สารสนเทศกับการสืบค้นในระบบอินเทอร์เน็ต
Information and searching in the INTERNET
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
chumpot@hotmail.com
การค้นข้อมูลในระบบ INTERNET
พัฒนาการของการค้นข้อมูล เริ่มต้นจากพัฒนาการการให้ข้อมูลในลักษณะอักษรคูนิฟอร์ม อักษรเฮียโร กลิฟฟิก มาจนกระทั่งเป็นตัวอักษรในปัจจุบัน ที่บันทึกลงในแผ่นดินเหนียว กระดาษปาไปรัส และกระดาษใน ปัจจุบัน ให้บริการผ่านแหล่งให้ข้อมูล คือ ห้องสมุดประเภทต่างๆ สังคมโลกาภิวัตน์ปัจจุบันทำให้ห้องสมุด ทุกแห่งกลายเป็นห้องสมุดโลกที่ไร้พรมแดน
ข้อมูลในปัจจุบันได้จากการจัดทำด้วยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ให้บริการผ่านจอคอมพิวเตอร์ จากเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ จุดใดๆก็ได้จาการใช้โปรแกรมอ่านเอกสารในระบบอินเทอร์เน็ต (Browsers) โดยมีขั้นตอนการค้นข้อมูล ดังต่อไปนี้
ในระบบเครือข่าย Internet เราจะสามารถติดต่อกับคน องค์การ สมาคม บริษัท หรือ หน่วยงานต่างๆได้ ทั่วโลกโดยไม่มีขอบเขตจำกัด สามารถเข้าถึงตัวสารสนเทศได้อย่างมหาศาล ข้อมูลที่ได้รับอาจตรงตามความต้องการ แต่ข้อมูลบางส่วนอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ต้องการและเกินความจำเป็น ผู้ใช้ข้อมูลจึงต้องเรียนรู้วิธีการได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ
ผู้ค้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องทราบที่อยู่ของผู้ให้บริการข้อมูล นั่นคือทราบ url หรือ address ของผู้ให้บริการข้อมูล โดยการพิมพ์คำว่า www ตามด้วยชื่อของผู้ให้บริการข้อมูลลงไปในกรอบเมนู address ของโปรแกรม Browser เช่นการค้นข้อมูลจาก สำนักวิทยบริการ ต้องทราบที่อยู่ url ว่า จะต้องพิมพ์ที่อยู่ คือ 202.28.123.89/scripts/AfWiIng.dll? จึงจะสามารถเข้าสู่การค้นทั้งในสำนักวิทยบริการ และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมข่าวสารของโลกได้
ที่อยู่ของ Website ที่ให้บริการค้นข้อมูล (Search engines) ที่สำคัญๆ ได้แก่
ตัวอย่าง Website ของ Yahoo
ตัวอย่าง Website ของ Lycos
ตัวอย่าง Website ของ Google
2. รู้จักวิธีการค้น
ตัวอย่าง การค้นจากWebsite ของ Yahoo
ตัวอย่าง การค้นจากWebsite ของ Google
3. รู้จักวิธีการอ่านผลการสืบค้น
เมื่อเริ่มต้นคำค้นจากการพิมพ์คำค้น หรือเลือกรายการหมวดหมู่เมนูการค้น ผู้ค้นข้อมูลจะต้องติดตามผลการค้น จนกว่าจะได้ข้อมูลฉบับเต็ม (Full text) ที่ต้องการ ดังเช่นผลการค้นข้อมูลเรื่อง English language and teaching จาก Website ของ Google จะได้คำตอบ จำนวนมาก และผู้ค้นจะต้องเลือกรายการต่อไปจนกว่าจะพอใจกับ คำตอบ ที่ได้รับ
ผู้ให้บริการค้นข้อมูลจะอำนวยความสะดวกทั้งจากการจัดทำหน้าจอเมนูสำหรับการค้น และการจัดลำดับ หัวข้อเรื่องสำหรับการค้นเหมือนกับเรากำลังค้นข้อมูลจากตู้บัตรรายการประเภทบัตรเรื่องในห้องสมุด ดังที่ Google ได้จัดทำให้บริการ
ตัวอย่างคำตอบที่ได้รับจากการเลือกรายการที่ต้องการ ในกรณีนี้จะเข้าสู่ Webpage ของ BBC
ผู้ค้นข้อมูลสามารถเลือกรายการเมนูต่างๆต่อไปได้
4. รู้จักวิธีการจัดเก็บผลการสืบค้น
5. รู้วิธีการเผยแพร่การสืบค้น
เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศบน WWW
กลยุทธ์ในการวางแผนในการสืบค้นข้อมูลบน WWW (Web Search Strategy)
การสืบค้นข้อมูล WWW หากมีการวางแผน หรือวางกลยุทธ์ในการสืบค้นเสียก่อนจะช่วยให้ผลการสืบค้นถูกต้องตามที่ต้องการและใช้เวลา อันสั้น การสืบค้นแบบ Key Word Searching ควรมีกลยุทธ์ซึ่งอาจแบ่งขั้นตอนในการเตรียมตัวได้ 6 ขั้นตอน คือ