1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library
2 (2 - 0)
ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com
พัฒนาการของห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลง และเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ อันเป็นผลจากอารยธรรมตะวันตกซึ่งได้แพร่เข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ่งที่ช่วยพัฒนาในกิจการห้องสมุด ได้แก่ ความเจริญก้าวหน้า โดยมีการตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่งทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด และ การส่งนักเรียนไปศึกษาต่างประเทศ ความเคลื่อนไหวด้านห้องสมุดในรัชกาลนี้เริ่มขึ้นเมื่อกลุ่มสมาคมสตรี (Ladies Bazaar Association) ซึ่งเป็นสมาคมการกุศลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2409 ได้จัดงานรายได้มาบำรุงกิจการของคณะมิชชันนารีเพรสไบทีเรียนเมื่อวันที่ 25 ธันวา คม พ.ศ. 2411 และได้นำเงินนี้จัดตั้งห้องสมุดขึ้นเพื่อให้บริการแก่สมาชิกที่เสียค่าบำรุง เรียกชื่อว่า "ห้องสมุดสตรีสำหรับสำหรับให้ยืมหนังสือ" (Ladies Circulating Library) ขึ้นในจังหวัดพระนคร และต่อมาดำเนินงาน โดยสมาคมสตรีกรุงเทพฯ (Bangkok Ladies' Libaray Association) จนถึง พ.ศ. 2463 จึงย้ายมาอยู่อาคารใหม่ ริมถนนสุรวงศ์ซึ่ง นายแพทย์ เนียลสัน เฮยส์ ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นางเจนนี เนียลสัน เฮยส์ ผู้เป็นภรรยาและเป็นนายกสมาคมห้องสมุดมาถึง 4 สมัย และได้ดำเนินงานห้องสมุดแห่งนี้มาเป็นเวลานานถึง 25 ปี ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงชื่อห้องสมุดเป็น "ห้องสมุดเนียลสัน เฮยส์" ซึ่ง ยังคงเปิดดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ 2520: 108-116)
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com