บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

2535609 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาองค์กร
Information Technology and Organization Development
3(2-2)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 71/9 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการขึ้นเป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม ตามมาตรา 18 วรรคสี่ ขึ้นตรงต่อ นายกรัฐมนตรี เพื่อรับผิดชอบในงานเลขานุการของ ก.พ.ร. และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.พ.ร. กำหนด โดยมีเลขาธิการ ก.พ.ร. ซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

วิสัยทัศน์ของสำนักงาน ก.พ.ร.
เกื้อหนุนให้การพัฒนาระบบราชการไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและบังเกิดผล อย่างยั่งยืน

พันธกิจตามกฎหมายของสำนักงาน ก.พ.ร.
1. งานเลขานุการ ก.พ.ร.
2. ปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ร. ได้แก่
ศึกษา วิเคราะห์ทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ร. ตาม มาตรา 71 (1) (2) (3) (4) (5) (7) (8) และ (12) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และเรื่องอื่นอันเป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ร.
ศึกษา วิเคราะห์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการตามมาตรา 8 สัตต และตรวจสอบการปฏิบัติตาม มาตรา 8 ทวิ
ชี้แจงทำความเข้าใจ แนะนำ และฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ หรือตามที่ ก.พ.ร. มอบหมาย
ติดตาม ประเมินผล การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งพระราชบัญญัติ
ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพื่อเสนอ ก.พ.ร.
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการและงาน ของรัฐอย่างอื่นเสนอต่อ ก.พ.ร. เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสมาชิกต่อไป
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด หรือตามที่คณะรัฐมนตรี หรือ ก.พ.ร. มอบหมาย

Mission Statement ของสำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานธุรการทางด้านวิชาการเพื่อสนับสนุน การทำงานของ ก.พ.ร. ในการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น โดยครอบคลุม ภารกิจงานเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย การติดตามตรวจสอบและประเมินผล การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ การฝึกอบรม การสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ การรายงานข้อมูลและผลการวิเคราะห์ รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติ ต่าง ๆ

ในการทำงานของสำนักงาน ก.พ.ร. นั้นจะมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายและร่วมดำเนินงานกับคณะทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในทุกระดับ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. อาจทำเองส่วนเท่าที่มีความจำเป็น และร่วมดำเนินการหรือแสวงหาความร่วมมือกับ สถาบัน/ องค์กรภายในและภายนอกประเทศ เพื่อผลักดันและเร่งขยายผลการพัฒนา ระบบราชการให้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ยั่งยืนและเกิดความต่อเนื่อง

กลยุทธ์การดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ.ร.

1. จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำโต๊ะ (desk office) ดูแลครอบคลุมทั้ง 20 กระทรวง
2. ดำเนินการจัดหา (contract-in) ผู้เชี่ยวชาญภายนอกให้เข้ามาทำงานในกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
3. มอบเหมางานบางอย่าง (outsourcing/contract-out) ออกไป เพื่อให้สามารถใช้กำลังทั้งหมดมามุ่งเน้นในงานที่เป็นภารกิจหลัก (core business)
4. การยืมตัวข้าราชการมาช่วยงานสำนักงาน ก.พ.ร. รวมถึงวางระเบียบการจัดซื้อ จัดจ้างให้สอดคล้องกับลักษณะการทำงานในเชิงวิชาการ ซึ่งต้องการความยืดหยุ่นสูง
5. เร่งสร้างภาพลักษณ์และวัฒนธรรมการทำงานใหม่ของ สำนักงาน ก.พ.ร.
6. จัดโครงสร้างการทำงานในแบบแมตริกช์และมีการมอบหมาย การปฏิบัติงานในลักษณะแบบ task force (cross-functional team) เพื่อให้สามารถ เชื่อมโยงและประสานงานข้ามกลุ่มงานต่าง ๆ ได้ ตามกระบวนงานที่ออกแบบไว้
7. การพัฒนาบุคลากรของสำนักงาน โดยมุ่งเน้นสร้างเจ้าหน้าที่ให้เป็น knowledge worker เพื่อให้เกิดความรอบรู้เกี่ยวกับภารกิจงานในด้านต่าง ๆ ซึ่งอาจจัดให้มีการหมุนเวียนเจ้าหน้าที่เป็นการภายในเป็นระยะ ๆ มีการสร้างศูนย์ความรู้ (knowledge center) ภายใน และเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาฝึกอบรมชั้นสูงเพิ่มเติม/ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการจัดสวัสดิการและ ค่าตอบแทนพิเศษ
8. พยายามแสวงหาเครือข่ายและร่วมดำเนินงานกับพันธมิตรฝ่ายต่าง ๆ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 20 พฤศจิกายน 2553
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com