1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library
2 (2 - 0)
ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com
การบริหารงานบุคคล
ในบรรดาปัจจัยที่ใช้พัฒนาประเทศนั้น กำลังคนนับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด และ การจะหาคนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม แก่ทุกตำแหน่ง ทุกระดับชั้นนั้นเกือบเป็นสิ่งสุดวิสัยโดยเฉพาะในวงงานของรัฐบาล ซึ่งมีขอบเขตการปฎิบัตงานที่กว้างขวาง (สมพงษ์ เกษมสิน 2521:2) การบริหารงานในห้องสมุดเกือบทุกด้านถือว่าบุคลากรห้องสมุดเป็นบุคคลที่สำคัญเพราะได้รับการฝึกอบรม วิชาชีพมาแล้วเป็นอย่างดี จะต้องรู้จักพัฒนาตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ และหมั่นขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมในงานหน้าที่ที่รับผิดชอบ (Overton 1983:22) ก็จะเกิดการพัฒนาของงานต่าง ๆ ภายในห้องสมุด
บรรณารักษ์จึงถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของห้องสมุด ไม่ว่า ห้องสมุดนั้นจะมีหนังสือดีพร้อมสมบูรณ์ มีอาคารสถานที่โออ่าสวยงามเพียงใดก็ตาม ถ้าปราศจากบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่ตรงคุณวุฒิเหมาะสมตามหน้าที่ต่าง ๆ ของงานในห้องสมุดแล้ว การบริหารงานและการให้บริการทางวิทยาการของห้องสมุดนั้นจะมีประสิทธิภาพไม่ได้เลย เรื่องของบุคลากรห้องสมุดจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบเป็นพิเศษทั้งในแง่คุณวุฒิ ปริมาณ ตลอดจนการส่งเสริม ขวัญและกำลังใจ เพื่อรักษาผู้ที่มีคุณวุฒิและมีความเหมาะสมให้ทำงานอยู่ในห้องสมุดตลอดไป ขวัญและกำลังใจในการทำงาน ย่อมหมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความสามัคคี ร่วมใจในระหว่างสมาชิกของหน่วยงานในสังกัดเดียวกันในอันที่จะปฎิบัติงานใน หน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดขวัญหรือกำลังใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความพึงพอใจและภาคภูมิใจ ในหน้าที่การงานที่กระทำอยู่ การมีสถานภาพที่เหมาะสม การมีระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งดี ย่อมเป็นเครื่องจูงใจให้ เจ้าหน้าที่มีความกระตือรือล้นทำงานด้วยความขยันขันแข็งมั่นใจและมีกำลังขวัญดี (นวนิตย์ อินทรามะ 2526 : 49 - 50)
การบริหารงานห้องสมุดประชาชนขยายขอบเขตไปถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยง กับคณะกรรมการห้องสมุด โดยเฉพาะในต่างประเทศแล้วการดำเนินงานของห้องสมุดประชาช นในต่างประเทศมักอยู่ในรูปแบบข องคณะกรรมการห้องสมุด ซึ่งตามกฎหมายห้องสมุดนั้นแต่ละประเภทจะกำหนดอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานห้องสมุด ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้า หมายของห้องสมุด คณะกรรมการห้องสมุดจึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนากิจการห้องสุมด (Corbell 1978:40)
คณะกรรมการห้องสมุดประชาชนในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน มีบทบาทต่อการดำเนินงานห้องสมุดประชาชน ประสานงานกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด และหน่วยงานทางการศึกษาอื่น ๆ ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งนี้เพราะหน่วย งานดังกล่าวเป็นแหล่งเงินทุนให้ห้องสมุดประชาชนดำเนินไปด้วยดี การบริหารงานห้องสมุดที่ดี ต้องอยู่ในลักษณะที่มีบรรณารักษ์ เป็นศูนย์กลาง ประสานงานกับหน่วยงานย่อยทุกหน่วย และทุกหน่วยงานย่อยย่อมมีอิทธิพลต่อการบริหารงาน ของบรรณารักษ์
การบริหารงานบุคคลเป็นศิลปะในการเสือกสรรคนใหม่ และใช้คนเก่าในลักษณะ ที่จะให้ได้ผลงานและบริการจากการปฎิบัติงาน ของบุคคลเหล่านี้มากที่สุด ทั้งในทางปริมาณ และคุณภาพ
บุคลากรในห้องสมุด
การบริหารงานในห้องสมุดประชาชน สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (A.L.A.) ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับบุคลากรว่า ควรมีบุคลากร 1 คน (ทำงานเต็มเวลา) รับหน้าที่ บริการประชาชนจำนวน 2,500 คน เป็นอย่างยิ่ง และในแต่ละห้องสมุดควรกำหนดให้มี บุคลากรที่มีความรู้ทางวิชาชีพ (Professional staff) จำนวน 1 ใน 3 ของบุคลากรทั้งหมด และมีบุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ (Non-professional staff) จำนวน 2 ใน 3 ของบุคลากรทั้งหมด แต่ละห้องสมุดควรกำหนดกตำแหน่งบรรณารักษ์ เพื่อรับผิดชอบสายงาน ต่าง ๆ สายละ 1 ตำแหน่ง (American Library Association 1956:43) คือ
ห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย ไม่สามารถจัดอัตรากำลังตามมาตรฐานที่สมาคมห้องสมุดอเมริกันกำหนด และมาตรฐานห้องสมุดประชาชนได้ระบุถึงอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ ที่มีอยู่ในห้องสมุดประชาชน 3 ประเภท คือ ห้องสมุดประชาชนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ ขนาดเล็ก มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ 5, 4 และ 3 คนตามลำดับ (กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2521: 45) เจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชน จึงประกอบไปด้วย
บรรณารักษ์
บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดทำหน้าที่หัวหน้า มีหน้าที่และรับผิดชอบ ดังนี้
ข. งานวิชาการ
1. จัดหมู่หนังสือและทำบัตรรายการ
2. เป็นพี่เลี้ยงห้องสมุดอื่นตามสมควร
3. เป็นวิทยากรในการฝึกอบรมทางบรรณารักษศาสตร์
ความรู้ความสามารถ
1. สำเร็จปริญญาตรี วิชาเอกหรือโทบรรณารักษศาสตร์
2. ประสบการณ์งานห้องสมุดอย่างน้อย 3 ปี
3. พิมพ์ดีดภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
4. มีความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณ
ผู้ช่วยบรรณารักษ์
มีหน้าที่ดังนี้
ความรู้ความสามารถ
1. จบ ปม. หรือ ป.กศ.สูง วิชาเอกบรรณารักษศาสตร์
2. จบวิชาชุดบรรณารักษ์ หรือวุฒิจากการอบรมทางบรรณารักษศาสตร์
เจ้าหน้าที่ธุรการ
มีหน้าที่ดังนี้
ความรู้ความสามารถ
- จบ ป .ว.ช. พาณิชยการ หรือเลขานุการ
นักการภารโรง
มีหน้าที่ดังนี้
คุณสมบัติ
มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมในการปฎิบัติงานในหน้าที่
หน้าสารบัญ
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com