• หน้าหลัก
  • นสพ.ฉบับวันนี้
  • ประเด็นร้อน
  • บริการบนมือถือ
  • กิจกรรม
  • ร่วมงานกับไทยรัฐ
  • สมัครสมาชิก(ฟรี)
  • เข้าสู่ระบบ
Thairath

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2555
ค้นหาข่าว
Facebook
Twitter
คุณมีข่าวใหม่ 0 ข่าว
  • พระราชสำนัก

  • การเมือง

  • กีฬา

  • บันเทิง

  • ไลฟ์สไตล์

  • วิทยาการ

  • เศรษฐกิจ

  • การศึกษา

  • ต่างประเทศ

  • ภูมิภาค

  • ทันโลก

  • มองเอเชีย

  • พิลึกโลก

  • รู้หรือไม่

  • โลกมองไทย

  • เลาะรั้วอาเซียน

แผ่นดินไหวเกิดได้ยังไงครับ

พุธวันนี้ นิติภูมิยังอยู่ที่สาธารณรัฐนามิเบีย

สมัยนี้ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนยังไง ผู้คนสนใจในเรื่องของโลกมากขึ้น นอกจากเรื่องการค้าการลงทุนแล้ว หัวข้อสนทนาปราศรัยในที่ประชุมหรือบนโต๊ะอาหารการกิน ก็ไม่พ้นคุยกันเรื่องปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และคลื่นสึนามิ

ย้อนหลังกลับไปในอดีต เมื่อ 300 ล้านปีที่แล้ว โลกทั้งใบมีเพียงทวีปเดียว เป็นอภิพญามหาแผ่นดินที่ติดต่อกันได้ไปทุกแห่ง เราเรียกทวีปนั้นว่า แพงกีอา จนเมื่อประมาณ 200 ล้านปีที่แล้ว โคตรอภิพญามหาทวีปแพงกีอาก็เริ่มแบ่งแยกแตกออกเป็น 2 ส่วน คือ ทวีปลอเรเซีย และทวีปกอนด์วานาแลนด์ เวลาผ่านไปอีกหลายสิบล้านปี พญามหาทวีปลอเรเซีย และกอนด์วานาแลนด์ก็แบ่งแยกแตกออกไปเรื่อยๆ จนกลายเป็น 7 ทวีป อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

มาแอฟริกาครั้งนี้ ผมนำหนังสือของ ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล มาอ่านด้วย สนุกมาก ท่านกรุณาเล่าว่า ปัจจุบันนี้ ทั้ง 7 ทวีปและมหาสมุทรของโลกตั้งอยู่บนแผ่นหินหนา 96 กิโลเมตร ถึง 144 กิโลเมตร แผ่นใหญ่รวมกันได้ทั้งหมด 6 แผ่น และแผ่นที่เล็กลงมาอีกหลายแผ่น

แผ่นหินใหญ่ 6 แผ่นนั้น มีชื่อเรียกว่า แผ่นอเมริกา ที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ และพื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก แผ่นแอฟริกา ที่รองรับทวีปแอฟริกาและพื้นน้ำโดยรอบ แผ่นแอนตาร์กติก รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ แผ่นยูเรเซีย รองรับทวีปยุโรป ทวีปเอเชียและพื้นน้ำใกล้เคียง แผ่นอินเดีย รองรับประเทศอินเดีย ทวีปออสเตรเลีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศอินเดียและออสเตรเลีย สุดท้ายคือ แผ่นแปซิฟิก รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก

หนังสือของ ดร.ชัยวัฒน์ ยังได้ข้อมูลต่อไปอีกว่า แผ่นรองรับทวีปทั้ง 7 นี้ มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่เมื่อ 200 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้ การเคลื่อนที่ทำให้สภาพภูมิศาสตร์ของผิวโลกเปลี่ยนไปอย่างมากมาย ในอดีตกาลนานมาแล้ว ทวีปแอฟริกาเคยอยู่ที่ขั้วโลกใต้ ทวีปยุโรปอยู่ตอนเหนือ ส่วนอลาสกาและทะเลเหนือเมื่อก่อนตอนโน้นอยู่แถบเส้นศูนย์สูตร

หิมาลัย ภูเขาที่สูงที่สุดในโลกนั้น เกิดมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นหินอินเดียพุ่งชนทวีปเอเชียด้วยความเร็วสูง ความเร็วสูงในระดับธรณีวิทยา อ้า ก็คือ 24 กิโลเมตรต่อ 1 ล้านปี ขณะนี้แผ่นหินที่รองรับทวีปและพื้นน้ำก็ยังกำลัง เคลื่อนที่อยู่ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยจนได้ข้อมูลว่า ในอีกกี่สิบล้านปีข้างหน้าโลกเราจะเป็นยังไง? ก็รอว่าอย่าเพิ่งถึงนิพพานเลยครับ จะได้เกิดใหม่อีกหลายชาติ เพื่อพิสูจน์คำทำนายของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกในยุค พ.ศ.2554

50 ล้านปีข้างหน้า ทวีปแอฟริกาจะแยกแตกเป็น 2 ทวีป ทวีปอเมริกาเหนือและใต้จะแยกแตกออก ไม่อยู่ประชิดติดกันเช่นปัจจุบัน ทวีปออสเตรเลียจะขยับขึ้นจนใกล้เส้นศูนย์สูตร มหาสมุทรแอตแลนติกจะมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร ส่วนมหาสมุทรแปซิฟิกจะหดลดขนาดลง พื้นที่ตรงราชอาณาจักไทยไชโย ซึ่งในตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าจะมีชื่อว่าอะไร และก็ยังสงสัยว่าตอนนั้นใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี จะขยับไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรมากขึ้น

นายคริสโตเฟอร์ สโคทีส นักธรณีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่อาร์ลิงตัน ทำนายทายทักการเคลื่อนที่ของทวีปไปยาวไกลในอนาคตอีก 250 ล้านปี แกสรุปว่า ทวีปทั้งเจ็ดที่มีอยู่ในปัจจุบันทุกวันนี้จะเคลื่อนตัวไปรวมเป็นทวีปเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง นั่นหมายถึงว่า จะเป็นโคตรอภิพญามหาทวีปเหมือนเมื่อ 300 ล้านปีที่แล้ว โดยทวีปแอฟริกาจะเคลื่อนที่ไปรวมกับทวีปยุโรป ทวีปออสเตรเลียจะเคลื่อนเหนือเพื่อไปรวมกับทวีปเอเชีย ทุกส่วนที่เป็นแผ่นดินจะไปเชื่อมต่อกันล้อมรอบมหาสมุทรแอตแลนติก เขียนให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ มหาสมุทรแอตแลนติกจะเป็นอภิพญามหาโคตรทะเลสาบที่ถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดิน และนี่คือการเคลื่อนที่ครบวงจรของเปลือกโลก

ความรู้อันนี้นี่เองครับ ที่ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและไปกระทบกับการกระดิกพลิกตัวของการเคลื่อนที่ของแผ่นโลกก็คือ การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินและใต้น้ำ ไอ้พวกนี้ก็มีการทำให้เกิดแผ่นดินไหว และคลื่นยักษ์สึนามิได้เช่นเดียวกันครับ

ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของทวีปทำให้นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันทุกวันนี้ทำนายทายทักได้ว่า ตรงไหนจะเกิดแผ่นดินไหวบ่อย และที่ไหนบริเวณใดจะปลอดภัยจากการเกิด เพราะการเกิดแผ่นดินไหวเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นหินใหญ่ที่รองรับทวีป ที่ไหนบริเวณใดอยู่ในแถบบริเวณขอบนอกของแผ่นดินที่เบียดกัน เสียดสีกัน ชนกัน และแยกออกจากกัน แถวนั้นล่ะครับ ผีดุ เอ๊ย จะเกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยๆ

ทุกวันนี้ บริเวณที่จะมีแผ่นดินไหวบ่อยที่สุด อยู่แถบรอบแปซิฟิก และแถบอัลไพน์ แถบรอบแปซิฟิกกินแนวยาวตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย ผ่านอินโดนีเซีย ไปจีน เลียบฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ และไปสิ้นสุดที่ตอนล่างของทวีปอเมริกาใต้

ส่วนแถบอัลไพน์เริ่มต้นจากประเทศพม่า ตัดมาที่ทำเนียบรัฐบาลของไทย เอ๊ย ไม่ใช่ ตัดผ่านไปที่ประเทศจีน ทวีปยุโรปตอนใต้ และไปทวีปแอฟริกาตอนเหนือ

รู้อย่างนี้แล้ว ท่านก็เลือกลงหลักปักฐานสร้างบ้านกันได้ถูกตำแหน่ง สร้างครอบครัวตรงที่ไม่มีแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือเกิดสึนามิ อา นิทราราตรีสวัสดิ์ สวัสดีครับ.

นิติภูมิ นวรัตน์

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย นิติภูมิ นวรัตน์
  • 16 มีนาคม 2554, 05:00 น.

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

  • 476 ข่าว
  • ไม่มีรูปภาพที่เกี่ยวข้อง
  • ไม่มีข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้อง
tags:
แผ่นดินไหว เกิดได้ยังไง เปิดฟ้าส่องโลก นิติภูมิ นวรัตน์
ขยายตัวอักษร

ขยายตัวอักษร

ใหญ่ขึ้น

เล็กลง

Tweet

คุณชอบข่าวนี้หรือไม่
ชอบ
ไม่ชอบ
ผลการโหวต
ชอบ
12 คน
85.7%
ไม่ชอบ
2 คน
14.3%

คอลัมน์อื่น ๆ ใน เปิดฟ้าส่องโลก

หมาป่ากะลูกแกะ

ข่าวอื่นๆ ในต่างประเทศ

เหยื่อน้ำท่วมฟิลิปปินส์พุ่ง 60 ศพ

กีวีตะลึงปรากฏการณ์ประหลาดหินลอยน้ำ

'กูเกิล' ใจป้ำ! จ่ายเงินเดือนคู่สมรสนาน 1...

  • ติดวงจรปิดจับผิดคนทำรถพัง ช็อก! 'ผีเด็ก' ...
  • นาทีชีวิต! พนง.แมคฯช่วยเด็ก 14 เดือน เฟ...
  • สุดสงสาร! บูลด็อกเคราะห์ร้าย โดนเม่นสะ...
  • ตะลึง! แฝดสยามมะกันสู้ชีวิตจนโตเป็นสาว ...
  • ตื่นเต้น! แอฟริกาใต้ 'หิมะตก' ปกคลุมหลัง...
  • กีวีตะลึงปรากฏการณ์ประหลาดหินลอยน้ำ
  • นาซาเฮ! ยาน 'เคอเรียสซิตี้' แตะพื้นดาว...
  • ทีวีบันเทิง
  • โสมชบาจ๊ะจ๋า
  • ดัชนีเศรษฐกิจ
  • เกร็ดข่าวลูกหนัง
  • กีฬาวันนี้
  • วิเคราะห์การเมือง
  • รอบโลก
  • ส่องตำรวจ
  • ไทยรัฐชอปปิ้งไกด์
  • คลื่นรบกวน
  • เกาะติด...ลอนดอนเกมส์
  • สโมสรนักสู้
  • ตลาดนัดหัวเขียว
  • เงาหุ้น
  • เทียบท่าหน้า 3
  • ห้องร้องทุกข์
  • ชี้มวยเด็ด
  • ดวงดาวของท่าน

หน้าหลัก l การเมือง l กีฬา l ไลฟ์สไตล์ l วิทยาการ l เศรษฐกิจ l การศึกษา l ต่างประเทศ l ข่าวทั่วไทย
ศาสนาและความเชื่อ l การเกษตร l ข้าราชการ l ข่าวประชาสัมพันธ์
คอลัมน์ l ภาพ l บุคคล l ค้นหา

ฉบับวันนี้และย้อนหลัง 7 วัน

เกี่ยวกับไทยรัฐ
มูลนิธิไทยรัฐ
ศูนย์ข้อมูลไทยรัฐ
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อไทยรัฐ

  • Copyright © 2009 Terms & Conditions
  • สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
  • Internet Thailand
  • Powered By