1500101 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น
Thai for Communication and Information Retrieval
3 (3-0)
chumpot@hotmail.com
การจัดหมวดหมู่หนังสือ
ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)
ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือกับห้องสมุดของรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1800 มีการออกกฎหมายให้จัดหาสถานที่ วางกฎข้อบังคับ และแต่งตั้งบรรณารักษ์สำหรับห้องสมุดประธานาธิบดีโธมัสเจฟเฟอร์สัน จึงได้แต่งตั้ง นายจอห์น เบคลีย์ (John Beekley) เป็นบรรณารักษ์คนแรกของห้องสมุด (บุญถาวร หงสกุล 2521 : 1)
การจัดหมวดหมู่หนังสือในระยะแรกจัดแบบง่าย ๆ โดยจัดเรียงตามขนาดของหนังสือ และเมื่อหนังสือมีจำนวน มากขึ้นเริ่มมีการจัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาวิชาโดยการแบ่งหมวดหมู่เป็น 18 วิชา ระยะต่อมาประธานาธิบดี โธมัส เจฟเฟอร์สัน ได้เสนอขายหนังสือส่วนตัว จำนวน 6,487 เล่ม ให้แก่รัฐสภาทำให้ห้องสมุดมีความจำเป็นในการแบ่งหมวดหมู่วิชาให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น และหนังสือที่ได้รับมาจากการขายมีการจัดหมู่ตามแนวความคิดของเจฟ เฟอร์สัน ซึ่งแบ่งหมวดหมู่หนังสือออกเป็น 44 หมวด เมื่อจำนวนหนังสือได้ทวีปริมาณเพิ่มขึ้น และประกอบกับมีการก่อสร้างอาคาร หอสมุดหลังใหม่ ทำให้มีความจำเป็น ในการจำแนกหมวดหมู่หนังสือให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น
ผู้ที่มีความสำคัญต่อการปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดหมู่สำหรับห้องสมุดของรัฐสภาคือ นายเฮอร์เบริต์ พัทนัม (Herbert Putnum) ซึ่งเดิมเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน เมืองบอสตันพัทนัมดำรงตำแหน่งอยู่นานถึง 40 ปี (บุญถาวร หงสกุล 2521 : 2-8)และ ได้พัฒนาระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันอย่างสมบูรณ์และใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกระบบหนึ่ง
ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันแบ่งหมวดหมู่วิชาออกเป็น 21 หมวด (Chan 1985 : 369) ใช้อักษรโรมัน A-Z ยกเว้นตัวอักษร I O W X Y เพื่อสำหรับ การขยายหมวดหมู่วิชาการใหม่ ๆ ในอนาคต
ตารางการแบ่งหมวดหมู่หนังสือ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน แบ่งหมวดหมู่วิชาการเป็น 21 หมวด (Chan 1985 : 276-277) คือ
การใช้สัญลักษณ์
ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ใช้สัญญลักษณ์ผสมโดยใช้อักษรตัวใหญ่ประจำหมวดวิชาใหญ่ มีการแบ่งหมู่ย่อย โดยใช้อักษรโรมันตัวใหญ่ซ้อนเพิ่มเติม จากนั้นจึงใช้เลขอารบิค 1- 9999 เพื่อแบ่งหมวดหมู่วิชาการ
ตัวอย่าง
หมวดใหญ่และหมวดย่อย
ตัวอย่าง
การกระจายหมวดหมู่วิชาด้วยต้วเลขหลังตัวอักษร
การใช้ตารางช่วย
ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกากันมีตารางช่วยสำหรับเพิ่มเติมรายละเอียดตามตารางการจัดหมวดหมู่อีกมาก เป็นตารางช่วยเติมเพื่อแสดงรายละเอียดตามวิธีเขียน การแบ่งตามเขตภูมิภาค การแบ่งตามยุคสมัย การแบ่งตามตัวอักษรย่อของ ชื่อใดชื่อหนึ่ง
การใช้ตารางช่วยจะมีอยู่ในเกือบทุกหมวดหมู่ และมีลักษณะการใช้ที่อาจแตกต่างกันออกไป
ตัวอย่างการให้เลขหมู่
หนังสือชื่อ ประวัติศาสตร์ในประเทศ .P7G8 โปแลนด์ เขียนโดย V.S. Gubarev มีเลขหมู่ เป็น
อธิบายโดยสรุป
หนังสือชื่อ ความเป็นมาของแรงงานและกรรมกรในแคลิฟอร์เนีย โดย D.F.Selvin มีเลขหมู่เป็น
อธิบายโดยสรุป
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com