1 สารานุกรมสำหรับเยาวชน จะใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บทความมีขนาดกระทัดรัด จบสมบูรณ์ในตัวเอง มีภาพประกอบเป็นจำนวนมาก
2.2 สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ คือ สารานุกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ข้อมูลที่ได้จะละเอียดและลึกซึ้งกว่า สารานุกรมสำหรับเยาวชน
3. แบ่งตามจำนวนเล่ม สามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท
3.1 สารานุกรมหลายเล่มจบ บางครั้งเรียกสารานุกรมประเภทชุด ตัวอย่างเช่น สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน
3.2 สารานุกรมเล่มเดียวจบ เป็นสารานุกรมที่ให้ข้อเท็จจริงอย่างย่อ ๆ บทความมีขนาดกระทัดรัด เหมาะสำหรับใช้ตอบคำถามที่ต้องการตอบทันที จัดเรียงตามลำดับอักษรแบบพจนานุกรม ไม่มีดรรชีค้นเรื่อง

วิธีใช้สารานุกรม

1. พิจารณาว่าเรื่องที่ต้องการเป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ที่เป็นเรื่องเฉพาะวิชา
2. เลือกใช้สารานุกรมให้ถูกกับเรื่องที่ต้องการ
3. เปิดดูดรรชนี เพื่อดูว่าเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่ในเล่มไหน หน้าเท่าไร โดยพิจารณาให้ถูกกับลักษณะของสารานุกรม เช่น
3.1 เปิดดูดรรชนีท้ายเล่ม (สารานุกรมสำหรับเยาวชนและสารานุกรมบางชุดดรรชนีอยู่ด้านหน้า)
3.2 เปิดดูดรรชนีที่เล่มสุดท้ายของชุด (สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่และสารานุกรมบางชุดอยู่ท้ายเล่ม)
4. ดูอักษรนำเล่ม หรือคำแนะที่สันหนังสือ เพื่อดูว่าเรื่องที่ต้องการอยู่เล่มใด
5. ก่อนใช้สารานุกรมแต่ละชุดควรอ่านใช้เป็นลำดับแรก แล้วจึงค้นหาเรื่องที่ต้องการ

ที่มา:

สุนิตย์ เย็นสบาย. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง.

พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:ศิลปาบรรณาคาร.

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008