1633201 การจัดหมู่ 2
Classification 2

2 (2-1)


โครงสร้างของระบบ LC

การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เป็นระบบที่ใช้ตัวอักษร และตัวเลข เป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชาการต่างๆ แผนการจัดหมู่มีโครงสร้างของระบบ ดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างของแผนการจัดหมู่ทั้งระบบ (Structure)
2. โครงสร้างของแผนการจัดหมู่แต่ละหมวด (Schedule format) แบ่งออกเป็น
1.โครงสร้างของแผนการจัดหมู่ทั้งระบบ
การจัดหมู่ในระบบ LC ได้แบ่งสาขาวิชาการต่างๆ ดังต่อไปนี้
การแบ่งครั้งที่ 1 (First summary)
ระบบ LC แบ่งหมวดหมู่วิชการออกเป็น 20 หมวดใหญ่ (Classes) โดยกำหนดสัญลักษณ์จากอักษณโรมันตัวเดียว A-Z รวม 21 ตัว ยกเว้น I,O,W,X และ Y

    ความรู้ทั่วไป
    A ความรู้ทั่วไป (General works)
    มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion)
    C ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ (Auxilliary Sciences of history)
    D ประวัติศาสตร์ : เรื่องทั่วไปและประวัติศาสตร์โลกเก่า (History: general and old world)
    E-F ประวัติศาสตร์: อเมริกา (History: America)
    G ภูมิศาสตร์ โบราณคดี นันทนาการ (Geography, Anthropology, Recreation)
    H สังคมศาสตร์ (Social sciences)
    J รัฐศาสตร์ (Political science)
    K กฎหมาย (Law)
    L การศึกษา (Education)
    M ดนตรี (Music)
    N ศิลปกรรม (Fine arts)
    P ภาษาและวรรณคดี(Languages and literatures)
    วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    Q วิทยาศาสตร์(Science)
    R แพทยศาสตร์(Medicine)
    S เกตรศาสตร์ (Agriculture)
    T เทคโนโลยี (Technology)
    U ยุทธศาสตร์ (Military science)
    V นาวิกศาสตร์(Naval science)
    บรรณารักษศาสตร์
    Z บรรณานุกรมและบรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library science)

การแบ่งครั้งที่ 2
ในแต่ละหมวดจะมีการแบ่งเนื้อหาวิชาออกไปอีกเป็นการแบ่งครั้งที่ 2 โดยใช้ตัวอักษร โรมัน 2-3 ตัว เป็นสัญลักษณ์ ในแต่ละหมวดจะแบ่งตามความเหมาะสมของ เนื้อหาวิชา จึงทำให้จำนวนหมู่ในแต่ละหมวดไม่เท่ากัน ดังตัวอย่างการแบ่งครั้งที่ 2 ดังต่อไปนี้
    A ความรู้ทั่วไป (General works)
    AC รวมเรื่อง หนังสือชุด รวมงาน(Collections. Series. Collected works)
    AE สารานุกรม (Encyclopedias)
    AG พจนานุกรม และ หนังสืออ้างอิงทั่วไป(Dictionaries and other general reference books)
    AI ดรรชนี (Indexes)
    AM พิพิธ๓ณฑสถาน นักสะสมและการสะสม (Museums. Collectors and collecting)
    AN หนังสือพิมพ์(Newspapers)
    AP วารสาร(Periodicals)
    AS สมาคมทางวิชการและการศึกษา (Academics and learned societies)
    AY หนังสือรายปี สมพัตสร นามานุกรม (Yearbooks. Almanacs. Directories)
    AZ ประวัติทุนการศึกษา และ การเรียนรู้ (History of scholarship and learning)

การแบ่งครั้งที่ 3
ระบบ LC นอกจากจะมีการแบ่งครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 แล้ว ยังมีโครงสร้างที่เพิ่มเติม รายละเอียดของเนื้อหาวิชาลงไปได้อีกด้วยการแบ่งครั้งที่ 3 โดยแบ่งออกเป็นหมู่ย่อย เพิ่มเลขอารบิกจาก 1 - 9999 และทศนิยมไม่จำกัดตำแหน่ง ดังตัวอย่าง

    H สังคมศาสตร์
      HE การขนส่งและการสื่อสาร (Transportation and communication)
        HE 553 ท่าเรือในอเมริกาเหนือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา (Ports. Harbors. North America. United States. Canada)

2. โครงสร้างของแผนการการจัดหมู่แต่ละหมวด
2.1 โครงสร้างภายนอก ได้แก่โครงสร้างในการจัดรูปเล่มของการจัดหมู่หนังสือทั้ง 20 หมวด บางหมวดมี 1 เล่ม บางหมวดมีหลายเล่มจบ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาวิชาในหมวดนั้นๆ ส่วนต่างๆของโครงสร้างภายนอกได้แก่

    2.1.1 คำนำ (Preface or Prefatory note)
    2.1.2 ส่วนแสดงการแบ่งย่อยครั้งที่ 2 ออกเป็นหมู่ (Synopsis)
    2.1.3 ส่วนแสดงโครงร่างของเลขหมู่ (Outline)
    2.1.4 แผนการจัดหมู่ (Schedule)
    2.1.5 ตารางช่วย (Auxilliary tables)
    2.1.6 ดรรชนี (Indexes)
    2.1.7 ส่วนเพิ่มเติมและแก้ไขเปลี่ยนแปลง(Additions and changes)

2.2 โครงสร้างภายใน
ในการจัดทำคู่มือการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบ LC บรรณารักษ์ได้กำหนดการแบ่งโครงสร้างภายในของหมวดหมู่ แต่ละหมวดไว้เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน โดยกำหนดการแบ่งโครงสร้างภายใน ออกเป็น 7 ประการ คือ

    2.2.1 ลักษณะของงาน ได้แก่การกำหนดการแบ่งตามวิธีเขียน
    2.2.2 ทฤษฎี ปรัชญา
    2.2.3 ประวัติ ชีวประวัติ
    2.2.4 ตำรา งานทั่วไป
    2.2.5 กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ความเกี่ยวข้องกับรัฐ
    2.2.6 การศึกษาและการสอน
    2.2.7 เรื่องเฉพาะด้านในสาขาวิชานั้น

หน้าสารบัญ