1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library

2 (2 - 0)

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

การแสดงหุ่น (Puppet Show)

การแสดงหุ่น เป็นที่รับรองกันว่าเป็นกิจกรรมที่ต้องใจเด็ก และได้ผลในการส่งสริมการอ่าน สามารถชักชวนเด็กให้รู้จักหนังสือในห้องสมุดมากขึ้น เพราะเด็กมาดูการแสดงหุ่น ที่ห้องสมุดมากขึ้น หุ่นเป็นรูปคนหรือรูปสัตว์เล็ก ๆ แบบตุ๊กตาเคลื่อนไหวได้โดยใช้เชือกหรือเส้นใยอื่น ๆ ผูกโยงกับด้านต่าง ๆ ของตัวหุ่นนั้น (วิทย์ พิณคันเงิน 2515 : 37) อาจใช้ในการเริ่มต้นในการจัดชั่วโมงนิทาน หรือประกอบการเล่านิทาน หรือจัดแสดงตลอดเรื่อง

ห้องสมุดอาจจัดการแสดงหุ่นโดยนำมาจากที่อื่น เพื่อมาแสดงให้เด็กชม หรือการทำหุ่นจัดแสดงเอง แต่การแสดงหุ่นเหมาะกับผู้ดูกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 10-30 คน เพราะมีเวทีขนาดย่อมพอเหมาะกับหุ่นเท่านั้น หุ่นแบ่งเป็นหลายประเภท (พิศเพลิน กลิ่นเกลา 2521: 41) คือ

    1. หุ่นมือ
    2. หุ่นนิ้วมือ
    3. หุ่นเชิด
    4. หุ่นชัก
    5. หุ่นเงา

หุ่นชักใยหรือหุ่นชักด้วยเชือกและไม้ (Marionnett) ลักษณะส่วนใหญ่จะต้องมีชิ้นส่วนร่างกาย แต่ละชิ้นส่วนจะต่อกันโดยสามารถเคลื่อนไหวได้ หุ่นอาจสร้างให้ขยับตาและปากได้ด้วย

หุ่นมือ (Hand Puppet) ทำด้วยถุงมือ ใช้นิ้วมือของผู้เชิดสอดเข้าไปเพื่อให้หุ่นแสดงบทบาท หัวหุ่นและมือหุ่นควรทำด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักน้อย เช่น กระดาษหรือโฟม ตัวหุ่นทำด้วยผ้าเย็บติดกับคอ และข้อมือของหุ่น

หุ่นนิ้วมือ (Glove Puppet) สร้างขึ้นโดยใช้กรวยกระดาษหรือกรวยที่ประดิษฐ์จากผ้าสีสักหลาดเทียม เป็นหน้าคนหรือสัตว์ตามเรื่องที่ต้องการ

หุ่นเชิด (Rod Puppet) สร้างขึ้นโดยใช้ไม้เสียบกับหุ่นเชิดในส่วนแขน ขา อาจหักเป็นท่อน ๆ มีไม้ยาว หรือเชือกเสียบไว้ที่มือหรือเท้าของหุ่น

หุ่นเงา (Shadows Puppet) เป็นหุ่นที่ทำจากหนังสือหรือกระดาษแข็งใช้ไม้เสียบหรือเชือกต่อกับส่วน ที่เราต้องการให้เคลื่อนไหวได้

หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 มิถุนายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com