1500101 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น
Thai for Communication and Information Retrieval
3 (3-0)
chumpot@hotmail.com
การเรียนการสอนในสังคมสารนิเทศปัจจุบัน มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน นับตั้งแต่ผู้วางนโยบายการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น บรรณารักษ์จำเป็นต้องรู้จักปรับกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยีสารนิเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ระบบ Internet เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของ การเรียนรู้ของโลก
ในช่วงเริ่มต้นเข้าสู่คริสตวรรษที่ 21 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลในหลายๆเรื่อง เช่น เปิดการค้าเสรี การปรับปรุงมาตรฐานใน หน่วยงานต่างๆให้ได้มาตรฐานสากลในด้านการประกันคุณภาพของสถานศึกษาต่างๆ ตลอดจนสนับสนุนการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นสากล เช่น พระราชบัญญัติการศึกษา พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น ความจำเป็นที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเตรียมตัว ในการปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา ตลอดจน ประชาชนทั่วไป จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพิจารณาหาวิธีการที่เหมาะสม และ เร่งด่วน ต่อการดำเนินการในยุคปัจจุบัน
ห้องสมุดทุกประเภทกำลังทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลที่กว้างขวางและหลากหลายกว่าเดิม เช่น ห้องสมุดโรงเรียนต้องทำหน้าที่ให้สอดคล้อง กับหลักการของการจัดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521(ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ.2533) และ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ทีกำหนดหลักการพอสรุปได้ดังนี้ คือ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดแนวทางจัดการศึกษา ในหมวด 4 ระบุไว้ในมาตรา 19 - 26 สรุปได้เนื้อหาโดยย่อว่า การจัดการศึกษาและฝึกอบรมต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ กระบวนการเรียนรู้ และ บูรณาการ ในเรื่องต่างๆ มีการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยให้ดำเนินการจัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน เน้นการฝึกทักษะ กระบวนการคิด ให้เรียนรู้จากประสบการณ์ได้จริง รวบรวมความรู้จากผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้านและเครือข่ายข้อมูลข่าวสาร ในหมวด 9 เน้นเรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในทุกระบบ
ห้องสมุดโรงเรียนจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของโรงเรียนที่จะช่วยพัฒนาเยาวชนของชาติในทุกด้าน ช่วยวางรากฐานให้นักเรียนเป็นผู้รักการเรียนรู้ และ สนใจเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันว่า ห้องสมุดโรงเรียนเป็นศูนย์การเรียน(Learning Resources Center) ที่สำคัญ การที่จะพัฒนา ห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สำคัญให้สอดคล้องกับสภาพสังคมข่าวสารในปัจจุบัน ผู้บริหารตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องต้องสนับสนุน บรรณารักษ์ในการจัดหาทรัพยากร สารนิเทศที่จำเป็นในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน เพื่อเปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดให้พร้อมกับ การเป็นทางด่วนข้อมูล(Information Superhighway) สายแรกๆ ในสังคมสารนิเทศปัจจุบัน
การให้บริการทางวิชาการในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการให้บริการอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความเจริญก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีสารนิเทศมีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารนิเทศอื่น ๆ มาใช้ในการดำเนินงาน ทำให้สามารถบริการข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บรรณารักษ์จะต้องทบทวนบทบาทของผู้ให้บริการข้อมูลโดยเน้นการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการนำมาให้บริการข้อมูล ในห้องสมุดว่าเคยได้ดำเนินการในลักษณะใดมาบ้าง และ เตรียมพร้อมในการปรับปรุงวิธีการเพิ่มเติมเพื่อให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่ระบบเครือข่ายภายใน และ เครือข่ายในระบบอินเทอร์เน็ต
จากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มาให้บริการสารนิเทศในห้องสมุดโรงเรียนที่ผ่านมา พอสรุปวิธีการดำเนินการได้ ดังนี้
1. การสืบค้นข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ห้องสมุดต่างๆ ได้ทดลองนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ CDS/ISIS ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยองค์การ UNESCO มาดำเนินงานจัดเก็บและให้ บริการข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีการจัดการอบรมอย่างแพร่หลาย โปรแกรม CDS/ISIS เป็นโปรแกรมที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องลิขสิทธิ์ และมีประสิทธิภาพในการดำเนินการสร้างฐานข้อมูลต่างๆ เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการสืบค้น และพัฒนามาจนกระทั่งสามารถสืบค้นใน ระบบอินเทอร์เน็ตได้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งพยายามลดค่าใช้จ่ายจากการใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ โดยหันมาใช้โปรแกรม Websis ในการสืบค้น ข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต
ข้อมูลที่ห้องสมุดต่างๆสามารถดำเนินงานให้บริการด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นพื้นฐานต่อการให้บริการ มี 4 ฐานข้อมูล คือ
ตัวอย่างการสืบค้นจากฐานข้อมูลหนังสือ
รูปแบบการแสดงผล
ในรูปแบบของแต่ละรายการของหนังสือ
ห้องสมุดโรงเรียนท่าม่วง
ห้องสมุดโรงเรียนท่าม่วง
ในรูปแบบบัตรรายการ
495.918 สนั่น ปัทมะทิน.
ส198ภ/////ภาษาไทยที่สื่อมวลชนอาจใช้พลาด /
///////สนั่น ปัทมะทิน. -- กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2535.
///////////332 หน้า : ตาราง.
///////////ISBN 974-276-852-8
00002//// *. ภาษาต่างประเทศ-ไวยากรณ์ *. ภาษาไทย--การใช้ภาษา
/////// *. ภาษาไทย
495.91 อุดม เชยกีวงศ์
อ785ภ////ภาษาไทย(วิชาเลือก)การอ่านและพิจารณา
//////หนังสือ / อุดม เชยกีวงศ์,วิมล จิโรจพันธุ์,กฤตย์ สกุณะพัฒน์. --
//////กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 2534.
//////////62 หน้า.
21213/////*. ภาษาไทย--การอ่าน *. การวิจารณ์หนังสือ
/////// *. หนังสือและการอ่าน
ในรูปแบบบรรณานุกรม
ตัวอย่างการสืบค้นจากฐานข้อมูลวารสารและหนังสือพิมพ์
ตัวอย่างการสืบค้นจากฐานข้อมูลชีวประวัติ
ตัวอย่างการสืบค้นจากฐานข้อมูลท้องถิ่น
มีเสียงเล่าลือกันว่าวัดพระเมรุมีขุมทรัพย์ถ้วยโถโอชามและของใช้มากมาย แต่เดิมสามารถนำออกไปใช้ได้ ประชาชนมีงานก็มีงานก็มาขอยืมไปใช้ และต่อมามิได้นำมาคืน เนื่องจากมีปู่โสมเฝ้าทรัพย์อยู่ ผู้เฝ้าทรัพย์โกรธจึงปิดปากถ้ำเสีย
2. การชมรายการจากจานรับสัญญาณดาวเทียม
จานรับสัญญาณดาวเทียมเป็นสื่อเทคโนโลยีสารนิเทศอีกประเภทหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อการให้บริการข้อมูล เป็นวัสดุสารนิเทศที่ติดตั้งแล้ว
ไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องการซ่อมบำรุง หรือดูแลรักษามากนักและที่มีส่วนดี คือ รับสารนิเทศได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ต่อความเปลี่ยนแปลง
ของข่าวสารในสังคมสารนิเทศปัจจุบัน ห้องสมุดโรงเรียนต่างๆสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้โดยตรง โดยเสียค่าบริการต่อเดือนไม่มากนัก
เมื่อห้องสมุดได้บอกรับการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมแล้ว ต้องวางแผนในการติดตั้งโทรทัศน์เพื่อให้บริการสารนิเทศจากจานรับสัญญาณดาวเทียม
และจัดทำผังการชมรายการให้ชัดเจน ห้องสมุดโรงเรียนอาจติดตั้งโทรทัศน์เพื่อรับรายการจากจานรับสัญญาณดาวเทียมไปตาม
หมวดวิชาต่างๆ และให้บริการที่ห้องสมุดเอง โดยจัดทำเป็นห้องโสตทัศนวัสดุให้บริการการชมรายการได้จำนวน 1 ห้อง เป็นต้น
การชมรายการจานรับสัญญาณดาวเทียมสามารถชมรายการได้จากดาวเทียม เช่น จากดาวเทียมเอเซียแซท แซทสตาร์ ปาลาปา
ไทยคม เป็นต้น มีรายการที่สามารถให้บริการชมมากกว่า 100 ช่อง จากสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ทั่วโลก
3. การบริการค้นสารนิเทศจากแผ่น CD-ROM
สื่อสารนิเทศที่กำลังมีบทบาทอย่างสูงต่อการสืบสารนิเทศต่างๆได้อย่างกว้างขวางและสะดวกรวดเร็วได้แก่แผ่น CD-ROM
ห้องสมุดโรงเรียนสามารถดำเนินการให้บริการการศึกษาค้นคว้าด้วยแผ่น CD-ROM โดยการจัดซื้อแผ่น CD-ROM สำเร็จรูป ปัจจุบันมีการแยกประเภท
แผ่น CD-ROM เป็น 4 ประเภท คือ
1. แผ่น CD-ROM ประเภทความรู้ทั่วไป เป็นแผ่น CD-ROM ที่จัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการ
สืบค้น เช่น แผ่น CD-ROM สารานุกรมต่างๆ แผ่น CD-ROM ตำราวิชาต่างๆ เป็นต้น
2. แผ่น CD-ROM ประเภทภาพยนตร์ เป็นแผ่น CD-ROM ภาพยนตร์ต่างๆ
3. แผ่น CD-ROM ประเภทเพลง เป็นแผ่น CD-ROM เพลงต่างๆ
4. แผ่น CD-ROM ปะเภทเกม เป็นแผ่น CD-ROM เกมต่างๆ
4. การให้บริการข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต
ผู้สอนในรายวิชาต่างๆ ตลอดจนบรรณารักษ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในห้องสมุดต่างๆในยุคปัจจุบัน คงจะหลีกเลี่ยงการใช้
เทคโนโลยีสารนิเทศเพื่อนำมาให้บริการข้อมูลต่อไปไม่ได้อีกแล้ว จึงจำเป็นต้องวางโครงการสอนเพื่อให้บริการข้อมูลใน
ระบบอินเทอร์เน็ตภายในห้องเรียนและห้องสมุด โดยใช้คอมพิวเตอร์จัดทำฐานข้อมูลเอง
หรือให้บริการค้นค้นสารนิเทศในระบบออนไลน์ จากแหล่งบริการค้นสารนิเทศในระบบออนไลน์ต่างๆ
วิธีการที่จะเตรียมพร้อมกับการเป็นผู้สอน หรือบรรณารักษ์ในยุคสังคมสารนิเทศ คือ ต้องทบทวนบทบาทของตนเอง ในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com