1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library
2 (2 - 0)
ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com
ประวัติและพัฒนาการของห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย
ห้องสมุดประชาชนของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน (ระยะที่ 3)
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของพัฒนาการห้องสมุดประชาชนซึ่งมีผลต่อการดำเนิน งานกิจการห้องสมุดประชาชนในปัจจุบัน คือ การจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียนเป็นกรมใหม่ อีกกรมหนึ่งในกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฎิวัติฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 22) (กรมการศึกษานอกโรงเรียน 2526: 2) จากการจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียนในครั้งนี้ มีผลทำให้โอนกิจการห้องสมุดประชาชน จากกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา ไปให้กรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดดำเนินงานต่อ กรมการศึกษานอกโรงเรียน มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกระบบโรงเรียน และผู้ขาดโอกาสทางการ ศึกษาและส่งเสริมให้บุคคลได้รับการศึกษา อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยมีภารกิจ สำคัญ คือ
กลุ่มเป้าหมาย
กรมการศึกษานอกโรงเรียนมุ่งเน้นให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายผู้ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน และผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา ได้แก่
ในปัจจุบัน กรมการศึกษานอกโรงเรียน เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการมีหน่วยงาน และ สถานศึกษาในสังกัดทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ดังนี้
1. หน่วยราชการส่วนกลาง มี 10 หน่วยงาน ได้แก่
2. สถานศึกษาขึ้นตรงกับส่วนกลาง จำนวน 9 แห่ง ได้แก่
3. สถานศึกษาส่วนภูมิภาค จำนวน 999 แห่ง ได้แก่
ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานควบคุมดูแลและ ติดตามผลการปฎิบัติงาน ห้องสมุดประชาชนจังหวัดและอำเภอ ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี ห้องสมุดเคลื่อนที่หน่วยรถ-เรือ ห้องสมุดเคลื่อนที่ในเขต กรป.กลาง ศูนย์วิจัยบริจาคหนังสือ ที่อ่านหนังสือ ประจำหมู่บ้าน โสตทัศนศึกษาเผยแพร่การศึกษาโดยวิธีใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษาทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค (กรมการศึกษานอกโรงเรียน 2526 : 26) สภาพการดำเนินงานของห้องสมุดประชาชน สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันจึงมีฐานะเล็กลงเมื่อเปรียบเทียบ เมื่อครั้งสังกัดกองการศึกษา ผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา
การดำเนินงานบริหารกิจการห้องสมุดประชาชนยังลักลั่น เพราะมี การจัดตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค 5 ศูนย์ คือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ จังหวัดลำปาง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้ จังหวัดสงขลา ศูนย์กลางศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง จังหวัดราชบุรี และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (กรมการศึกษา นอกโรงเรียน 2526: 42) นอกจากนี้ยังมีการประกาศ จัดตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดทุกจังหวัดให้อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดโดยตรง (กรมการศึกษานอกโรงเรียน 2526 : 43) ขณะนี้ ดำเนินการจัดตั้งครบทุกจังหวัดแล้ว (กรมการศึกษานอกโรงเรียน 2528 : 1) การดำเนินงานของห้องสมุดประชาชนในยุคปัจจุบันจึงค่อนข้างสับสน ปัญหาที่ เคยมีมาเมื่อครั้งสังกัดกองการศึกษาผู้ใหญ่ ก็ยังคงเผชิญปัญหาอื่น ๆ อีกมาก โดยเฉพาะใน เรื่องสายงานของการบังคับบัญชาตลอดจนการพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้บรรลุเป้าหมาย ของการบริการ ประชาชนที่แท้จริง ปัจจุบัน กรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดดำเนินงานในการจัดตั้งห้องสมุดประชาชน จังหวัด 72 จังหวัด มีห้องสมุดประชาชนอำเภอรวม 333 แห่ง และห้องสมุดประชาชนตำบล รวม 20 แห่ง (กรมการศึกษานอกโรงเรียน 2530 : 36) และจะจัดต่อไปจนครบทุกอำเภอและ งานที่เกี่ยวข้องกับการบริการของห้องสมุดประชาชน ยังมีอีกหลายรูปแบบโดยทำงานกับหน่วยงาน อื่น ๆ คือ
2. ที่อ่านหนังสือประจำวัด กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ร่วมมือกับกรมการ ศาสนาจัดที่อ่านหนังสือประจำวัดขึ้น ถ้าวัดใดมีความพร้อมที่จะดำเนินการจัดตั้ง กรมการศึกษา นอกโรงเรียนก็จะเข้าไปดำเนินการจัดตั้ง ได้มีการจัดตั้งที่อ่านหนังสือประจำวัด แห่งแรกที่วัด บางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีที่อ่านหนังสือประจำวัดประมาณ 62 วัดทั่วประเทศ
3. ห้องสมุดเคลื่อนที่ เป็นงานที่ให้การศึกษาและข่าวสารข้อมูลแก่ประชาชนใน ท้องถิ่นชนบท เพื่อส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนในด้านต่าง ๆ โดยจัดให้ยืมหนังสือทางเรือ โดยเรือที่ใช้จัดเป็นห้องสมุดเคลื่อนที่นี้ จะออกไปปฎิบัติการตมจุดต่าง ๆ โดยจัดเป็น มุมหนังสือตามจุดปฎิบัติการ และจัดหีบหนังสือมอบไว้กับหมู่บ้าน ตามจุดที่ทำงานโดยมีอาสาสมัคร รับผิดชอบเป็นบรรณารักษ์ ห้องสมุดเคลื่อนที่นี้นอกจากบริการหนังสืออ่านแล้ว ยังได้จัดฉาย ภาพยนตร์และสไลด์ซึ่งให้ความรู้แก่ประชาชนในด้านวิชาชีพ วัฒนธรรม วิชาการและบันเทิง โดยจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ (กรมการศึกษานอกโรง เรียน 2527 : 30-31)
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com