1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library

2 (2 - 0)

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

มาตรฐานห้องสมุดประชาชน
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ประกาศ
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดประชาชน พ.ศ.2533

โดยที่ห้องสมุดประชาชนเป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าตลอดชีวิตที่ประชาชนทุกคน สามารถเข้าไปหา ความรู้ และใช้บริการได้ตามความสนใจ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น สมาคมห้องสมุด แห่งประเทศไทยฯ ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำมาตรฐานห้องสมุดประชาชนขึ้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการดำเนินงาน อันจะเป็นการยกระดับห้องสมุดประชาชน ให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ทั้งด้านคุณภาพและ ปริมาณมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเป็นเพียงมาตรฐานขั้นต่ำเท่านั้น

หมวด ก. มาตรฐานทั่วไป

ตอนที่ 1 หน้าที่และความรับผิดชอบ

ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่จัดให้บริการแก่ประชาชนทุกเทศ ทุกวัย ทุกอาชีพ และทุกระดับการศึกษา จัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐให้เป็นส่วนหนึ่งของบริการทางการศึกษา ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการ ทั้งนี้มิได้จำกัดสิทธิของภาคเอกชน หรือองค์การต่าง ๆ ที่มีศรัทธาจัดขึ้น เพื่อบริการสังคม ห้องสมุดประชาชนมีหน้าที่เก็บรวบรวมวัสดุสารนิเทศต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ วารสาร เอกสาร สิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ ฐานข้อมูล ตลอดจนสารนิเทศในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชน ทั่วไปที่อาศัยอยู่ใกล้ห้องสมุดในเขตจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่นที่ห้องสมุดประชาชนนั้น ๆ ตั้งอยู่ ห้องสมุดประชาชนจึงเป็นแหล่งความรู้และข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และ ความเคลื่อนไหวของสังคม ที่ทุกคนมีสิทธิเข้าศึกษาค้นคว้าไว้ตลอดเวลา ตลอดจน ส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมของชุมชนและประเทศ นอกจากนี้ยังมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยจึงจำเป็นที่ห้องสมุดประชาชนจักต้องได้รับการสนับสนุน ทุกด้านจาก รัฐบาลหรือองค์การ เพื่อให้ดำเนินงานและจัดบริการได้โดยมีประสิทธิภาพ

ตอนที่ 2 โครงสร้างการบริหาร

ห้องสมุดประชาชนมีโครงสร้างการบริหารแตกต่างกันไปตามองค์กรที่สังกัด ดังนี้

    2.1 ห้องสมุดประชาชนของรัฐ
      2.1.1 ห้องสมุดประชาชนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหน่วยงานที่มีสถานภาพ ไม่ต่ำกว่ากอง หรือหน่วยงานที่เทียบเท่าในส่วนกลางดูและรับผิดชอบด้านนโยบาย แผนงานการจัดสรรงบประมาณ และอัตรากำลังของห้องสมุด สถานภาพของห้องสมุด ประชาชนในสังกัด มีดังนี้
        1) ห้องสมุดประชาชนระดับภาคและจังหวัด มีสถานภาพไม่ต่ำกว่าฝ่ายหรือหน่วยงานที่เทียบเท่า
        2) ห้องสมุดประชาชนระดับอำเภอ ตำบล มีสถานภาพไม่ต่ำกว่าแผนกหรือหน่วยงานที่เทียบเท่า

      2.1.2 ห้องสมุดประชาชนสังกัดองค์การบริหาราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
        1) ห้องสมุดประชาชนกรุงเทพมหานคร มีหน่ยงานที่มีสถานภาพไม่ต่ำกว่ากองหรือหน่วยงานที่เทียบเท่า ดูแลรับผิดชอบด้านนโยบาย แผนงาน การจัดสรรงบประมาณ และอัตรากำลังของห้องสมุด ห้องสมุดประชาชน ในสังกัดมีสถานภาพ ไม่ต่ำกว่าฝ่ายหรือหน่วยงานที่เทียบเท่า
        2) ห้องสมุดประชาชนเมืองพัทยา รับผิดชอบในการดำเนินงานห้องสมุดโดยตรง ห้องสมุดมีสถานภาพ ไม่ต่ำกว่าฝ่ายหรือหน่วยงานเทียบเท่า
        3) ห้องสมุดประชาชนอำเภอ รับผิดชอบในการดำเนินงานห้องสมุดโดยตรง ห้องสมุดมีสถานภาพ ไม่ต่ำกว่าฝ่ายหรือหน่วยงานที่เทียบเท่า
        4) ห้องสมุดประชาชนสุขาภิบาล รับผิดชอบในการดำเนิงานห้องสมุดโดยตรง ห้องสมุดมีสถานภาพ ไม่ต่ำกว่าแผนกหรือหน่วยงานที่เทียบเท่า

    2.2 ห้องสมุดประชาชนของเอกชน องค์กรเอกชน สมาคม บริษัท ธนาคาร หรือองค์กรอื่น ๆ ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอาจจัดให้มีบริการแก่ประชาชนทั่วไปได้ ห้องสมุดประชาชนของเอกชน ควรมีสถานภาพตามความเหมาะสม โดยเปรียบเทียบกับห้องสมุดประชาชนของรัฐ

โครงสร้างลักษณะและงานกิจกรรมพื้นฐานของห้องสมุดประชาชนซึ่งประกอบด้วยงานบริหารงานเทคนิค งานบริการและกิจกรรมให้บรรณารักษ์รับผิดชอบดำเนินการ โดยมีคณะกรรมการห้องสมุดทำหน้าที่ให้คำปรึกษา สนับสนุน ส่งเสริมและช่วยเหลือการดำเนินงานของห้องสมุดประชาชน คณะกรรมการห้องสมุดประกอบด้วย กรรมการ โดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และหัวหน้าห้องสมุดเป็นกรรมการและเลขานุการ

ตอนที่ 3 บริการและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

ห้องสมุดประชาชนควรให้บริการแก่ประชาชนในชุมชนที่รับผิดชอบอย่างกว้างขวางโดยเท่าเทียมกัน

    3.1 ห้องสมุดประชาชนควรกำหนดวัน-เวลาเปิดทำการที่แน่นอน โดยมีวันทำการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน และมีเวลาปฏิบัติการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง ทั้งนี้ ควรเปิดทำการในวันเสาร์และวันอาทิตย์ด้วย
    3.2 ห้องสมุดประชาชนควรจัดบริการและกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่ม ผู้ใช้ห้องสมุดและชุมชน โดยคำนึงถึงผู้มาใช้และผู้ไม่มาใช้ห้องสมุด ได้แก่ กลุ่มผู้ใหญ่ เด็ก และวัยรุ่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย คนพิการ ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบการต่าง ๆ ตลอดจนผู้อยู่ในสถานสงเคราะห์และพักฟื้น
    3.3 ห้องสมุดประชาชนควรจัดบริการและกิจกรรม ดังนี้
      3.3.1 บริการยืม-คืน
      3.3.2 บริการแนะนำการใช้วัสดุสารนิเทศ
      3.3.3 บริการตอบคำถาม ช่วยการค้นคว้า และบริการสารนิเทศ
      3.3.4 บริการแนะแนวการอ่าน
      3.3.5 บริการชุมชน ได้แก่ การจัดห้องสมุดสาขา ห้องสมุดเคลื่อนที่ ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน บริการสารนิเทศทางไปรษณีย์และโทรศัพท์
      3.3.6 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น การจัดนิทรรศการ การเล่าเรื่องหนังสือ การฉายภาพยนตร์ วีดิทัศน์ และกิจกรรมอื่น ๆ

    3.4 ห้องสมุดประชาชน ควรดำเนินการให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุดทุกประเภท ในการแลกเปลี่ยนวัสดุสารนิเทศ แลกเปลี่ยนความรู้ และการปรับปรุงพัฒนาห้องสมุด

ตอนที่ 4 วัสดุสารนิเทศ

ห้องสมุดประชาชนควรมีวัสดุสารนิเทศทุกประการ ได้แก่ วัสดุตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร เอกสาร และวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่นรูปภาพ แถบบันทึกเสียบ วีดีทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ ตลอดจนวัสดุ สารนิเทศในรูปแบบอื่น ๆ รวมทั้งวัสดุสารนิเทศที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของท้องถิ่น

ตอนที่ 5 บุคลากร

ห้องสมุดประชาชนควรมีบุคลากรเพียงพอที่จะให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประกอบด้วยหัวหน้า ห้องสมุด บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา ช่างศิลป์ เจ้าหน้าที่พิมพ์ดีด นักการภารโรง และ เจ้าหน้าที่อื่น ๆ

    5.1 หัวหน้าห้องสมุดระดับกองหรือฝ่ายขึ้นไป มีวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
      5.1.1 ปริญญาโทสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ หรือสารนิเทศศาสตร์ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ห้องสมุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
      5.1.2 ปริญาตรีสาขาบรรณารักษศาสตร์ หรือสารนิเทศศาสตร์ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ห้องสมุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี
      5.1.3 ปริญญาตรีสาขาวิชาอื่น และได้รับการอบรมทางบรรณารักษศาสตร์ หรือสารนิเทศศาสตร์ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานห้องสมุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 ปี

    5.2 หัวหน้าห้องสมุดระดับแผนก ควรมีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์หรือ สารนิเทศศาสตร์ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานห้องสมุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
    5.3 หัวหน้าบรรณารักษ์ มีวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
      5.3.1 ปริญญาโทสาขาบรรณารักษศาสตร์ หรือสารนิเทศศาสตร์
      5.3.2 ปริญญาตรีสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์หรือสารนิเทศศาสตร์ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ห้องสมุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

    5.4 การคัดเลือก บรรจุ แต่งตั้งบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักวิชาการ โสตทัศนศึกษา ช่างศิลป์ เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่พิมพ์ดีด นักการภารโรง และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง และความต้องการของหน่วยงานเจ้าสังกัด
    5.5บุคลากรห้องสมุดควรได้รับการส่งเสริมให้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาชีพ โดยให้เข้าร่วม ประชุมสัมมนาทางวิชาการ ฝึกอบรม ดูงาน ศึกษาต่อ และแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคลากรหรือห้องสมุดอื่น

    ตอนที่ 6 การดำเนินงานด้านเทคนิค

    ห้องสมุดประชาชน ควรใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถดำเนินงานด้านเทคนิคของห้องสมุด ให้ถูกต้องตามหลักวิชา และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ดังนี้

      6.1 กำหนดนโยบายในการจัดหา และคัดเลือกวัสดุสารนิเทศ โดยคำนึงถึงความสนใจ ความต้องการของประชานและสังคม ให้สอดคล้องกับแนวทางในการพัฒนาประเทศ
      6.2 จัดหาวัสดุสารนิเทศที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและความจำเป็น
      6.3 จัดหมวดหมู่วัสดุสารนิเทศและทำบัตรรายการตามระบบสากล มีการทำบรรณานุกรมและดรรชนี เพื่อความสะดวกในการให้บริการ
      6.4 จัดหาอุปกรณ์สำหรับดำเนินงานด้านเทคนิคอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
      6.5 จัดเก็บวัสดุสารนิเทศไว้ในสถานที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย ดูแล สำรวจ และบำรุงรักษา วัสดุสารนิเทศให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดเวลา

    ห้องสมุดประชาชน ควรมีอาคารสถานที่ตั้ง และครุภัณฑ์ห้องสมุด ดังนี้

      7.1 อาคารสถานที่
        7.1.1 สถานที่ตั้ง ต้องอยู่ใกล้แหล่งชุมชน และการคมนาคมสะดวก
        7.1.2 อาคารห้องสมุดและที่ตั้ง หัวหน้าห้องสมุดควรประสานงานกับสถาปนิกในการออกแบบอย่าง เหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย บริการและกิจกรรมของ ห้องสมุด และ ให้สามารถ รองรับการเจริญเติบโตของห้องสมุดได้ภายในระยะเวลา 20 ปี
        7.1.3 ห้องสมุด ควรมีแสงสว่างอย่างเพียงพอ มีการระบายอากาศ มีระบบควบคุมความชื้น และระบบป้องกันสาธารณภัยอย่างเหมาะสมและได้มาตรฐาน

      7.2 ครุภัณฑ์ห้องสมุดควรเป็นครุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน คงทน สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและรักษาความสะอาด มีขนาดและสัดส่วนเหมาะสมกับผู้ใช้และบุคลากรของ ห้องสมุด

    ตอนที่ 8 งบประมาณ

    ห้องสมุดประชาชนได้รับงบประมาณอย่างเพียงพอ โดยมีแหล่งที่มา ดังนี้

      8.1 เงินงบประมาณ
      8.2 เงินบริจาค
      8.3 เงินบำรุงห้องสมุดจากสมาชิก
      8.4 เงนิรายได้อื่น ๆ

    หมวด ข. มาตรฐานเชิงปริมาณ

    ตอนที่ 9 จำนวนวัสดุสารนิเทศ

    ห้องสมุดประชาชนควรมีวัสดุสารนิเทศเป็นสัดส่วนกับจำนวนประชากร ดังนี้

      9.1 วัสดุตีพิมพ์
        9.1.1 หนังสือ
        1) ห้องสมุดประชาชนขนาดใหญ่ สำหรับชุมชนที่มีประชากร 20,000 คน ขึ้นไป ให้มีหนังสือจำนวน 4 เล่มต่อคน และให้เพิ่มขึ้น 800 เล่มต่อปี
        2) ห้องสมุดประชาชนขนาดกลาง สำหรับชุมชนที่มีประชากร 10,000 คน ขึ้นไป ให้มีหนังสือจำนวน 6 เล่มต่อคน และให้เพิ่มขึ้น 500 เล่มต่อปี
        3) ห้องสมุดประชาชนขนาดเล็ก สำหรับชุมชนที่มีประชากร 5,000 คน ขึ้นไป ให้มีหนังสือจำนวน 8 เล่มต่อคน และให้เพิ่มขึ้น 300 เล่มต่อปี

        ทั้งนี้ให้เป็นหนังสือวิชาการและสารคดีร้อยละ 50 หนังสือสำหรับเด็กร้อยละ 30 หนังสืออ้างอิงร้อยละ 10 และหนังสือบันเทิงคดีร้อยละ 10

        9.1.2 วารสาร
          1) ห้องสมุดประชาชนขนาดใหญ่ ให้มีวารสาร 100 ชื่อ โดยเป็นวารสาร ภาษาต่างประเทศ 10 ชื่อ
          2) ห้องสมุดประชาชนขนาดกลาง ให้มีวารสาร 80 ชื่อ โดยเป็นวารสาร ภาษาต่างประเทศ 5 ชื่อ
          3) ห้องสมุดประชาชนขนาดเล็ก ให้มีวารสาร 50 ชื่อ โดยเป็นวารสาร ภาษาต่างประเทศ 3 ชื่อ
        9.1.3 หนังสือพิมพ์
          1) ห้องสมุดประชาชนขนาดใหญ่ ให้มีหนังสือพิมพ์ 10 ชื่อ โดยเป็นหนังสือพิมพ์ภาษา ต่างประเทศ 2 ชื่อ
          2) ห้องสมุดประชาชนขนาดกลาง ให้มีหนังสือพิมพ์ 8 ชื่อ โดยเป็น หนังสือพิมพ์ภาษา ต่างประเทศ 1 ชื่อ
          3) ห้องสมุดประชาชนขนาดเล็ก ให้มีหนังสือพิมพ์ 5 ชื่อ โดยเป็นหนังสือพิมพ์ภาษา ต่างประเทศ 1 ชื่อ
          ทั้งนี้ ควรจัดหาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไว้ให้บริการด้วย

    ตอนที่ 10 จำนวนบุคลากร

    ห้องสมุดประชาชน ควรมีจำนวนบุคลากรปฏิบัติงาน 1 คนต่อประชากร 2,000 คน โดยให้มีตำแหน่งดังต่อไปนี้

      หัวหน้าบรรณารักษ์
      บรรณารักษ์
      นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
      เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา
      เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
      ช่างศิลป์
      เจ้าหน้าที่ธุรการ
      เจ้าหน้าที่พิมพ์ดีด
      นักการภารโรง

    จำนวนเจ้าหน้าที่ขึ้นอยู่กับขนาดของห้องสมุด

    ตอนที่ 11 อาคารห้องสมุดและครุภัณฑ์

    ห้องสมุดประชาชน ควรมีอาคารสถานที่และครุภัณฑ์สำหรับเก็บวัสดุสารนิเทศ จัดกิจกรรม และบริการที่นั่งสำหรับผู้อ่าน ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนห้องที่เก็บของ ห้องน้ำ และ อื่นๆ อย่างเพียงพอ

      11.1 ขนาดของห้องสมุด
        11.1.1 ห้องสมุดประชาชนขนาดใหญ่สำหรับชุมชนที่มีประชากรตั้งแต่ 20,000 คน ขึ้นไป ให้มีเนื้อที่ใช้สอยภายในอาคาร 900 ตารางเมตร และมีที่นั่งอ่าน 250 ที่นั่ง
        11.1.2 ห้องสมุดประชาชนขนาดกลางสำหรับชุมชนที่มีประชากรตั้งแต่ 10,000 คน ขึ้นไป ให้มีเนื้อที่ใช้สอยภายในอาคาร 700 ตารางเมตร และมีที่นั่งอ่าน 200 ที่นั่ง
        11.1.3 ห้องสมุดประชาชนขนาดเล็กสำหรับชุมชนที่มีประชากรตั้งแต่ 5,000 คน ขึ้นไป ให้มีเนื้อที่ใช้สอยภายในอาคาร 500 ตารางเมตร และมีที่นั่งอ่าน 150 ที่นั่ง

      11.2 ครุภัณฑ์ห้องสมุด ห้องสมุดประชาชน ควรมีครุภัณฑ์ห้องสมุดอย่างเพียงพอ โดยคำนึงถึงเนื้อที่ของห้องสมุดที่จะรองรับ ครุภัณฑ์ดังกล่าวด้วย

    1. ชั้น

      1.1 ชั้นวางวารสารและนิตยสาร
      1.2 ที่วางหนังสือพิมพ์วางได้ประมาณ 10-12 ฉบับพร้อมแคร่หนีบ
      1.3 ชั้นวางวารสารฉบับเย็บเล่ม
      1.4 ชั้นวางหนังสือสำหรับเด็ก
      1.5 ชั้นวางหนังสือ 2 หน้า
      1.6 ชั้นวางหนังสือขนาดเตี้ย
      1.7 ชั้นเก็บโสตทัศนวัสดุ
      1.8 แท่นวางพจนานุกรม

    2. ตู้

      2.1 ตู้เก็บเอกสารชนิด 2 บาน
      2.2 ตู้เก็บเอกสารชนิด 4 ลิ้นชัก
      2.3 ตู้จุลสารและกฤตภาค
      2.4 ตู้บัตรรายการชนิด 60 ลิ้นชัก
      2.5 ตู้เก็บแผนที่ แผนภูมิ และรูปภาพ
      2.6 ตู้เก็บเครื่องโสตทัศนูปกรณ์
      2.7 ตู้นิทรรศการ

    3. โต๊ะ เก้าอี้

      3.1 โต๊ะอ่านหนังสือพร้อมเก้าอี้
      3.2 โต๊ะอ่านเฉพาะบุคคลพร้อม เก้าอี้
      3.3 โต๊ะอ่านหนังสือสำหรับเด็กพร้อมเก้าอึ้
      3.4 เคาน์เตอร์โต๊ะยืม-คืนหนังสือ
      3.5 ที่รับฝากสิ่งของ
      3.6 ชุดรับแขก
      3.7 โต๊ะซ่อมหนังสือ

    4. โสตทัศนูปกรณ์

      4.1 เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
      4.2 เครื่องฉายสไลด์
      4.3 จอสำหรับฉาย
      4.4 เครื่องรับโทรทัศน์
      4.5 เครื่องเล่นวีดิทัศน์
      4.6 เครื่องรับวิทยุและบันทึกเสียง
      4.7 หูฟังชนิดครอบศีรษะ
      4.8 เครื่องขยายเสียงพร้อมลำโพง เครื่อง 5. 5. ครุภัณฑ์สำนักงาน
      5.1 เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมโต๊ะเก้าอี้
      5.2 เครื่องอัดสำเนา
      5.3 เครื่องถ่ายเอกสาร
      5.4 เครื่องปรับอากาศสำหรับห้องโสตทัศนศึกษา
      5.5 พัดลม
      5.6 เครื่องทำน้ำเย็น

    6. อุปกรณ์ซ่อมและเย็บเล่ม

      6.1 เครื่องอัดหนังสือ
      6.2 เครื่องตัดกระดาษ
      6.3 สว่านไฟฟ้า

    7. ครุภัณฑ์อื่นๆ

      7.1 ป้ายนิเทศ
      7.2 รถเข็นหนังสือ
      7.3 ที่ปีนหยิบหนังสือ
      7.4 ชั้นวางสิ่งของก่อนเข้าห้องสมุด

    ตอนที่ 12 งบประมาณ

    ห้องสมุดประชาชนควรได้รับงบประมาณประจำปีอย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานหน้าที่ และความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

      12.1 ห้องสมุดประชาชนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมดรวมกันแล้ว ควรได้รับงบประมาณดำเนินการ ประจำปีร้อยละ 25 ของงบประมาดำเนินการทั้งหมดของหน่วยงานเจ้าสังกัดระดับกรม
      12.2 ห้องสมุดประชาชนสังกัดองค์กรบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ควรได้รับงบประมาณดำเนินการ ประจำปีร้อยละ 10 ของงบประมาณดำเนินการของหน่วยงานเจ้าสังกัดระดับกอง
      12.3 ห้องสมุดประชาชนของเอกชน ควรได้รับงบประมาณดำเนินการประจำปีอย่างเพียงพอ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ของงบประมาณที่ห้องสมุดเคยได้รับแต่ละปี
ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2533

(ลงนาม) กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ
(คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ)
นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

หน้าสารบัญ
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com