1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library
2 (2 - 0)
ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com
โครงการอ่านหนังสือในภาคฤดูร้อน (Summer Reading Program)
โครงการอ่านหนังสือในภาคฤดูร้อน เป็นกิจกรรมที่มีส่วนในการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ การอ่านมากขึ้น หรือได้รับความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ แนะนำการอ่านเมื่อภาคฤดูร้อนสิ้นสุดลง เด็ก ๆ ควรจะได้รับประสบการณ์ มีทักษะในการอ่านมากขึ้น เด็กจะได้รับความสนุกสนานในกิจกรรม ในช่วงหยุดเรียน กิจกรรมจะช่วยดึงดูดเด็กมาสู่การอ่าน โดยการจัดเกมส์แข่งขันกัน เด็กที่อ่านหนังสือได้จำนวนมาก จะเป็นผู้ชนะในเกมส์นั้น การอ่านจะช่วยพัฒนาให้เด็กก้าวหน้า
บรรณารักษ์จะให้เด็กเลือกหนังสืออ่านในประเภทต่าง ๆ เช่น เทพนิยาย ประเภทนิทานพื้นเมือง ประวัติศาสตร์ กวีนิพนธ์ การท่องเที่ยววิทยาศาสตร์ และนวนิยาย วิธีนี้จะช่วยให้เด็กได้รู้จักหนังสือ หลายประเภท และทำให้เด็กพบขอบเขตวิชาความรู้ใหม่ ๆ และได้ประสบการณ์ใหม่
บรรณารักษ์จะเก็บชื่อหนังสือที่เด็กอ่าน รวมทั้งรวบรวมความคิดเห็นของเด็กเกี่ยวกับหนังสือไว้ บรรณารักษ์จะสนับสนุนให้เด็กแสดงความคิดเห็นต่อหนังสือ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกหนังสือ ที่จะเป็นที่ถูกใจของเด็ก และสามารถให้ความรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจ
โรงเรียนจะมีส่วนสนับสนุนโครงการอ่านหนังสือในฤดูร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถให้ความ ช่วยเหลือเด็กที่เรียนรู้ได้ ถ้าห้องสมุดจะออกใบรับรองให้กับเด็กที่อ่านหนังสือมาก เพื่อเป็นการยอมรับ ความสามารถและสนับสนุนเด็กอื่นๆ ให้ตระหนักว่า การอ่านหนังสือภาคฤดูร้อนเป็นกิจกรรม ที่สนุกสนาน เด็กที่เบื่อการอ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องปัจจุบัน บรรณารักษ์จะแนะนำให้อ่านหนังสือนวนิยายประวิตศาสตร์ ในตอนปิดเทอม จะเป็นเวลาที่เด็กว่าง สามารถอ่านเรื่องยาวได้ตามสบาย และห้องสมุดควรเป็นสถานที่ พักผ่อนที่ดีที่สุดในฤดูร้อน
ในภาคฤดูร้อนจะเป็นเวลาที่สร้างความสัมพันธ์กับเด็กได้ดี การเปิดโอกาสให้เด็กได้พูด มีเสรีภาพในการอภิปราย แสดงความคิด จะมีความหมายสำหรับเด็กมาก นอกจากนี้ บรรณารักษ์อาจจัดให้ มีกลุ่มอ่านบทประพันธ์และวรรณคดี อภิปรายบทกวีนิพนธ์
ที่ห้องสมุดประชาชน ฮาร์ฟอร์ด (Harford County Library) แห่งเมืองเบล แอร์ (Bel Air) ในรัฐแมรี่แลนด์ (Maryland) ในทุก ๆ ฤดูร้อนได้จัดโครงการอ่านหนังสือภาคฤดูร้อน แนวการจัดจะเป็นการนำทางแบบใหม่ เช่น การสอนให้เด็กทำฟิล์มสตริปและบันทึกคำบรรยายลงในเทปด้วยตนเอง มีการจัดปิคนิคไปตามที่ต่าง ๆ การสอน การเล่นเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ จัดวันของเล่น (Toy Day) โดยเด็กนำของเล่นมาแลกเปลี่ยนกัน โดยนำของเล่นของตนมาเปลี่ยนเป็นคูปองไปแลกของเล่นใหม่ (อัญญาณี คล้ายสุบรรณ์ 2526 ก : 7-8)
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 มิถุนายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com