|
สภาพการใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
จากความหมายของ นวัตกรรม ที่นำเสนอในสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจสรุปความหมายของคำว่า นวัตกรรมการศึกษา ได้ว่า เป็นการนำเอา
สิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือ การกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เพื่อเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะ
เปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มีการจัดการระบบการศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รศ. ดร. เปรื่อง กุมุท ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรมการศึกษาไว้ 5 ลักษณะ คือ
1. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น อาจจะเก่ามาจากที่อื่น แต่ในสภาพการณ์ปัจจุบันในบางแห่งอาจจะเหมาะสมที่จะนำมาใช้
เช่น การสอนเป็นทีม การเรียนจากเครื่องช่วยสอน เป็นต้น
2. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้ว แต่บังเอิญไม่เกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง
มีความพร้อมในการใช้ความคิดนั้น ก็นำแนวความคิดนั้นมาใช้ กลายเป็นนวัตกรรมขึ้น เช่น ระบบการสื่อสารมวลชนที่นำมาใช้
เกี่ยวกับการสอนทางวิทยุและโทนทัศน์เพื่อการศึกษา เป็นต้น
3.ความคิดหรือการกระทำใหม่ เพราะมีสิ่งใหม่ๆเข้ามาพร้อมๆกับความคิดที่อยากจะทำสิ่งใหม่ๆพอดี และช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาได้
เป็นความหมายที่แท้จริงของนวัตกรรมการศึกษา
4. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ครั้งหนึ่งเคยถูกผู้บริหารคัดค้านไม่ให้กระทำ และในปัจจุบันได้รับการสนับสนุนให้กระทำ ก็จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา
5. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้นมีการดำเนินการใหม่จริงๆ ยังไม่มีผู้ใดจัดทำมาก่อน
หลักเกณฑ์อื่นๆที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา คือ
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือ บางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้า และ ผลลัพธ์ของข้อมูล
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรือ อยู่ในระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
|
|