1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library
2 (2 - 0)
ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com
ประวัติและพัฒนาการของห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย
การศึกษา วิจัย สภาพปัญหาของการให้บริการห้องสมุดประชาชน
มีการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินงานห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย
มากมายหลายเรื่อง มีทั้งการกระตุ้นเตือนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
รายงานการวิจัยที่สะท้อนปัญหาการดำเนินงานห้องสมุดประชาชนที่สำคัญ ๆ ได้แก่ วิทยานิพนธ์
เรื่องปัญหาห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย โดย สมบูรณ์ ภู่หลำ (2514) วิทยานิพนธ์
เรื่องการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบริการห้องสมุดประชาชนระดับจังหวัดสังกัด
กระทรวงศึกษาธิการในภาคเหนือ ของประเทศไทย โดย บุปผา เจริญทรัพย์ (2519)
วิทยานิพนธ์เรื่องการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบริการ ห้องสมุดประชาชนระดับจังหวัด
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย โดย พัชรินทร์ ขันทอง (2519)
วิทยานิพนธ์เรื่อง การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบริการห้องสมุดประชาชน
ระดับจังหวัดสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในภาคกลางตอนล่าง โดย อุบล บุญชู รอดเอี่ยม (2519)
วิทยานิพนธ์เรื่องการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบริการห้องสมุด ประชาชน
ระดับจังหวัดสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในภาคตะวันเฉียงเหนือของประเทศไทย โดย สุนิตย์ เย็นสบาย
(2519) และวิทยานิพนธ์เรื่อง การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบริการห้องสมุดประชาชนระดับจังหวัด
กระทรวงศึกษาธิการ ในภาคใต้ของประเทศไทย โดย สุภาพร นาทีกาญจนกุล (2519)
วิทยานิพนธ์ดังกล่าวได้ทำการค้นคว้าวิจัยระหว่าง พ.ศ. 2510-2519 นอกจากนี้
หน่วยงานทางราชการที่เกี่ยวข้องก็ได้ทำรายงาน การดำเนินงาน ห้องสมุดประชาชนในภาคต่าง ๆ เช่น
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางได้พิมพ์หกนังสือ เรื่อง รายงานการติดตามและประเมินการ
ดำเนินงานห้องสมุดประชาชน (2526) เป็นต้น ครั้งล่าสุด มีการศึกษาสภาพการดำเนินงาน
ห้องสมุดประชาชนซึ่งดำเนินงาน โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน มีการสรุปปัญหาการดำเนินงาน
(จุมพจน์ วนิชกุล 2527 : 66-69) ดังต่อไปนี้
1. เรื่องสภาพอาคารสถานที่ห้องสมุด มีปัญหาซึ่งสรุปได้เกี่ยวกับสภาพตัวอาคารห้องสมุด ดังนี้
1.1 ตัวอาคารห้องสมุดอยู่ใกล้ถนน
1.2 ตัวอาคารห้องสมุดคับแคบ
1.3 ตัวอาคารห้องสมุดออกแบบโดยไม่คำนึงถึงมาตรฐานการป้องกันหนังสือหาย เช่น
ติดตั้งกระจกหน้าต่างมากเกินไป ไม่ติดตั้งกรงเหล็กเสริมให้ปลอดภัย เป็นต้น
1.4 ตัวอาคารห้องสมุดเป็นอาคารเก่า สร้างมานานแล้ว สภาพทรุดโทรมมาก การรื้อทิ้ง
หรือการปรับปรุง หรือสร้างใหม่
1.5 ตัวอาคารห้องสมุดไม่เป็นเอกเทศ ต้องอาศัยอาคารอื่น ๆ เป็นที่ตั้งของ อาคารห้องสุมด เช่น
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ยังอาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนบวรวิทยายน 2 อยู่
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชัยนาทอยู่กับสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท เป็นต้น
1.6 อาคารห้องสมุดอยู่ไกลจากชุมชนมาก เช่น ห้องสมุดประชาชนจังหวัด
ราชบุรีอยู่ห่างจากตัวจังหวัด 30 กิโลเมตร จึงมีปัญหาในการให้บริการห้องสุมด
1.7 อาคารห้องสมุดส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่กับหน่วยงานทางราชการเกิดปัญหา
ต่อการไม่กล้าเข้ามาใช้บริการของประชาชนทั่วไป เช่น ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี
และห้องสมุดประชาชนจังหวัดปัตตานีอาศัยอยู่กับหน่วยงานราชกาในศาลากลางจังหวัด ผู้ที่
ใช้บริการส่วนใหญ่จึงมักเป็นข้าราชการ
1.8 อาคารห้องสมุดบางแห่งติดตั้งแสงสว่างไม่เพียงพอ
1.9 อาคารห้องสมุดบางแห่งมีอากาศร้อนเกินไป
1.10 อาคารห้องสมุดบางแห่งตั้งอยู่ในเขตอุทกภัย เช่น ห้องสมุดประชาชน อำเภอบางปลาม้า
จังหวัดสุพรรณบุรี ในฤดูฝนหรือฤดูน้ำท่วม น้ำจะท่วมพื้นห้องสมุด
2. เรื่องสภาพบุคลากรห้องสมุด
สภาพปัญหาเรื่องบุคลากรห้องสมุดนับว่ามีปัญหามากที่สุดต่อการดำเนินงาน ห้องสมุด
พอสรุปได้ดังนี้
2.1 บุคลากรไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานห้องสมุด
2.2 ไม่มีบรรณารักษประจำห้องสมุด หรือไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุด
2.3 บรรณารักษไม่มีวุฒิทางด้านวิชาชีพบรรณารักศาสตร์
2.4 บุคลากรห้องสมุดมีน้อย เกิดปัญหาต่อการทำงานหนักและล้าตลอดปี
2.5 กรมการศึกษานอกโรงเรียนควรมีอัตราเจ้าหน้าที่ห้องสมุดอย่างน้อย 2 อัตรา คือ
อัตราบรรณารักษ์ห้องสมุด จำนวน 1 อัตรา และอัตราลูกจ้างจำนวน 1 อัตรา
2.6 ควรมีการย้ายบุคลากรสับเปลี่ยนภายในจังหวัด คือระหว่างจังหวัด เช่น ทุก ๆ ปี เป็นต้น
3. เรื่องงบประมาณ ปัญหาเรื่องงบประมาณห้องสมุด พอสรุปได้ดังนี้
3.1 งบประมาณที่ได้รับแต่ละปีน้อยเกินไป ไม่สามารถจะดำเนินการตาม โครงการที่เสนอไปได้
3.2 งบประมาณก่อสร้างอาคารห้องสมุดใหม่ต้องให้ประชาชนช่วยสมทบให้
ครึ่งหนึ่งมีปัญหาต่อห้องสมุดประชาชนระดับอำเภอ เพราะประชาชนไม่สามารถออกเงิน สมทบให้ได้
3.3 งบประมาณค่าวัสดุสำหรับซื้อหนังสือ วารสารและหนังสือพิมพ์ การจัด สรรอย่างน้อยแห่งละ
10,000 บาทต่อไป
4. เรื่องสภาพการบริหารงานห้องสมุด ปัญหาเรื่องการบริหารงานห้องสมุด
4.1 ไม่มีผู้รับผิดชอบในการบริหารงานห้องสมุดโดยตรง ต้องฝากหน่วย งานอื่นดูแลรับผิดชอบ
4.2 ไม่มีบุคลากรทำงาน
4.3 บรรณารักษ์ไม่มีวุฒิทางด้านวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ไม่สามารถ ดำเนินงานห้องสมุดทุก ๆ
ด้านได้ครบถ้วน
4.4 บรรณารักษต้องทำงานทุกด้าน
4.5 ห้องสมุดประชาชนที่มีเจ้าหน้าที่เพียงคนเดียวอาจปิดการให้บริการ หากเจ้าหน้าที่ป่วย หรือลา
ก่อให้เกิดปัญหาในการให้บริการห้องสมุด
4.6 ควรมีการจัดอบรมบรรณารักษอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4.7 เจ้าหน้าที่ห้องสมุดขาดที่พักอาศัย
4.8 ควรมีวัสดุอุปกรณ์สำหรับการดำเนินงานห้องสมุดให้ครบถ้วน เช่น เครื่องพิมพ์ดีด
อุปกรณ์เครื่องมือสำหรับซ่อมหนังสือ เป็นต้น
5. เรื่องสภาพการบริการในห้องสมุด ปัญหาเรื่องการบริการในห้องสมุดพอสรุปได้ดังนี้
5.1 ขาดบุคลากรในการให้บริการ
5.2 การบริการจัดทำได้เฉพาะภายในห้องสมุด บรรณารักษไม่สามารถ ออกบริการภายนอกได้
5.3 ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการอ่านหนังสือประเภทบันเทิง เช่น นวนิยาย
ควรสนองความต้องการในการอ่านหนังสือประเภทนี้ก่อน แล้วจึงค่อนหาวิธีให้ผู้ใช้ห้องสมุด
หันไปสนใจอ่านหนังสือประเภทอื่น ๆ ภายหลัง
5.4 ผู้ใช้ห้องสมุดบางแห่ง ต้องการให้ห้องสมุดเปิดบริการถึงเวลา 20.00 น.
ซึ่งบรรณารักษ์ไม่สามารถปฎิบัติงานได้
5.5 ควรเพิ่มอุปกดรณ์วัสดุไม่ตีพิมพ์ (อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ) เพราะ
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดได้จัดมุม มสธ. ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
และมุมวิชาชีพเรียนด้วยตนเอง ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
5.6 ผู้ใช้บริการห้องสมุดส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา และเป็นนักเรียนทั้งระดับ
ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ควรเพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อหนังสือสำหรับเด็กให้มากขึ้นหรือ
จัดมุมหนังสือเด็กโดยเฉพาะ
6. เรื่องอื่น ๆ
6.1 ประชาชนในบางท้องที่ให้ความสนใจต่อการศึกษาน้อย เนื่องจากปัญหา
ด้านเศรษฐกิจของครอบครัว
6.2 ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับที่ทำการของห้องสมุด
หมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถมาใช้บริการได้
6.3 ควรสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้รับสวัสดิการและความก้าวหน้าใน การทำงาน
6.4 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยควรมีบทบาทต่อการจัดหา จัดซื้อหนังสือ วัสดุ
และอุปกรณ์ห้องสมุดให้กับห้องสมุดประชาชน
6.5 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยควรมีส่วนช่วยเหลือห้องสมุดประชาชน
ในงานเทคนิคห้องสมุด เช่น การทำบัตรรายการ การซ่อมหนังสือ เป็นต้น โดยคิดค่าตอบแทน
หรือคิดค่าบริการในราคาย่อมเยา
6.6 ห้องสมุดประชาชนจังหวัด ควรเป็นศูนย์ข้อมูลของจังหวัด สามารถ
ตอบคำถามของผู้ใช้ห้องสมุดในเรื่องข้อมูลต่าง ๆ ของจังหวัดได้
6.7 ควรมีโครงการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างห้องสมุด
หน้าสารบัญ
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com