เมมิลชอน
เมมิลชอน | |
---|---|
ชื่อภาษาเกาหลี | |
อักษรฮันกึล: | 메밀전 |
อักษรฮันจา: | 메밀[煎 |
อักษรละติน: | memiljeon memilchon |
เมมิลชอน เกาหลี: 메밀전, ฮันจา: 메밀[煎, MC: memiljeon, MR: memilchon แพนเค้กสไตล์เกาหลีซึ่งทำจาก เมล็ดข้าวบัค-ฮวีท และผักหลายๆอย่างหรือกิมจิ เป็นอาหารที่ดั้งเดิมในท้องถิ่นของจังหวัดคังวอน ที่ เมล็ดข้าวบัค-ฮวีทเป็นที่ปลูกอย่างกว้างขวางเนื่องจาก มีสภาพภูเขาเยอะและมีอุณหภูมิที่เย็น โดยเฉพาะเมมิลชอนในอำเภอพยองชาง (Pyeongchang) และอำเภอชองซอน (Jeongseon) มีชื่อเสียงเกี่ยวกับ memilmuk (วุ้น เมล็ดข้าวบัค-ฮวีท) และ memil guksu (ก๋วยเตี๋ยว เมล็ดข้าวบัค-ฮวีท) ที่ล้วนแล้วทำจากเมล็ดข้าว คนในท้องถิ่นมักจะเตรียมอาหารในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น jesa เป็น พิธีบูชาบรรพบุรุษเกาหลี เมื่อไหร่ที่ตลาดเกษตรกร "Pyeongchang Market" จัดขึ้นในอำเภอพยองชางทุกห้าวัน ร้านค้าที่เชี่ยวชาญในการทำ เมมิลชอน เป็นจำนวนมากจะมารวมตัว และทุกวันนี้ เมมิลชอน ได้รับความนิยมในเกาหลีใต้[1][2]
เนื้อหา |
[แก้] การเตรียม
ผสมแป้งเมล็ดข้าวบัค-ฮวีทและน้ำ และบางครั้งใส่แป้งสาลีเล็กน้อยเพิ่มลงไปเพราะตัวข้าวบัค-ฮวีทมีความ เหนียวน้อย ในแบบดั้งเดิม ข้าวบัค-ฮวีทผสมกับน้ำแล้วโม่ด้วยเครื่องโม่แล้วกรองด้วยตระแกรง แป้งที่ถูกกรอง จะทำให้สุกใน sodang (소당) เป็นกะทะที่ใช้สำหรับทอด กะหล่ำปลีและหอมฉีกเป็นชิ้นจะถูกวางอยู่ใน sodang แล้วตามด้วยแป้งลาดลงไปในกะทะ ผักดองหรือกิมจิสามารถแทนที่กะหล่ำปลี เวลาทำเมมิลชอน แป้งควรจะเทแบบบางๆ เนื่องจากถ้าเมมิลชอนมีแป้งที่หนาเกินไปจะไม่อร่อย[3]
[แก้] อาหารที่ทำจาก เมมิลชอน
เมมิลชอนสามารถเป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารอื่นๆเช่น memil chongtteok (메밀총떡) หรือ memil jeonbyeong (메밀전병) ตัวแป้งจะถูกยัดด้วยไส้จากส่วนผสมที่อยู่ในสูตร รสหรือวัตถุดิบที่หาได้ในแต่ละภูมิภาค ส่วนในเขตเชจู อาหารที่มีส่วนประกอบของ เมมิลชอน มีชื่อเรียกว่าว่า bingtteok (빙떡) หรือ Jejudo bindaetteok ที่ยัดไส้ด้วยไชเท้าสับ ส่วนไส่ที่ใช้บ่อยในจังหวัดคังวอน ได้แก่ japchae (สลัด ก๋วยเตี๋ยว) หรือกิมจิ หัวไชเท้า หอม กระเทียมและหมูหรือปลาหมึกสับละเอียดที่ปรุงรสแล้วเอามาผัดรวมกัน ในอำเภอพยองชางเรียกว่า cheonsachae (천사채) ซึ่งทำจากสาหร่ายทะเล kombu อาหารจานนี้เหมาะสำหรับเป็นกลับแกล้ม เพราะมีผสมของรสชาติที่เผ็ดร้อนซ่งดีสำหรับรับประทานกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
[แก้] อ้างอิง
- ^ Lee Cheol-won (이철원). ""메밀부치기 빠지면 차례상 아이래요"", Ohmynews, 2006-10-06 (ในKorean)
- ^ Han Chi-ho (한지호). "홍천 '메밀마을'" (ในภาษาKorean). Nate. http://travelok.nate.com/Info/inland/mycar_detail.jsp?page=5&searchclass1=all&searchclass2=all&searchstring=&idxno=2226.
- ^ "메밀전" (ในภาษาKorean). 디지털강릉문화대전. http://gangneung.grandculture.net/gc/contents/contents.jsp?tid=30001441.