หนู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนู
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ก่อนยุคเพลอีสโตซีน – ปัจจุบัน
หนูสีน้ำตาล (Rattus norvegicus)
สถานะการอนุรักษ์
ปลอดภัยจากการคุกคาม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์ (Animalia)
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง (Chordata)
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammalia)
อันดับ: สัตว์ฟันแทะ (Rodentia)
วงศ์ใหญ่: Muroidea
วงศ์: Muridae
วงศ์ย่อย: Murinae
สกุล: Rattus
Fischer de Waldheim, 1803
ชนิด
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง
  • Stenomys Thomas, 1910

หนู (อังกฤษ: Rat, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rattus) เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา

เนื้อหา

[แก้] การจำแนก

[แก้] พาหะนำโรค

หนูถูกระบุว่า เป็นพาหะนำโรค 5 โรค [2] ได้แก่

  1. กาฬโรค
  2. โรคเลปโตสไปโรซีส หรือ โรคฉี่หนู
  3. โรคสครับไทฟัส หรือไข้รากสาด
  4. โรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย
  5. โรคพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ปอด พยาธิตัวกลม

[แก้] หมายเหตุ

คำว่า "หนู" ซึ่งเป็นชื่อสามัญในภาษาไทยยังใช้รวมความถึงสัตว์ฟันแทะจำพวกอื่นที่อยู่ในสกุลอื่น หรือแม้แต่วงศ์อื่นได้ด้วย เช่น หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica), หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน (Niviventer hinpoon), หนูหริ่งบ้าน (Mus musculus) หรือหนูตะเภา (Cavia porcellus) ที่อยู่ในวงศ์ Caviidae ได้ด้วย หากแต่หนูในสกุล Rattus และในวงศ์ Muridae นี้ เป็นหนูที่มนุษย์คุ้นเคยที่สุด[3] [4] อย่างน้อยมี 3 ชนิดที่สามารถพบได้ตามบ้านเรือนของมนุษย์ คือ หนูท้องขาว (Rattus rattus), หนูบ้าน (R. norvegicus) และหนูจี๊ด (R. exulans)[5]

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ จาก itis.gov (อังกฤษ)
  2. ^ http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000034022
  3. ^ หนู ๑ น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  4. ^ ตะเภา ๓ น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  5. ^ ความรู้เกี่ยวกับหนู
Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
หนู

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น