1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library
2 (2 - 0)
ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com
การเตรียมหนังสือ
การเตรียมหนังสือ เป็นส่วนหนึ่งของงานเทคนิคห้องสมุด มีหน้าที่เตรียมหนังสือออกไปให้กับฝ่ายบริการ การเตรียมหนังสือ มีหลักการที่สำคัญ คือ เตรียมอย่างถูกต้องและ รวดเร็ว
ลำดับขั้นตอนในการเตรียมหนังสือ
ขั้นตอนการปฎิบัติงาน
ตรวจสอบความเรียบร้อย
เมื่อหนังสือถูกส่งมายังฝ่ายจัดเตรียม บรรณารักษ์จะต้องตรวจสอบความเรียบร้อย ดังต่อไปนี้คือ
ประทับตรา
คราที่จะใช้ประทับ ควรเป็นตรายางที่มีขนาดเหมาะสม แล้วแต่ห้องสมุดแต่ละแห่งจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะใช้ขนาดไหน ให้เหมาะสมกับหนังสือที่มีอยู่ในห้องสมุด การประทับตราควรจะต้องกระทำกับหนังสือทุกเล่ม และควรมีเกณฑ์ในการประทับตรา ในหน้าต่าง ๆ ของหนังสือ ดังนี้
การประทับตราของห้องสมุด มักประทับตรากลางหน้ากระดาษ ด้านบนของหนังสือ ถ้าเป็นตรายางสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักประทับตรากลางหน้ากระดาษด้านล่างของหนังสือ
ในการประทับตราหนังสือ สำหรับตราทุกประเภท มีหลักที่ควรคำนึงถึง คือ
1. หลีกเลี่ยงการประทับตัวอักษร หรือข้อความ
2. ควรประทับไม่ให้กลับหัว กลับหาง และมีความสมดุลย์กัน
3. ควรประทับให้ชัดเจน
ลงทะเบียนหนังสือ
การลทะเบียนหนังสือ เป็นการทำบัญชีพัสดุห้องสมุดอย่างหนึ่ง รายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้ในการลงทะเบียน มีดังนี้
1. สมุดลงทะเบียน สามารถทำเองได้ไม่ยาก โดยทั่วไปใช้สมุดปกแข็งขนาดใหญ่ มาตีตารางตามรายการที่ต้องการ เนื่องจากรายการมีหลายช่อง
อาจมีความต้องการ ใช้สมุดต่อกัน 2 หน้า รายการในตารางมี วัน, เดือน, ปี เลขทะเบียน ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง
สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ ราคา หมายเหตุ
2. เครื่องประทับตัวเลข เลขทะเบียน นั้น อาจเขียนด้วยมือได้ แต่ถ้าใช้เตรื่อง ประทับตัวเลขแล้วจะช่วยให้เรียบร้อย และชัดเจนกว่าการเขียนด้วยมือ
วิธีการลงทะเบียน มีวิธีปฎิบัติดังนี้
1. การลงทะเบียน รายการแต่ละรายการให้ลงบรรทัดละ 1 เล่ม ถ้ารายการยาวมากพยายามเขียนให้จำกัดในบรรทัดเดียว ซึ่งอาจใช้วิธีการเขียนตัวเล็ก ๆ 2 แถว
หรือย่อรายการและใช้เครื่องหมาย...
2. เลขทะเบียน หนังสือทุกเล่มจะต้องมีเลขทะเบียนของตนเองจะซ้ำกันไม่ได้ แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน จะเรียงจากเลขน้อยไปหามากจาก ฉ.1, 2, 3, 4 ฯลฯ
ตามลำดับ ดังนั้น ก่อนลงทะเบียน จึงควรจัดลำดับหนังสือเสียก่อน โดยเฉพาะหนังสือที่มีหลายเล่มจบ ควรลงทะเบียนตามลำดับจาก เล่ม 1, 2, 3, 4 ฯลฯ
3. ตำแหน่งที่ประทับเลขทะเบียน นำหมายเลขทะเบียนของหนังสือจากสมุดทะเบียนมาประทับลงไว้ในหนังสือเล่มนั้น อีกทีหนึ่ง ตราทะเบียนที่ประทับไว้
ด้านหลังของหน้าปกใน และหน้าลับเฉพาะ
4. การลงรายการชื่อผู้แต่ง ควรกำหนดให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่งในบัตรรายการ เช่น
5. ชื่อหนังสือ ลงชื่อหนังสือที่ปรากฏในหน้าปกใน
6.สำนักพิมพ์ ให้ลงชื่อเฉพาะ ชื่อของสำนักพิมพ์ หรือบริษัทห้างร้านผู้พิมพ์จำหน่ายไม่ต้องนำหน้าด้วยคำว่า สำนักพิมพ์ หรือ บริษัท ถ้าไม่ปรากฎ
ชื่อสำนักพิมพ์ ให้ใช้ชื่อ โรงพิมพ์แทน
7. ปีที่พิมพ์ ลงปีที่พิมพ์ สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ ลงปีลิขสิทธิ์ (Copyright) ใช้นำหน้าตัวเลข เช่น C.1985
8. ราคา คือราคาของหนังสือต่อ 1 เล่ม ให้ลงราคาเต็ม
9. วันลงทะเบียน ใส่วันที่ ลงทะเบียนของหนังสือ
10. หมายเหตุ มีไว้เพื่อแจ้งรายการเพิ่มเติม เช่น แหล่งที่มาว่าซื้อด้วยเงินบำรุงการศึกษา หรือใครบริจาคให้ เหตุที่คัดหนังสือออก
จัดหมู่และการร่างบัตรรายการ
ข้อปฎิบัติก่อนการร่างบัตรรายการ (การเขียนสลิปบัตรรายการ)
ตามหลักการที่นิยมทั่วไป มักจะแบ่งหนังสือออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการให้บริการ คือ
หนังสือธรรมดาในห้องสมุดประชาชน เป็นหนังสือทั่วไป จัดซื้อตามวัตถุประสงค์ของห้องสมุด บรรณารักษ์ควรคำนึงถึงสัดส่วน ของอัตราหนังสือสำหรับเด็กด้วย หนังสือเด็ก ส่วนใหญ่มักเป็นหนังสือภาพ จึงควรคำนึงถึงมาตรฐานในการจัดพิมพ์หนังสือสำหรับเด็กด้วย หนังสือเด็กส่วนใหญ่มักเป็นหนังสือภาพ จึงควรคำนึงมาตรฐานในการจัดพิมพ์หนังสือของสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ตามปกติ และ การซื้อหนังสือ ควรจะเป็นการซื้อหนังสือสำหรับเด็ก หนังสือบันเทิงคดี และหนังสือวิชาการทั่วไป
การเขียนรายการในร่างบัตรรายการ
การเขียนรายการลงในร่างบัตรรายการนั้น จะลงรายการของบัตรยืนพื้นพร้อม เลขทะเบียนด้วย ดังตัวอย่าง
///////////// 23446 1. ภาษาไทย-วิจัย. 2. ภาษาไทย-พจนานุกรม
///////////// ภาษาถิ่น. 3. ชื่อเรื่อง.
รายการที่ลงมีดังต่อไปนี้
พิมพ์บัตรรายการ
การพิมพ์บัตรรายการ จะทำหลังจากที่เขียนร่างบัตรรายการเสร็จแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ เจ้าหน้าที่พิมพ์บัตรรายการ จะต้องมีความรู้เรื่องการทำบัตรรายการเป็นอย่างดี เพราะการทำบัตรรายการจะต้องใช้ความละเอียด และปราณีตมากเมื่อเห็นร่างบัตรราย การสามารถพิมพ์บัตรครบชุดได้ทันที
ขั้นตอนของการพิมพ์บัตรรายการ
ขั้นที่ 1 จะต้องรู้จักโครงร่างของบัตรรายการเสียก่อนว่ามีอะไรบ้าง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ฝึกพิมพ์ใหม่
ขั้นที่ 2 การเว้นระยะ หรือการเว้นวรรคตอน และเครื่องหมายในบัตรรายการก่อนจะพิมพ์บัตรรายการ ควรรู้จักการย่อหน้า ในบัตรรายการที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ตัวอย่างโครงร่างของบัตรรายการ
บัตรผู้แต่ง หรือ บัตรหลัก หรือ บัตรยืนพื้น ไวนาร์ (Wynar 1976: 27) ได้แนะนำการลงรายการสำหรับบัตรหลักดังต่อไปนี้
/เลขเรียก ชื่อผู้แต่ง.
/หนังสือ //ชื่อเรื่อง,/ชื่อเรื่องย่อย หรือชื่อเรื่องเผื่อเรียก,/
///////////// ข้อความเพิ่มเติม, และชื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง.//ครั้งที่พิมพ์.//
///////////// สถานที่พิมพ์,/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์.
///////////// //จำนวนหน้าหรือเล่ม.//ภาพประกอบ,/และอื่น ๆ.//(ชื่อชุด)
///////////// //หมายเหตุข้อความ.
///////////// //สารบาญ.
///////////// //แนวสืบค้น.
เมื่อจะลงรายการหลัก (Main Entry) ให้เว้นจากขอบบนของบัตรลงมือ 3 บรรทัดพิมพ์ เริ่มลงรายการบรรทัดที่ 4
ย่อหน้า 1 เริ่มจากขอบด้านซ้ายเว้น 8 ระยะ เริ่มพิมพ์ระยะที่ 9
" 2 " 10 " " 11
" 3 " 12 " " 13
ย่อหน้าที่ 1 ใช้สำหรับรายการหลัก
ย่อหน้าที่ 2 ใช้สำหรับรายการเพิ่ม
ย่อหน้าที่ 3 ใช้เมื่อ
ขั้นที่ 3 ชนิดของบัตรที่จะพิมพ์
การพิมพ์ซองบัตรยืม และบัตรยืม
อุปกรณ์
1. เครื่องพิมพ์ดีด ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
2. ซองบัตรยืม และบัตรยืม
3. สลิปสำหรับลงรายการ
การพิมพ์ซองและบัตรยืม กระทำเนื่องจากการลงทะเบียน โดยนำรายการบางรายการในสลิปมาลงในซ่องบัตรยืมและซองบัตร ได้แก่
- เลขเรียกหนังสือ
- เลขทะเบียนหนังสือ
- ผู้แต่ง
- ชื่อหนังสือ
ตัวอย่างบัตรยืมและซองบัตร
028.5 20319
บ116ว
ฉ.12
ผู้แต่ง บันลือ พฤกษะวัน
ชื่อหนังสือ วรรณกรรมกับเด็ก
028.5 บันลือ พฤกษะวัน 20319
บ118ว วรรณกรรมกับเด็ก
ฉ.12
การปิดซองบัตรยืม และบัตรกำหนดส่ง
ซองบัตรยืม และบัตรยืมติดในปกหลัง การติดไม่ควรติดให้แข็งแรงนัก เพราะโอกาสต่อไปจะต้องดึงออกเก็บเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ เมื่อมีการซ่อม บัตรกำหนดส่งติดด้านตรงข้ามกับปกหลังด้านใน ควรติดกาวเฉพาะส่วนบนเท่านั้น เพื่อดึงออกทิ้งได้สะดวกเมื่อเต็ม ข้อควรระวัง การปิดซอง และบัตรกำหนดส่งดังกล่าวไม่ควรปิดทับข้อความ ตารางหรือรูปภาพที่ทำให้หนังสือขาดสมบูรณ์ ควรหลีกเลี่ยงไปปิดที่อื่นในบริเวณใกล้เคียง
การเขียนสันหนังสือ
อุปกรณ์
1. ดินสอไฟฟ้า
2. ปากกาคอแร้ง
3. อินเดียนอิ๊งค์
4. เทปเขียนสันหนังสือ
5. ปากกาตัดขอบเส้นเล็ก
การเขียนสันหนังสือ เป็นขบวนการขั้นสุดท้ายในการเตรียมหนังสือที่จะต้องใช้เทคนิคการเขียนสัน เป็นการให้ความสะดวก แก่ผู้ใช้หอ้งสมุด หลังจากที่พบเลขเรียกหนังสือในบัตรรายการแล้ว หนังสือบนชั้นจะต้องมีเลขเรียกหนังสือเด่นชัด จึงจะหาหนังสือได้สะดวกและรวดเร็ว นอกจากนั้นยังให้ความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ ในการตรวจสอบหนังสือ และ การจัดหนังสือประจำวันขึ้นชั้น ดังนั้น การเขียนสันหนังสือจึงควรมีระยะที่แน่นอนเป็นมาตรฐานเดียวกัน
การเขียนสันหนังสือแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
การทายากันแมลง
การทายากันแมลงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับห้องสมุดโดยทั่วไป เพราะจะช่วยป้องกัน แมลงหรือปลวกที่กัดกินหนังสือ และ กาวในหนังสือได้ จึงควรจะได้รับการป้องกันเสียก่อน การทายากันแมลงกระทำเมื่อเขียนเลขหนังสือและติดซองบัตรเรียบร้อยแล้ว
บริเวณที่ควรทายากันแมลง
การตรวจสอบความเรียบร้อย
การเรียงบัตรรายการเข้าตู้
หลังจากพิมพ์บัตรรายการเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการตรวจบัตรรายการอย่างละเอียดเกี่ยวกับการสะกด การันต์ จำนวนบัตรรายการรวมในชุด การเว้นวรรค หัวเรื่อง เลขทะเบียนหนังสือจนแน่ใจว่าถูกต้องที่สุดแล้ว จึงนำมาเรียง โดยแยกเป็น 4 พวก
แต่ละพวกที่มีการจัดเรียงแตกต่างกันไป คือ พวกที่ 1 จัดเรียงเข้าตู้บัตรแจ้งหมู่ ตามลำดับเลขเรียกหนังสือ สำหรับบรรณารักษ์ใช้ ส่วนพวกที่ 2-4 เรียงแยกกันตามลำดับตัวอักษรแรกที่ปรากฎบนบรรทัดแรกสุด
หลักการเรียงบัตรรายการ
2. หลักเฉพาะบัตรผู้แต่ง
2.1. ถ้าพยัญชนะ - สระ คำแรกซ้ำกัน พิจารณาตัวถัดไป
2.2. ชื่อตัวเหมือนกัน พิจารณาชื่อสกุล
2.3. บรรดาศักดิ์ตรงกัน ให้เรียงบรรดาศักดิ์สูงไว้ก่อน ตามด้วยบรรดาศักดิ์รอง
2.4. หนังสือของผู้แต่งคนเดียวกันหลายเล่ม เรียงตามชื่อหนังสืออีกชั้นหนึ่ง
3. หลักเฉพาะบัตรชื่อเรื่อง
3.1. เรียงลำดับตัวอักษรของชื่อเรื่องตามลำดับข้อความในบรรทัดแรก
3.2. ชื่อเรื่องซ้ำกันให้เรียงตามชื่อผู้แต่ง
3.3. ชื่อหนังสือที่เป็นตัวเลข เรียงเหมือนคำอ่าน
4. หลักเกี่ยวกับครั้งที่พิมพ์ และ พ.ศ.
4.1. หนังสือที่มีการพิมพ์หลายครั้ง ให้เรียงตามลำดับครั้งหลังสุดไปหาครั้งก่อน ๆ
4.2. ถ้าไม่แจ้งครั้งที่พิมพ์ ให้เรียงลำดับตามปีที่พิมพ์ ครั้งหลังสุดไว้หน้า
5. หลักเฉพาะบัตรเรื่อง
5.1. หัวเรื่องเรียงตามอักษรของข้อความ
5.2. ถ้าหัวเรื่องเหมือนกัน เรียงตามบรรทัดที่ 2
5.3.หัวเรื่องที่มีหัวเรื่องย่อยตามหลังให้เรียงไว้หลังหัวเรื่องเฉพาะและตามด้วยหัวเรื่องที่มีข้อความติดต่อกัน เช่น
5.4. หัวเรื่องประวัติศาสตร์แบ่งตามสมัย ให้เรียงลำดับ ปี พ.ศ.
การเรียงบัตรแจ้งหมู่
การนำหนังสือใหม่เข้าชั้น
หนังสือใหม่ควรจะเลือกใส่ไว้ในตู้แสดงหนังสือใหม่อย่างน้อยเรื่องละ 1 เล่ม และควรเสนอหนังสือใหม่ ให้ผู้ใช้ห้องสมุดทราบโดยทั่วกันและเปลี่ยนแปลงหนังสือในตู้แสดงทุก ๆ 2 สัปดาห์
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 มิถุนายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com