1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library
2 (2 - 0)
ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com
การเล่าเรื่องจากหนังสือ (Book Talks)
การเล่าเรื่องจากหนังสือมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1 สร้างความกระตืนรือร้นในความรู้วิชาการต่าง ๆ
2 เสนอการเลือกหนังสือที่ได้มาตรฐานของห้องสมุด และแสนอแนะทรัพยากรห้องสมุด
การเล่าเรื่องจากหนังสือ ควรศึกษาความสนใจของเด็ก ดังต่อไปนี้
1. เด็กวัย 8-12 ขวบ เป็นวัยที่เริ่มสนใจสิ่งแปลกใหม่ ดังนั้น การเล่าเรื่อง จากหนังสือควรมีหนังสือหลาย ๆ ประเภท
2. การเลือกหนังสืออย่ากำหนดลงไปแน่นอน แม้ว่าจะมีการเลือกโดยดูจากระดับชั้นการศึกษาหรือระดับการอ่าน แต่ควรจำไว้ว่า ความสามารถทางการอ่านย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้
3. เด็กจะมีความกระตือรือร้นผิดธรรมดา เด็กบางคนจะชอบเรื่องเพ้อฝันมหัศจรรย์หรือนวนิยาย ดังนั้นจึงควรให้มีหนังสือทุก ๆ ประเภทรวมไว้
4. ควรคำนึงถึงหนังสือที่มีประสบการณ์ สามารถกระตุ้นและทำให้เด็กสนใจได้ในการเลือกหนังสือ สำหรับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคลก็ตาม ผู้ใหญ่ผู้ทำการเลือกควรจะต้องรู้จักเด็กๆ
ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในเรื่องทั่ว ๆ ไป และ เรื่องเฉพาะของเด็กบางคน ผู้ใหญ่ควรระลึกไว้เสมอว่าจะต้องเสริมสร้างประสบการณ์ในการอ่านที่ประทับใจเด็ก เพื่อว่าเด็กจะได้มีนิสัยรักการอ่านตลอดไป
(กล่อมจิตต์ พลายเวช 2524 : 40)
บรรณารักษ์จึงควรมีวิธีการเล่าเรื่องจากหนังสือให้พร้อม
วิธีการเล่าเรื่องจากหนังสือ
1. ต้องเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเล่าเรื่อง อาจเป็นหนังสือ ใบหุ้มปก หนังสือของทุก ๆ เล่มที่จะเล่า
2. ผู้เล่าต้องมีความกระตือรือร้นขณะเล่าเรื่องจากหนังสือ
3. ควรจดบันทึกและทำเครื่องหมายเพื่อสะดวกแก่ผู้เล่าเอง
4. ควรเป็นตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องจำให้ได้หมด แต่มีวิธีการดำเนินเรื่อง
5. การออกเสียงชื่อเรื่อง และชื่อผู้แต่งให้ชัดเจน พยายามยกหนังสือหรือใบหุ้มปกหนังสือให้ทุก ๆ คนเห็น
6. ให้เด็กเขียนรายชื่อหนังสือที่ตนต้องการจะอ่านและผู้เล่าจะนำรายชื่อไปให้ห้องสมุด
7. ผู้เล่าควรมีการทบทวนหนังสือในแต่ละสาขาที่ล้มเหลวในการเล่าเรื่องจากหนังสือ
หน้าสารบัญ
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 มิถุนายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com