1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library
2 (2 - 0)
ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com
วัสดุครุภัณฑ์ห้องสมุด
วัดสุครุภัณฑ์ในห้องสมุด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. วัสดุ
วัสดุของห้องสมุด อาจแยกได้กว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท คือ
วัสดุตีพิมพ์ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่มีอยู่ในห้องสมุด อาจแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้
1. หนังสือ คือ บันทึกความรู้ ความคิด ความเชื่อถือ ประสบการณ์และ การกระทำของมนุษย์ในรูปเล่มที่ถาวร
2. หนังสือพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดออกแน่นอนติดต่อกันตามลำดับ ส่วนใหญ่จะเป็นรายวัน
3. วารสาร หรือนิตยสาร คือ สิ่งพิมพ์ที่เย็บเป็นเล่ม มีกำหนดออกระบุ ไว้แน่นอน เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน ราย 2 เดือน
4. จุลสาร คือ สิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก มีความหนาไม่มากนัก องค์การ Unesco กำหนดให้จุลสารมีความหนาระหว่าง 5-48 หน้า (Miller 1971:67)
แต่บางตำรากำหนดไว้ 60 หน้าหรือถึง 100 หน้า (Webster's Third New International Dictionary of the English Language
1965:1628)
5. กฤตภาค คือ ข้อความต่าง ๆ ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ วารสาร หรือหนังสืออื่น ๆ รวมจัดเข้าแฟ้ม โดยวิธีเรียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเก็บไว้ในตู้จุลสาร
(คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์วิชาบรรณารักษศาสตร์ 2511:46)
ส่วนวัสดุที่ไม่ตีพิมพ์ ได้แก่ วัสดุอื่น ๆ นอกเหนือไปจากหนังสือที่เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในห้องสมุด ได้แก่ โสตทัศนวัสดุใหม่ ๆ เช่น ฟิล์ม 16 ม ม ฟิลม์สตริป สไลด์ วิทยุ จานเสียง ภาพ แผนที่ และวัสดุไม่ตีพิมพ์อื่น ๆ ที่จำเป็นและส่งเสริมให้สภาพการเรียนดีขึ้น (American Library Association 1945:23-24)
2. ครุภัณฑ์
ครุภัณฑ์ หมายถึง ของหนัก หรือของที่ใช้ทนทาน (ราชบัณฑิตยสถาน 2525: 168) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของห้องสมุด ครุภัณฑ์ที่มีในห้องสมุด ได้แก่
1. ชั้นวางหนังสือ เป็นที่สำหรับวางหนังสือในห้องสมุด ควรเป็นชั้นเปิดเพื่อให้ผู้ใช้หยิบได้สะดวก และปรับขึ้นลงไป ชั้นสำหรับผู้ใหญ่สูง 5-7 ฟุต
ชั้นสำหรับเด็กสูงไม่เกิน 5 ฟุต หากเป็นชั้นเตี้ยสูงเสมอขอบหน้าต่าง หรือประมาณ 3 ฟุต ช่วงความสูงแต่ละชั้นสูงประมาณ 10 นิ้ว ความลึกของชั้น 10-12 นิ้ว
ความหนาของไม้ 1 นิ้ว
2. ชั้นวางวารสาร มีหลายแบบ อาจเป็นชั้นเอียง หรือที่วางเฉพาะวารสาร ใหม่อย่างเดียว
3. ที่วางหนังสือพิมพ์ เป็นที่วางหนังสือพิมพ์แบบขาตั้ง มีที่พาดสำหรับไม้หนีบหนังสือพิมพ์ ที่วางหนังสือพิมพ์อันหนึ่ง ๆ วางหนังสือพิมพ์ได้ประมาณ
8 ฉบับ ไม้หนีบหนังสือพิมพ์ ด้านยาว 35 นิ้ว ที่สำหรับจับยาว 6 นิ้ว ปลายรัดด้วยยาง อาจใช้ไม้ไผ่เหลาแทนไม้เนื้อแข็งก็ได้
4. โต๊ะอ่านหนังสือ เป็นที่อ่านหนังสือสำหรับผู้ใช้ห้องสมุด ควรมีหลายแบบทั้ง รูปกลมสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดพอเหมาะกับห้อง
หรือจะทำเป็นแบบนั่งคนเดียว 2 คน 4 คน 8 คน ความกว้าง 36 นิ้ว สูง 27 นิ้ว ยาว 60-90 หรือ 42 นิ้ว
สำหรับเด็กระหว่าง 22-25 นิ้ว กว้าง 16 นิ้ว โต๊ะกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 36-42 นิ้ว หรือ 48 นิ้ว
5. เก้าอี้ ควรมีสัดส่วนเหมาะกับขนาดของโต๊ะอ่านหนังสือแต่ละประเภทไม่ควรมีท้าวแขน เก้าอี้สำหรับเด็กควรสูง 13-14 นิ้ว
6. โต๊ะ-จ่ายหนังสือ อาจใช้โต๊ะธรรมดา หรือเคาน์เตอร์รูปสี่เหลี่ยมขนาดเหมาะสมกับห้องสมุด ประกอบด้วยชั้นสำหรับ เก็บหนังสือที่ผู้ยืมเอามาคืน
ด้านบนมีช่องสำหรับใส่หนังสือ ลิ้นชักสำหรับใส่บัตร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการยืมหนังสือ อาจกั้น
ทำเป็นที่ทำ งานของบรรณารักษ์ได้ด้วย
7. ตู้บัตรราบการ เป็นตู้ประกอบด้วยลิ้นชักสำหรับใส่บัตรรายการขนาด 3"x5" และมีแกนร้อยรูบัตรและมีที่รองเขียน ควรเป็นตู้บัตรรายการขนาด 9-30
ลิ้นชัก การจัดหาตู้บัตรรายการต้องระมัดระวังในเรื่องขนาดและฝีมือ
8. ที่สำหรับจัดนิทรรศการ เป็นป้ายประกาศ ตู้กระจก หรือโต๊ะการะจกสำหรับ แสดงนิทรรศการต่างๆ ของห้องสมุด
9. โต๊ะทำงานของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ มีขนาดพอเหมาะกับชนิดของงาน
10. ตู้จุลสาร เป็นตู้เหล็กมีลิ้นชักขนาดมาตรฐานสำหรับเก็บจุลสาร หรือกฤตภาค ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้บริการ ควรเป็นขนาด 4 ลิ้นชัก
11. ตู้เก็บโสตทัศนวัสดุ ควรทำเป็นพิเศษ เพื่อเก็บพวกแผ่นเสียง ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ นอกจากนี้ควรมีที่สำหรับเก็บแผนที่ หรือ
ภาพขนาดใหญ่โดยไม่พับ
12. ตู้เก็บของ อาจใช้ตู้เหล็กชนิด 2 บาน เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ ในการทำงาน เช่น เครื่องมือซ่อมหนังสือ
วัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดนิทรรศการ
13. รถสำหรับเข็นหนังสือ เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายหนังสือจำนวนมาก
14. บันไดสำหรับปีนหยิบหนังสือ เพื่อสะดวกในการหยิบหนังสือบนชั้นสูงๆ ได้อย่างปลอดภัย
15. อ่างล้างมือ สำหรับเจ้าหน้าที่และบรรณารักษ์
16. พิมพ์ดีด ใช้พิมพ์บัตรรายการ เอกสารต่าง ๆ ควรมีทั้ง 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
17. ชั้นเก็บวารสารเก่า ใช้เก็บวารสารแยกชนิด หลังจากผู้อ่านอ่านเสร็จแล้ว และจัดแยกสำหรับเตรียมที่จะเย็บเล่ม
18. ป้ายประกาศห้องสมุด สำหรับติดประกาศต่าง ๆ ของห้องสมุด
แม้นมาส ชวลิต (2522:1-2) กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการสร้างครุภัณฑ์ห้องสมุดไว้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ ครุภัณฑ์ครช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานให้ความสบาย แก่ผู้ใช้
2. ความทนทาน ใช้วัสดุก่อสร้างซึ่งทนทาน ใช้ไม้ที่ดีที่สุด ที่เป็นโลหะจะต้องไม่ขึ้นสนิม หรือสีที่ทาไว้ไม่ควรหลุดออกง่าย ๆ ทนความร้อนหนาวได้
3. วัสดุที่ใช้ทำครุภัณฑ์ ไม่มีความสวยงามและทำให้รู้สึกเหมือนบ้าน ไม้เหมาะสมสำหรับอ่านหนังสือ โลหะเหมาะสำหรับครุภัณฑ์บางอย่าง เช่น
ชั้นเก็บหนังสือในที่เก็บหนังสือครุภัณฑ์ในที่ทำงาน เช่น ตู้เก็บของ ตู้จุลสาร ใช้โลหะก็เหมาะสม
4. ส่วนสัด สำคัญมาก โต๊ะ เก้าอี้ ต้องมีส่วนสัดพอเหมาะแก่ผู้นั่ง ตู้บัตรรายการต้องมีส่วนสัดถูกต้องตามแบบ
5. แบบ อำนวยความสะดวกสบาย เรียบ ๆ ง่าย ๆ แต่สวยงามน่าดู ไม่มีการแกะสลัก ซึ่งจะเก็บฝุ่น มุมบนจะไม่สึกง่าย และและให้ความรู้สึกสบายตา
6. ความแข็งแรง ตามรอยต่อต่าง ๆ ต้องทำให้แน่นหนา ไม่คลอนหรือหลุดง่าย
7. พื้นหน้า อาจลงแชลแลค หรือ แลกเกอร์ หรือ ทาสี หรือใช้วัดสุสังเคราะห์บางอย่าง วัสดุสังเคราะห์ใช้เป็นพื้นหน้าโต๊ะ เคาน์เตอร์ได้ดี
เพราะไม่เปื้อน ไม่ลอก ทำความสะอาดง่าย ระวังการเลือกสีและลาย
8. สี สีไม้ตามธรรมชาติสวยดีกว่าอย่างอื่น ถ้าใช้สีอื่น ๆ ให้กลมกลืนกับสีที่ทาผนังเพดาน และพื้นห้อง สีแก่ทำให้ห้องดูมืด ระวังอย่าใช้สีสะท้องแสง
อย่าลืมว่าหนังสือมีหลายสีอยู่แล้ว
9. ราคา ควรใช้ของที่มีคุณภาพ อย่าคิดแต่ราคาถูกอย่างเดียว ซื้อน้อยชิ้นที่มีคุณภาพสูง ดีกว่าซื้อของมาก แต่คุณภาพต่ำ
"ของดีที่สุดเมื่อเวลาล่วงไปจะเป็นของราคาถูกที่สุด"
10. ช่าง ควรใช้ช่างที่ชำนาญมาก มีความประณีต รักษาหลักเกณฑ์ทุกอย่างช่างที่ไม่เคยทำงานเช่นนี้ไม่เข้าใจการใช้ ของครุภัณฑ์แต่ละอย่าง
จะทำงานผิดได้ง่าย
การวางโครงการเกี่ยวกับครุภัณฑ์
1. ผู้วางโครงการ บรรณารักษ์ และสถาปนิค ผู้ออกแบบตกแต่งภายใน ร่วมมือกันตามปกติผู้ตกแต่งภายในกับผู้ออกแบบก่อสร้าง
เป็นคนละคนแต่อาจเป็นคนเดียวกันก็ได้
2. ถ้าเป็นอาคาร ในระหว่างการออกแบบอาคาร ผู้ตกแต่งภายใน ควรได้รับทราบและเห็นแบบด้วย เพราะครุภัณฑ์บางอย่าง สร้างรวมไปกับอาคารได้
3. ให้ผู้ออกแบบครุภัณฑ์ทราบถึงวัตถุประสงค์ของห้องสมุด และแจ้งให้ทราบว่า ต้องการครุภัณฑ์อะไรบ้าง ทำบัญชีโดยละเอียดให้ทราบ
4. บรรณารักษ์แจ้งให้ผู้ออกแบบทราบว่า ครุภัณฑ์ชิ้นใดควรอยู่ตรงไหน
5. สถาปนิคผู้ออกแบบจะร่างลงว่า ครุภัณฑ์ชิ้นใดอยู่ตรงไหนเมื่อพิจารณาร่วมกับบรรณารักษ์เป็นที่พอใจแล้วก็เริ่มเขียนแบบได้
6. สถาปนิคออกแบบละเอียดของครุภัณฑ์แต่ละชิ้นตามกำหนดและส่วนสัดที่ตกลงแล้วกับบรรณารักษ์
7. ถ้าเป็นห้องสมุดใหญ่มีหลายห้อง ต้องวางโครงการไปทีละห้องแต่ละห้องควร มีอะไรบ้าง แบบครุภัณฑ์ควรให้กลมกลืน กับแบบอาค
หน้าสารบัญ
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com