1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library

2 (2 - 0)

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

การระวังรักษาและซ่อมหนังสือ

หนังสือเป็นสิ่งพิมพ์ที่ชำรุดฉีกขาดง่ายหากได้รับการใช้อย่างไม่ระมัดระวังหรือไม่ถูกต้องตามวิธีใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือ ของห้องสมุดซึ่งจะต้องให้ผู้ใช้บริการจำนวนมากได้ใช้ จึงมีโอกาสชำรุดฉีกขาดเร็วกว่าหนังสือที่เป็นส่วนของส่วนตัว ดังนั้นห้องสมุดจึง ควรหาวิธีทำให้หนังสือมีอายุการใช้งานยืนนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งวิธีการดังนี้

ก. การใช้และการระวังรักษา เป็นการกระทำในระยะหลังยังอยู่ในสภาพดี หรือ ยังใหม่ นับตั้งแต่ห้องสมุดได้มา ซึ่งควรทำดังนี้

1. เปิดหนังสือใหม่ทุกเล่มด้วยวิธีการที่ถูกต้องให้หนังสือได้มีความยืดหยุ่นในตัวเสียก่อน โดยเฉพาะที่สันหนังสือและไหล่หนังสือ เมื่อมีผู้เปิดอ่านครั้งต่อไปจะได้ไม่ทำให้ชำรุด
2. หาวิธีแนะนำและฝึกให้ผู้ใช้หนังสือทุกคนหยิบจับหนังสืออย่างถูกวิธี รวมทั้งเปิดหนังสือและวาง หรือเก็บหนังสืออย่างถูกวิธี
3.ดูแลการจัดเก็บและเคลื่อนย้ายหนังสืออย่างระมัดระวังและด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสม
4. จัดทำให้หนังสือใหม่นั้นมีสภาพความแข็งแรงยิ่งขึ้น เช่น ทำปกแข็งใหม่ หรือเย็บสันใหม่

ข. การซ่อมบำรุง เป็นการกระทำเมื่อหนังสือได้รับการใช้งานชำรุดแล้วทำให้ไม่สะดวกในการใช้ ซึ่งสภาพการชำรุดจะมีตั้งแต่ เริ่มชำรุดไปจนกระทั่งชำรุดมากจนใช้การไม่ได้ ถ้าถึงกรณีแล้วการซ่อมก็ไม่เกิดประโยชน์อีกต่อไป

สภาพการซ่อม แบ่งเป็น 2 แบบ ตามสภาพการชำรุด คือ
แบบที่ 1 การซ่อมย่อย ใช้ทำกับหนังสือที่สภาพการชำรุดมากแล้วจำเป็นต้องเข้ารูปเล่มและทำปกใหม่ กระบวนการทำการซ่อมจึงใช้เวลา แรงงานและวัดสุอุปกรณ์มาก

รายละเอียดวิธีปฎิบัติในการระวังรักษาและซ่อมหนังสือ

ก. การใช้และการระวังรักษา
1. การเปิดหนังสือ

    1.1 การเปิดหนังสือใหม่ ให้สังเกตหรือพิจารณาดูว่าหนังสือใหม่เล่มนั้นมีการเย็บเล่มแบบใด เพราะ สภาพการเย็บเล่มจะเป็นข้อจำกัดในการเลือกวิธีเปิดหนังสือด้วย คือ
    - หนังสือที่พับซ้อนยกแล้วเย็บเล่มด้วยลวดหรือด้าย ทำให้มีไหลหนังสือกว้าง และ มักมีปกเป็นกระดาษค่อนข้างอ่อน ต้องเปิดปกและทำแนวเปิดหน้าหนังสือก่อน ทั้งปกหน้าและ ปกหลัง จึงเปิดหน้าภายในใช้นิ้วมือกดทำแนวเปิด ของหน้าให้ได้แนวเดียวกับปก
    - หนังสือที่พับซ้อนยกเย็บเล่มด้วยวิธีเลื่อยสันฝังด้าย หรือร้อยด้าย หรืออัดกาวสันหนังสือตรง ถ้าเป็นปกอ่อนให้เปิดปก ด้านหน้าและหลังแล้วทำแนวพับให้มีไหล่หนังสือไม่กว้าง ประมาณ 1/2 ซ.ม. จากนั้นจึงเปิดหน้าหนังสือภายในออกทีละประมาณ 10 แผ่น สลับกัน จากด้านปกหน้าและหลังแล้วใช้นิ้วมือกดทำให้เป็นรอย สำหรับเปิดคราวต่อไป
    - หนังสือที่สันโค้ง ปกแข็ง หรือสันตรงปกแข็งก็ตาม ใช้วิธีวางสันทาบกับพื้นแล้ว เปิดปกด้านหน้าและหลังกางออก วางราบทับพื้น ให้ใช้แนวนี้เป็นหลักเปิดหน้าภายในทีละประมาณ 10 แผ่น จากด้านปกหน้าและหลังสลับกัน แล้วใช้นิ้วมือทำให้ เกิดรอยให้เปิดได้สะดวกในคราวต่อไป

    1.2 การเปิดหนังสืออ่านโดยปกติ ใช้นิ้วชี้รีดมุมบนด้านขวาและเหนี่ยวให้แผ่นบนสุดต่อขึ้นมาแล้วสอดมือลงไปรอง ข้างใต้พลิกหน้าหนังสือไป

2. การเก็บหนังสือ

    2.1 อย่าวางหนังสือซ้อนพับกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซ้อนพับ โดยให้เล่มใหญ่กว่าหรือหนักกว่าอยู่ข้างบน
    2.2 วางเรียงหนังสือให้ตั้งตรงเสมอ แล้วใช้ที่กั้นหนังสือขนานไว้อย่าให้ล้มได้ง่าย ขนาดที่กั้นควรมีความสูง และกว้างได้สัดส่วนกับรูปเล่มหนังสือ คือ ประมาณ 3/4 ของความสูงของหนังสือและมีขนาดกว้างประมาณ 3/4 ของความกว้างของหนังสือเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือปกอ่อนและเล่มใหญ่อย่าใช้ที่กั้นขนาดเล็ก
    2.3 เลือกที่เก็บหรือที่ตั้งชั้นหนังสือที่เหมาะสม คือ
    ก. ไม่อยู่ในที่ ๆ แสงแดดส่องมาถูกโดยตรง
    ข. ไม่อยู่ในที่อับชื้นหรือฝนสาดเปียกน้ำได้ง่าย
    ค. หมั่นตรวจตราอย่าให้แมลงรบกวนได้ โดยอาจใช้ยาไล่แมลง ไว้ตามจุดต่าง ๆ หรือทาน้ำยาไล่แมลงไว้
    ง. หมั่นดูแลปัดเช็ดผุ่นละออง หยักไย่ เสมอ ๆ

3. การหยิบหนังสือออกวางชั้นและการใช้

    3.1 อย่าใช้นิ้วมือเหนี่ยวหรือเกาะสันหนังสือด้านบน (บริเวณคิ้วหนังสือ) จะทำให้สันฉีกขาด
    3.2 หนังสือที่วางเรียงติดกันและถูกทิ้งไว้นาน ๆ ควรผลักให้หนังสือ เขยื้อนตัวก่อน
    3.3 เมื่อหยิบเล่มใดเล่มหนึ่งออกมาแล้วระวังอย่าให้เล่มอื่นล้มหรือเอียง เพราะเกิดที่ว่าง ควรผลักเล่มที่อยู่ในชั้นนั้น ให้ชิดกันเสียก่อน แล้วขยับที่กั้นมากันล้ม
    3.4 อย่าหยิบจับหนังสือขณะที่มือเปื้อนสมปรก
    3.5 อย่าใช้หนังสือผิดวัตถุประสงค์ คือหนังสือนั้นมีไว้สำหรับอ่าน จึงไม่ควรใช้หนังสือทำอย่างอื่น เช่น รองนั่ง บังแดดหรือฝน รองเป็นที่วางของ เป็นต้น
    3.5 อย่าใช้วัตถุมีความหนามากสอดใส่ในเล่มหรือคั่นหน้าหนังสือ ควรใช้กระดาษบาง ๆ หรือริบบิ้น หรือที่คั่นหน้าหนังสือโดยเฉพาะ
    3.6 อย่ากางหรือเปิดหน้าหนังสือออกแล้วคว่ำหน้าลง
    3.7 อย่าเคลื่อนย้ายหนังสือโดยไม่ระมัดระวัง เช่น โยน หรือวางกองไว้ อย่างไม่เป็นระเบียบ
    3.9 อย่าพับปกหนังสือหรือเปิดหน้าหนังสือให้กางออกเกิน 180 องศา

ข. การซ่อมบำรุง

1. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่

    1. กาว
    2 แปรงทากาว
    3 กระดาษแก้วหรือกระดาศซ่อมสำเร็จรูป
    4. กระจกทากาว
    5. ด้ายเย็บผ้าขนาดใหญ่
    6. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
    7. กระดาษปอนด์สำหรับปิดปกและรองปก
    8. กระดาษแข็งทำปก
    9. ผ้าหรือกระดาษหุ้มปกและหุ้มสัน
    10. ผ้าติดสันหนังสือ
    11. ที่ตัดกระดาษ
    12. กรรไกร
    13. สว่าน
    14. เลื่อยขนาดเล็ก
    15. มีดปลายแหลม
    16. ที่หนีบหนังสือ
    17. ที่อัดหนังสือ
    18. ดินสอ
    19. ไม้บรรทัด
    20. ที่กดกระดาษให้เรียบหรือไม้หนีบหนังสือ

วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ มีขนาดและรูปแบบอาจแตกต่างกันไป และจะมีราคาแตกต่างกันด้วย ให้พิจารณาเลือกจัดหาไว้ตามความ จำเป็นและความเหมาะสม

2. การคัดเลือกหนังสือเพื่อเตรียมซ่อม

ขั้นที่ 1 คัดเลือกหนังสือที่ควรได้รับการซ่อมออกแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ ประเภทที่ซ่อมย่อย ได้แก่ หนังสือชำรุดไม่มาก เช่น สันแตกไม่มาก บางหน้าหนือบางปก ของหนังสือ ฉีกขาดหรือหลุด เป็นต้น และประเภทที่ต้องซ่อมใหญ่หรือซ่อมทำปกใหม่ ได้แก่ หนังสือที่ชำรุดมาก ๆ แต่ยังมีเนื้อหาสาระและรายละเอียดสำคัญ ๆ อยู่ครบ

ขั้นที่ 2 คัดเลือกหนังสือแต่ละประเภทตามขั้นที่ 1 แบ่งออกเป็นพวก ๆ ตามขนาดของเล่ม โดยให้เล่มที่มีขนาดเท่ากัน คือ กว้างยาวเท่ากันไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวก ในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ซ่อมให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

3. การลงมือซ่อม ในการซ่อมต้องพยายามให้เกิดสิ่งต่อไปนี้กับหนังสือให้มากที่สุด

    1. หนังสือมีสภาพแข็งแรงคงทน สามารถใช้งานได้อายุยืนนาน
    2. มีสภาพเรียบร้อย สวยงามใช้งานได้อายุยืนยาว
    3. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ได้รับการพิจารณาไว้อย่างประหยัดเกิดประโยชน์สูงสุดคุ้มค่า
    4. สามารถทำได้เสร็จเรียบร้อยในเวลาอันรวดเร็ว (วิทยาลัยครูกาญจนบุรี 2526: 1-5)

หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 มิถุนายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com