1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library
2 (2 - 0)
ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com
งานสารบรรณของห้องสมุด
งานสารบรรณ คือ งานที่ทำด้วยหนังสือ นับตั้งแต่คัดร่าง เขียน แต่ง พิมพ์ จดจำ ทำสำเนา ส่ง รับ บันทึก ย่อเรื่อง เสนอ สั่งการ ตอบ เก็บเข้าที่ และค้นหา บรรณารักษ์ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับงานนี้ จำต้องมีความรู้เพื่อจะได้ทำเองหรือเสนอแนะผู้อื่นได้
ระเบียบงานสารบรรณที่บรรณารักษ์ควรศึกษาเพื่อความสะดวกต่อการปฎิบัติงานใน ห้องสมุด คือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2526 เป็นต้นไป (สวัสดิการสำนักงาน ก.พ. 2526 : 1) ระเบียบนี้กล่าวถึง งานสารบรรณ 4 หมวด คือ ชนิดของหนังสือ การรับและส่งหนังสือ การเก็บ รักษา ยืม และทำลายหนังสือ และมาตรฐาน ตรา แบบฟอร์ม ซึ่งพอสรุปความสำ คัญของแต่ละหมวด ดังต่อไปนี้
ชนิดและหนังสือราชการ
หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ มี 6 ชนิดคือ
1. หนังสือภายนอก คือ หนังสือที่มีมาระหว่างกระทรวง หรือส่วนราชการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่ถึงบุคคลภายนอก โดยใช้กระดาษตราครุฑ ข้อความตอนนี้ หมายความว่า หนังสือภายนอก เป็นหนังสือที่เข้าในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
2. หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือ ภายนอก เป็นหนังสือติดต่อ ภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความ (สวัสดิการสำนักงาน ก.พ. 2526 : 2-3)
บันทึกย่อเรื่อง
บันทึกรายงาน
บันทึกความเห็น
บันทึกติดต่อและสั่งการ
บันทึกข้อความ
(ตราครุฑ) บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ.................................................................................................................
ที่.............วันที่..............................................................................................................
เรื่อง..............................................................................................................................
คำขึ้นต้น
(ข้อความ)
....................................................................................................................
.....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
3. หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกรมขึ้นไป เป็นหนังสือที่ใช้ได้ภายในและภานนอก โดยใช้ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้ากอง หรือผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อ กำกับตรา กำหนดให้ใช้กรณีดังนี้
แบบหนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ
ตราครุฑ
ที่ ................
ถึง ส่วนราชการ ................................
(ข้อความ)..................................................
.....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
....................................................................................................................................
(ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก)
(ตราชื่อส่วนราชการ)
(ลงชื่อย่อกำกับตรา)
(วัน เดือน ปี)
(ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
โทร หรือที่ตั้ง)
4. หนังสือสั่งการ หมายถึง หนังสือที่จัดทำขึ้นมีความหมายโดยเฉพาะ คือ เพื่อการสั่ง ติดต่อกับบุคคลภายนอก หรือข้าราชการ มี 3 ประเภท คือ
คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฎิบัติโดยชอบด้วยกฏหมาย ใช้ กระดาษตราครุฑ
ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยจะอาศัยอำนาจ ของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลักปฎิบัติงานเป็นการประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ
ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจ ของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ หมายความถึง หนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อการประชาสัมพันธ์มี 3 ชนิด คือ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะ แนวทางปฏิบัติ แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจ การของทางราชการ หรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน ข่าว คือ บรรดาข้อความ ที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ คือ หนังสือที่ ทางราชการทำขึ้น หรือหนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอกมีมาถึง ส่วนราชการ และส่วนราชการรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการ มี 4 ชนิดคือ หนังสือรับรอง รายงานการประมุชม บันทึกและหนังสืออื่น
การทำสำเนา
สำเนา คือ เอกสารที่จัดทำขึ้นเหมือนกับต้นฉบับ การจัดทำสำเนากระทำได้หลายวิธี เช่น คัด ถ่าย อัด เป็นต้น เอกสารทางราชการจำเป็นจะต้องมีสำเนา เพราะ ต้นฉบับใช้ดำเนินการเปลี่ยนมือกันหรืออาจเป็นเรื่อง ที่ต้องส่งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและคนจะใช้ต้นฉบับทุกคนไม่ได้ ก็จำต้องทำสำเนาส่งให้ผู้ที่มีความสำคัญรองลงไป อีกประการหนึ่ง เจ้าของเรื่องควรจะได้มีสำเนาไว้เป็นหลักฐานของตนเอง
การทำสำเนาแยกได้เป็น 2 แบบ แบบหนึ่งใช้วิธีคัดหรือลอกจากต้นฉบับ สำเนาชนิดนี้จำเป็น ต้องมีการตรวจทางเพื่อความถูกต้อง นอกจากจะต้องมีการรับรองสำเนาแล้ว ควรมีการลงลายมือชื่อผู้พิมพ์ ผู้ทานไว้ด้วย สำเนาชนิดนี้ควรถูกต้อง ควรจะแน่นอน อาศัยความละเอียดถี่ถ้วยของผู้พิมพ์ ผู้ทานด้วย ถ้ามีข้อสงสัยว่าข้อความอาจไม่ถูก ก็ควรสอบจากต้นฉบับโดยใช้กระดาษคาร์บอนสอดระหว่าง ต้นฉบับกระดาษที่จะใช้ทำสำเนา เมื่อพิมพ์หรือ เขียนติดฉบับก็ติดเป็นสำเนาไปด้วยในตัว หรือถ่ายจากต้นฉบับด้วยเครื่องถ่ายภาพ หรืออัดด้วยเครื่องมืออัดสำเนา โดยวิธีให้หมึกที่ต้นฉบับ ที่ติดกระดาษสำเนาแบบหลังนี้ ถอดจาก ต้นฉบับโดยตรงฉะนั้นความผิดพลาดจากต้นฉบับจึงไม่มี เพื่อให้การเรียกสำเนาทั้ง2แบบนี้เข้าใจแตกต่างกัน จึงเรียกสำเนาแบบหลังนี้ว่าสำเนาคู่ฉบับ (ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน 2522 : 227)
สำเนาคู่ฉบับของหนังสือราชการเป็นหลักฐานที่สำคัญในราชการ ฉะนั้นระเบียบ งานสารบรรณจึงบังคับให้มีสำเนาคู่ฉบับไว้อย่างน้อย 1 ฉบับ ผู้ที่ลงชื่อในต้นฉบับอาจลงชื่อ เต็มหรือชื่อย่อในสำเนาคู่ฉบับเดียวกัน ที่ลงในต้นฉบับก็ได้ ในกรณีนี้ถือว่าได้เป็นผู้ตรวจคน สุดท้ายได้ เพราะหลักฐานเท่ากัน
การรับและส่งหนังสือ การรับและส่งหนังสือ ได้แก่ กระบวนการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและส่งหนังสือจากหนังสือทั้ง ของเอกชนและราชการ โดยหนังสือที่รับ หมายถึง หนังสือที่ได้รับเข้ามาจากภายนอก มีการประทับตรารับหนังสือ โดยลงเลขรับ ลงวันที่ที่ได้รับ และลงเวลาที่ได้รับหนังสือ ส่วนหนังสือส่ง หมายถึง หนังสือที่ส่งออกไปภายนอก ให้ปฏิบัติไปตามระเบียบของงานสารบรรณ ( สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.2526 : 12 - 15 )
การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ
การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น การเก็บระหว่างปฎิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว และการเก็บไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
การเก็บระหว่างปฎิบัติ คือ การเก็บหนังสือที่ปฎิบัติยังไม่เสร็จให้อยู่ในความรับ
ผิดชอบของเจ้าของเรื่อง โดยให้กำหนดวิธีการเก็บให้เหมาะสมตามขั้นตอนของการปฎิบัติงาน
การเก็บเมื่อปฎิบัติเสร็จแล้ว คือ การเก็บหนังสือที่ปฎิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว และ
ไม่มีอะไรที่จะต้องปฎิบัติต่อไปอีก ส่งเก็บไปให้หน่วยเก็บที่ส่วนราชการนั้น ๆ กำหนด
การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ คือ การเก็บหนังสือที่ปฎิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่จำเป็นต้องใช้ใน การตรวจสอบเป็นประจำ
ไม่สะดวกในการส่งเก็บยังหน่วยเก็บของส่วนราชการให้เจ้าของเรื่องเก็บเป็นเอกเทศ
การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว อนุญาตให้ยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ โดยผู้ยืม และผู้อนุญาตให้ยืม
ต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป ส่วนการยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน
ผู้ยืมและผู้อนุญาตต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิ์ในการยืม หนังสือราชการ
ยกเว้นจะให้ดูหรือคัดลอกหนังสือเท่านั้น
การทำลายหนังสือนั้น ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือสำรวจหนังสือที่ครบกำหนดอายุการเก็บ ภายใน 60 วัน หลังจากวันสิ้นปีปฎิทิน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เก็บไว้เอง หรือที่ฝากเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร แล้วจัดทำหนังสือขอทำลาย เสนอหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเพื่อพิจารณา แต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ (สวัสดิการสำนักงาน ก.พ. 2526 : 16-23)
มาตรฐานตรา แบบพิมพ์ และซอง
ระเบียบงานสารบรรณ ได้กำหนดมาตรฐานตรา แบบพิมพ์และซองไว้ดังต่อไปนี้
ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์มี 2 ขนาด คือ ขนาดตัวครุฑสูง 3 เซนติเมตร และ ขนาดสูง 1.5 เซนติเมตร
มาตรฐานกระดาษ โดยปกติให้ใช้กระดาษปอน์ดขาว น้ำหนัก 60 กรัมต่อตารางเมตร มี 3 ขนาด คือ ขนาดเอ 4 (ขนาด 210 ม.ม. x 297
ม.ม.) ขนาด เอ 5 (ขนาด 148 ม.ม. x 210 ม.ม.) และขนาดเอ 8 (52 ม.ม. x 74 ม.ม.)
มาตรฐานซอง โดยปกติให้ใช้กระดาษสีขาวหรือสีน้ำตาล น้ำหนัก 80 กรัมต่อตารางเมตร เว้นแต่ซองขนาดซี 4 ให้ใช้กระดาษน้ำหนัก 120
กรัมต่อตารางเมตร มี 4 ขนาด คือ ขนาดซี 4 (ขนาด 229 ม.ม. x 324 ม.ม.) ขนาดซี 5 (ขนาด 162 ม.ม. x 229 ม.ม.) ขนาดซี 6 (ขนาด 114 ม.ม. x
162 ม.ม.) และขนาดดีแอล (ขนาด 110 ม.ม.x 220 ม.ม.) (สวัสดิการสำนักงาน ก.พ. 2526 : 24-26)