|
วิธีการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ
การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการอ่านที่มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของสารที่อ่านได้อย่างถูกต้อง ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการและสามารถสรุปความ หรือขยายความข้อความที่อ่านได้อย่างรวดเร็วอีกทั้งสามารถนําไป ใช้ประโยชน์ตามที่ตนตั้งจุดประสงค์ไว้ได้ การที่จะอ่านอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น ผู้อ่านควรมีวิธีการฝึกฝนการอ่าน ของตนเองดังนี้
1. กําหนดจุดมุ่งหมายในการอ่าน การอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพผู้อ่านต้องกําหนดจุดมุ่งหมายใน
การอ่านหนังสือให้แน่นอน เพื่อสามารถกําหนดจิตใจในการรับรู้ข้อความที่อ่านแต่ละครั้ง เช่น
ต้องการเพียงแค่รู้ เรื่องราว หรือต้องการถึงขั้นแสดงความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งที่ตนอ่านได้ หรือ
ต้องการถึงขนาดจดจําสาระสําคัญต่าง ๆ ได้ด้วย
2. การสํารวจข้อมูล ผู้อ่านควรศึกษาเกี่ยวกับผู้แต่ง เวลาที่แต่ง เวลาที่จัดพิมพ์ สถาบันที่จัดพิมพ์ เพื่อ
ศึกษาภูมิหลังของหนังสืออันจะช่วยเสริมให้ผู้อ่านมีความรู้ ความเข้าใจในความเป็นมาของหนังสือ
นั้นมากขึ้น
3. ศึกษาส่วนประกอบของหนังสืออย่างคร่าว ๆ ได้แก่ คํานําของหนังสือ หรือบทนํา เพราะจะทําให้
เรา ได้ทราบจุดมุ่งหมายโดยตรงของผู้เขียนหรือผู้จัดพิมพ์ทั้งยังอาจจะทําให้ทราบแนวโน้มของ
หนังสือเล่มนั้น ๆ อย่างแน่ชัด เช่น เพื่อเผยแพร่วิชาการ หรือเพื่อเสนอปัญหา หรือเพื่อแก้ปัญหา
เป็นต้น
4. อ่านอย่างมีสมาธิ การอ่านอย่างมีสมาธิ จะทําให้ผู้อ่านรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากําลังอ่านอะไร เพื่อ
อะไร มีข้อความและแนวความคิดเรียงมาเป็นลําดับอย่างไร จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถจําเนื้อหาที่
อ่านได้เป็นอย่างดี
5. ฝึกอ่านให้เป็นนิสัย โดยพยายามฝึกอ่านหนังสือสม่ำาเสมอ อ่านหนังสือทุกชนิดเท่าที่โอกาสจะ
อํานวย อ่านบ่อย ๆ จนเป็นกิจวัตรไม่จําเป็นต้องอ่านเมื่อมีเวลาว่างเท่านั้น
6. ตั้งคําถามทบทวนในขณะที่อ่านอยู่เสมอ ในขณะที่อ่านหนังสือควรตั้งคําถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านว่า
ใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วพยายามหาคําตอบในใจอยู่ตลอดเวลา จะทําให้เราเป็นผู้
อ่านอย่างมีจุดมุ่ง หมาย มิใช่อ่านอย่างเคว้งคว้าง
7. อ่านโดยฝึกสร้างภาพขึ้นในใจ จะทําให้การอ่านเข้าใจง่ายขึ้น และจดจําสิ่งที่อ่านได้เป็นอย่างดี
หนังสือบางชนิดนอกจากจะให้ความรู้แล้วยังสร้างมโนภาพให้แก่ผู้อ่านด้วย การสร้างภาพขึ้นในใจ
ตามที่ผู้เขียนวาด ไว้ จะทําให้ได้รสชาติและได้ความเพลิดเพลินมากขึ้น
8. อ่านโดยรู้จักเพิ่มเติมข้อความที่บกพร่อง ในขณะที่อ่านหนังสือนั้นผู้ที่คิดตามและตั้งคําถามเกี่ยวกับ
เรื่องที่อ่านอยู่เสมอ และพบว่าสิ่งที่อ่านยังไม่สมบูรณ์หรือเขียนไว้ไม่ชัดเจน และสามารถเติมข้อ
ความหนังสือนั้นได้ ย่อมจะทําให้ผู้อ่านนอกจากจะได้ความรู้จากเรื่องที่อ่านแล้วยังเป็นการฝึกขยาย
ความคิดให้กว้างขวางออกไปอีกด้วย
9. ความพร้อมทางร่างกาย การจะอ่านให้มีประสิทธิภาพนั้นผู้อ่านควรมีความพร้อมทั้งทางด้านร่าง
กาย และจิตใจ เช่น การมีสุขภาพสมบูรณ์ สายตาดี มีทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน อารมณ์ไม่หงุดหงิด
ตื่นเต้น เสียใจ หรือ กังวลใจ เป็นต้น เพราะถ้าสภาพความพร้อมทางร่างกายของผู้อ่านไม่ดีพอย่อม
ทําให้สมรรถภาพทางการอ่านลด น้อยลง การอ่านก็จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
10. เข้าใจลักษณะงานเขียนแต่ละประเภท ผู้อ่านที่ดีควรมีความรู้ความเข้าใจลักษณะงานเขียนแต่ละ
ประเภท เพื่อทําความเข้าใจเรื่องที่อ่านได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และอย่างลึกซึ้ง เพราะงานเขียนแต่
ละประเภทจะมี วิธีการอ่านที่แตกต่างกัน เช่น การอ่านหนังสือบันเทิงคดี ได้แก่ นิทาน วรรณคดี
นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร ฯลฯ เป็นเรื่องสมมุติที่มุ่งให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน มากกว่า
ความรู้ ในขณะที่ สารัตถคดี เช่น ตํารา ข่าว บทความ สารคดี ฯลฯ เป็นงานเขียนที่มุ่งให้ความรู้
หรือความคิดแก่ผู้อ่าน เป็นต้น
|
|