***เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน***


ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล/ ผศ.ฟ้อน เปรมพันธ์/ ผศ.วิไลวรรณ สันถวะโกมล/
อาจารย์ราตรี แจ่มนิยม/ อาจารย์นงนุช ถ้วยทอง
โปรแกรมวิชาการศึกษาทั่วไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน
(Course Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบการสอน
(Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ
(Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet
(Resources about the Internet and Its Tools)

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์
(On-Line Journals and Magazines)

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

จุดมุ่งหมายของการอ่าน

ผู้อ่านมีจุดมุ่งหมายในการอ่านที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประการคือ
1. อ่านเพื่อความรู้ เป็นการอ่านที่จําเป็นมาก เพราะเป็นการอ่านที่ทําให้ผู้อ่านได้รับความรู้และทราบเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ จากสื่อสิ่งพิมพ์ที่อ่าน ได้แก่ การอ่านหนังสือประเภทตํารา วารสาร สารคดี หนังสือพิมพ์เป็นต้น
2. อ่านเพื่อความคิด ได้แก่ การอ่านข้อความประเภทหนึ่งที่แสดงทัศนะ เช่น บทความ บทวิจารณ์ การวิจัย ฯลฯ การอ่านลักษณะนี้เป็นการอ่านแนวความคิดของผู้อื่น เพื่อเป็นแนวทางความคิดของตนเอง และอาจ นํามาเป็นแนวปฏิบัติในการดําเนินชีวิตหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ผู้อ่านจะต้องมีวิจารญาณในการเลือกนํา ความคิดที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์
3. การอ่านเพื่อความบันเทิง เป็นการอ่านเพื่อพักผ่อนร่างกายและสมอง เช่น อ่านระหว่างคอยคนที่นัด หมาย คอยเวลารถเมล์ เป็นต้น หรืออ่านในเวลาว่าง หรืออ่านเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด หนังสือที่ใช้อ่านตาม จุด มุ่งหมายนี้ ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น การ์ตูน วรรณคดีประเทืองอารมณ์ หัสคดี เป็นต้น หนังสือประเภทนี้นอกจากทําให้เกิดรสความบันเทิงแล้ว บางครั้งยังให้สาระประโยชน์แก่ผู้อ่าน ดังนั้นผู้อ่านจึงไม่ควรอ่านเพียงแต่รสเท่า นั้น ควรอ่านอย่างใคร่ครวญพิจารณาหาแก่นสารสาระที่ปรากฎอยู่ในเรื่องบ้าง

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2004
Revised:Junr 2004