มนุษย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มนุษย์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 0.195–0 Ma
สมัยไพลสโตซีน - ปัจจุบัน
ภาพมนุษย์บนแผ่นทองเหลืองที่ติดไปกับไพโอเนียร์ 10
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryota
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Hominidae
สกุล: Homo
สปีชีส์: H. sapiens
Subspecies: H. s. sapiens
ชื่อวิทยาศาสตร์
Homo sapiens sapiens
Linnaeus, 1758
ขอบเขตที่อยู่อาศัยของ Homo sapiens

มนุษย์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Homo sapiens, ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังสืบสายพันธุ์อยู่ในจีนัส Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว[2]

มนุษย์มีลักษณะพิเศษ คือ มีสมองใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัว โดยเฉพาะสมองชั้นนอก สมองส่วนหน้าและสมองกลีบขมับที่พัฒนาเป็นอย่างดี ทำให้มนุษย์สามารถให้เหตุผลเชิงนามธรรม ใช้ภาษา พินิจภายใน (introspection) แก้ปัญหาและสร้างสรรค์วัฒนธรรมผ่านการเรียนรู้ทางสังคม ขีดความสามารถทางจิตใจของมนุษย์นี้ ประกอบกับการปรับตัวมาเคลื่อนไหวสองเท้าซึ่งทำให้มือว่างจัดการจับวัตถุได้ ทำให้มนุษย์สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้ดีกว่าสปีชีส์อื่นใดบนโลกมาก มนุษย์ยังเป็นสปีชีส์เดียวเท่าที่ทราบที่ก่อไฟและทำอาหารเป็น สวมใส่เสื้อผ้า และสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีและศิลปะอื่น ๆ การศึกษามนุษย์เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ เรียกว่า มานุษยวิทยา

มนุษย์มีเอกลักษณ์ความถนัดในระบบการสื่อสารด้วยสัญลักษณ์ เช่น ภาษา เพื่อการแสดงออก แลกเปลี่ยนความคิด และการจัดระเบียบ มนุษย์สร้างโครงสร้างทางสังคมอันซับซ้อน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มจำนวนมากที่มีทั้งร่วมมือและแข่งขันกัน จากครอบครัวและวงศาคณาญาติ ไปจนถึงรัฐ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์ได้ก่อตั้งค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคมและพิธีกรรม ซึ่งรวมกันเป็นรากฐานของสังคมมนุษย์ มนุษย์ขึ้นชื่อในความปรารถนาที่จะเข้าใจและมีอิทธิพลเหนือสิ่งแวดล้อม แสวงหาคำอธิบายและปรับเปลี่ยนปรากฏการณ์ต่าง ๆ ผ่านวิทยาศาสตร์ ปรัชญา เทพปกรณัมและศาสนา ด้วยมนุษย์พบอาศัยอยู่ทุกทวีปยกเว้นแอนตาร์กติกา จึงได้ชื่อว่าเป็น "สปีชีส์พบได้ทั่วโลก" (cosmopolitan species) จนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ประชากรมนุษย์ที่กองประชากรสหประชาชาติประเมินไว้อยู่ที่ราว 7 พันล้านคน[3]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] วิวัฒนาการ

ดูบทความหลักที่ วิวัฒนาการของมนุษย์

การศึกษาวิวัฒนาการมนุษย์ทางวิทยาศาสตร์สนใจพัฒนาการของจีนัส Homo เป็นหลัก แต่โดยปกติมักเกี่ยวข้องกับการศึกษาวงศ์โฮมินิดและโฮมินินเช่นกัน อาทิ Australopithecus "มนุษย์สมัยใหม่" ถูกนิยามว่าเป็นสปีชีส์ Homo sapiens ซึ่งสปีชีส์ย่อยที่ยังมีอยู่เท่าที่ทราบมีเพียง Homo sapiens sapiens เท่านั้น Homo sapiens idaltu (แปลหยาบๆ ได้ว่า "มนุษย์ฉลาดอาวุโส") เป็นอีกสปีชีส์ย่อยหนึ่งที่ทราบ แต่บัดนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว[4] Homo neanderthalensis ซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อ 30,000 ปีที่แล้ว บางครั้งถูกจำแนกเป็นสปีชีส์ย่อย "Homo sapiens neanderthalensis" การศึกษาพันธุกรรมแนะว่า ดีเอ็นเอหน้าที่ของมนุษย์สมัยใหม่กับนีแอนเดอร์ธัล (Neanderthal) เบนออกจากกันเมื่อ 500,000 ปีที่แล้ว[5] พันธุศาสตร์สมัยหลังได้เสนอว่า มนุษย์สมัยใหม่ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณ "อย่างน้อยสองกลุ่ม" คือ นีแอนเดอร์ธัลกับเดนิโซแวน (Denisovan)[6] แม้กระนั้น ตัวอย่างของสปีชีส์ Homo rhodesiensis ที่ถูกค้นพบมีการจำแนกให้เป็นสปีชีส์ย่อยอยู่บ้าง แต่การจำแนกชั้นดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางนัก

มนุษย์สมัยใหม่ทางกายวิภาคปรากฏครั้งแรกในหลักฐานฟอสซิลในแอฟริการาว 195,000 ปีที่แล้ว และการศึกษาชีววิทยาโมเลกุลให้ข้อพิสูน์ว่า เวลาโดยประมาณที่มนุษย์สมัยใหม่วิวัฒนาการเบนออกจากบรรพบุรุษร่วม คือ เมื่อ 200,000 ปีที่แล้ว[7][8][9][10][11] การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของแอฟริกาอย่างกว้างขวาง นำโดย ดร. ซาราห์ ทิชคอฟ ค้นพบว่าชาวซาน (หรือบุชแมน) แสดงความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงสุดในบรรดาประชากรตัวอย่างที่ต่างกัน 113 กลุ่ม ทำให้ชาวซานเป็นหนึ่งใน 14 "กลุ่มประชากรบรรพบุรุษ" การวิจัยดังกล่าวยังค้นพบการกำเนิดของการอพยพมนุษย์สมัยใหม่ในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ ใกล้กับพรมแดนแถบชายฝั่งของนามิเบียและแองโกลา[12]

แผนภูมิแสดงโฮมินอยด์ที่ยังมีอยู่: มนุษย์ (สกุล Homo), ชิมแปนซีและโบโนโบ (สกุล Pan), กอริลลา (สกุล Gorilla), อุรังอุตัง (สกุล Pongo), และชะนี (สี่สกุลในวงศ์ Hylobatidae: Hylobates, Hoolock, Nomascus และ Symphalangus) ทั้งหมดยกเว้นชะนีเป็นโฮมินอยด์

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของไพรเมตสามารถสืบย้อนไปได้ถึง 65 ล้านปีที่แล้ว ไพรเมตเป็นหนึ่งในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีรกซึ่งยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดที่เก่าแก่ที่สุด สปีชีส์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคล้ายไพรเมตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบ (อยู่ในจีนัส พลีเซียดาพิส) มาจากทวีปอเมริกาเหนือ แต่อยู่อาศัยในยูเรเชียและแอฟริกาเป็นบริเวณกว้างระหว่างสภาวะเขตร้อนของสมัยพาลีโอซีนกับสมัยอีโอซีน (66-57 ล้านปีที่แล้ว) หลักฐานโมเลกุลเสนอว่า บรรพบุรุษร่วมสุดท้ายระหว่างมนุษย์กับลิงไม่มีหางใหญ่ที่เหลือเบนออกเมื่อ 4-8 ล้านปีที่แล้ว

ลิงอุรังอุตังเป็นกลุ่มแรงที่แยกออกจากเส้นซึ่งนำไปสู่มนุษย์ จากนั้นเป็นกอริลลา ตามมาด้วยชิมแปนซี (จีนัส Pan) สัดส่วนทำงานของดีเอ็นเอมนุษย์อยู่ที่ประมาณ 98.4% เทียบเท่ากับของชิมแพนซี เมื่อเปรียบเทียบพอลิมอร์ฟิซึมนิวคลีโอไทด์สายเดี่ยว บางการศึกษาประเมินไว้ต่ำเพียง 94% ดังนั้น สัตว์ที่ใกล้เคียงมนุษย์ที่สุดเท่าที่มีชีวิตอยู่จึงเป็นกอริลลาและชิมแพนซี เพราะมีบรรพบุรุษร่วมกันค่อนข้างเมื่อไม่นานมานี้[13]

มนุษย์อาจสัมพันธ์มากที่สุดกับชิมแปนซีสองสปีชีส์ คือ ชิมแปนซีธรรมดาและโบโนโบ ลำดับจีโนมเต็มได้ก่อให้เกิดข้อสรุปที่ว่า "หลังวิวัฒนาการแยกกว่า 6.5 [ล้าน]ปี ข้อแตกต่างระหว่างชิมแปนซีกับมนุษย์นั้นมีมากกว่าระหว่างคนสองคนที่ไม่รู้จักกันสิบเท่า และน้อยกว่าหนู (rat) กับหนูหริ่ง (mice) สิบเท่า" การประเมินความพ้องที่เสนอไว้ในปัจจุบันระหว่างลำดับดีเอ็นเอทำงานของมนุษย์กับชิมแปนซีอยู่ระหว่าง 95% และ 99%[14][15][16][17] การประเมินช่วงแรกชี้ว่า เชื้อสายมนุษย์อาจเบนออกจากของชิมแปนซีเมื่อราวห้าล้านปีที่แล้ว และจากของกอริลลาราวแปดล้านปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี กะโหลกโฮมินิดซึ่งค้นพบในชาดเมื่อ ค.ศ. 2001 จำแนกเป็น Sahelanthropus tchadensis มีอายุประมาณเจ็ดล้านปี และอาจเป็นหลักฐานของการเบนออกก่อนหน้านั้น[18]

วิวัฒนาการมนุษย์แสดงลักษณะโดยการเปลี่ยนแปลงสำคัญจำนวนหนึ่ง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายสัณฐานวิทยา พัฒนาการ สรีรวิทยาและพฤติกรรม ซึ่งได้เกิดขึ้นตั้งแต่การแยกออกระหว่างบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายของมนุษย์กับชิมแปนซี การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับโครงสร้างหลักครั้งแรก คือ วิวัฒนาการของการปรับตัวเคลื่อนไหวสองเท้าจากการเคลื่อนไหวบนต้นไม้หรือกึ่งต้นไม้[19] โดยมีการปรับตัวประกอบทั้งหมด (เข่าชิด [valgus knee], สัดส่วนแขนขา [intermembral index] ต่ำ [คือ ขายาวเมื่อเทียบกับแขน] และร่างกายท่อนบนมีกำลังลดลง)

สปีชีส์มนุษย์พัฒนาสมองใหญ่กว่าสมองของไพรเมตอื่นมาก โดยทั่วไป สมองมนุษย์สมัยใหม่มีปริมาตร 1,400 ซม.3 กว่าสองเท่าของขนาดสมองชิมแปนซีหรือกอริลลา รูปแบบของการเจริญเติบโตของสมองมนุษย์หลังเกิดแตกต่างจากรูปแบบที่พบในลิงไม่มีหางอื่น และเอื้อให้ระยะการเรียนรู้ทางสังคมและการได้มาซึ่งภาษายืดยาวไปในมนุษย์วัยแรกรุ่น นักมานุษยกายวิภาคศาสตร์แย้งว่า ข้อแตกต่างระหว่างโครงสร้างสมองของมนุษย์กับสมองของลิงไม่มีหางอื่นนั้นกระทั่งสำคัญกว่าข้อแตกต่างด้านขนาดเสียอีก[20][21]

การเปลี่ยนแปลงทางกายสัณฐานวิทยาที่สำคัญอื่น มีวิวัฒนาการของการยึดจับที่มีพลังและแม่นยำด้วยนิ้วหัวแม่มือ[22] ระบบบดเคี้ยวที่ลดลง การลดจำนวนฟันเขี้ยว และการเลื่อนต่ำลงมาของกล่องเสียงและกระดูกไฮออยด์ ทำให้มนุษย์สามารถพูดได้ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่สำคัญอย่างหนึ่งในมนุษย์ คือ วิวัฒนาการของการปิดการตกไข่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นใกล้เคียงกับวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่สำคัญ เช่น การมีคู่ครอง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พัฒนาการของวัฒนธรรมวัตถุ ด้วยวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเริ่มมีมากขึ้นและหลากหลายขึ้นตามเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเหล่านี้เป็นหัวข้อถกเถียงที่กำลังดำเนินต่อไป[23][24]

อำนาจแห่งการคัดเลือกโดยธรรมชาติยังมีผลต่อประชากรมนุษย์อยู่ต่อไป โดยมีหลักฐานว่าจีโนมบางบริเวณแสดงการคัดเลือกที่เกิดขึ้นในทิศทางเดียวในช่วง 15,000 ปีที่ผ่านมา[25]

ลิงไม่มีหางต่างมีบรรพบุรุษร่วมกัน

[แก้] ยุคหินเก่า

การแพร่กระจายทั่วโลกของมนุษย์

มนุษย์สมัยใหม่ทางกายวิภาควิวัฒนาการจากโฮโม เซเปียนส์ดั้งเดิมในแอฟริกาในยุคหินเก่าตอนกลาง ราว 200,000 ปีที่แล้ว จนถึงการเริ่มต้นของสมัยหินเก่าตอนปลาย (50,000 ปีที่แล้ว) ได้มีการพัฒนาความนำสมัยทางพฤติกรรมเต็มตัว รวมทั้งภาษา ดนตรีและสิ่งสากลทางวัฒนธรรมอื่นขึ้น

การอพยพออกนอกทวีปแอฟริกาประเมินว่าเกิดขึ้นราว 70,000 ปีที่แล้ว มนุษย์สมัยใหม่ภายหลังแพร่กระจายไปทั่วโลก แทนที่โฮมินิดอื่นก่อนหน้า มนุษย์อาศัยอยู่ในยูเรเชียและโอเชียเนียก่อน 40,000 ปีที่แล้ว และทวีปอเมริกาเมื่ออย่างน้อย 14,500 ปีที่แล้ว[26] ทฤษฎีที่นิยมแพร่หลายหนึ่งว่า มนุษย์แทนที่ Homo neanderthalensis และสปีชีส์อื่นซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก Homo erectus[27] (ผู้อยู่อาศัยในยูเรเชียเนิ่นตั้งแต่ 2 ล้านปีที่แล้ว) ผ่านการสืบพันธุ์และการแก่งแย่งชิงทรัพยากรที่ประสบความสำเร็จกว่า[28] รูปแบบหรือขอบเขตที่แน่ชัดของการอยู่ร่วมกันและปฏิสัมพันธ์ของสปีชีส์ทั้งสองนั้นไม่ทราบและยังคงเป็นหัวข้อโต้แย้งกันต่อไป[29]

หลักฐานจากพันธุศาสตร์โบราณคดีซึ่งสะสมมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 ได้ให้การสนับสนุนที่น่าเชื่อถือต่อสมมุติฐานลำดับเหตุการณ์ "ออกจากแอฟริกา" และได้เบียดข้อสันนิษฐานหลายภูมิภาคคู่แข่งตกไป ซึ่งได้เสนอว่า มนุษย์สมัยใหม่วิวัฒนาการมา อย่างน้อยบางส่วน จากประชากรโฮมินิดที่แยกกัน[30]

นักพันธุศาสตร์ ลินน์ จอร์จและเฮนรี อาร์เพนดิงแห่งมหาวิทยาลัยยูทาห์ เสนอว่า ความหลากหลายในดีเอ็นเอมนุษย์นั้นเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับความหลากหลายในสปีชีส์อื่น[31] พวกเขายังเสนอว่า ระหว่างสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย ประชากรมนุษย์ลดลงเหลือเพียงคู่พ่อแม่พันธุ์จำนวนน้อยเท่านั้น คือ ไม่มากกว่า 10,000 คน และอาจเหลือน้อยเพียง 1,000 คน ส่งผลให้ยีนพูลตกค้างมีขนาดเล็กมาก[32] หลายเหตุผลสำหรับข้อสมมุติปรากฏการณ์คอขวดประชากรนี้ เหตุผลหนึ่ง คือ ทฤษฎีมหันตภัยโตบา (Toba catastrophe theory)[33]

[แก้] การเปลี่ยนผ่านสู่อารยธรรม

การรู้จักทำการเกษตร และนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงของมนุษย์ นำไปสู่การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ที่เสถียร

มนุษย์ส่วนมากมีวิถีชีวิตด้วยการล่าสัตว์และเก็บหาของป่า กระทั่งเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่แล้ว พวกเขามักอยู่อาศัยกันเป็นกลุ่มเร่รอนขนาดเล็ก เรียกว่า สังคมกลุ่มคน (band society) การเริ่มทำการเกษตรกระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติยุคหินใหม่ เมื่อมนุษย์มีอาหารส่วนเกินจนนำไปสู่การตั้งถิ่นฐานมนุษย์อย่างถาวร มีการนำสัตว์มาเลี้ยงและการใช้เครื่องมือโลหะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เกษตรกรรมยังเกื้อหนุนการค้าและความร่วมมือ และได้นำไปสู่สังคมที่มีความซับซ้อน

ราว 6,000 ปีที่แล้ว มนุษย์ได้พัฒนา "ว่าที่รัฐ" แห่งแรกขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย, ลุ่มแม่น้ำไนล์ของอียิปต์ และลุ่มแม่น้ำสินธุ ทั้งมีการจัดกำลังทางทหารเพื่อการป้องกัน และระบบราชการเพื่อการบริหารปกครอง รัฐต่างๆ มีการร่วมมือกันและแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากร ซึ่งในบางกรณีก็ถึงขั้นทำสงครามกัน ประมาณ 2,000-3,000 ปีที่แล้ว บางรัฐเช่น เปอร์เซีย, อินเดีย, จีน, โรม, และกรีซ เป็นรัฐแรกๆ ที่พัฒนาจากการขยายดินแดนจนกลายเป็นจักรวรรดิ กรีซโบราณเป็นอารยธรรมต้นแบบซึ่งได้วางรากฐานของวัฒนธรรมตะวันตก เป็นบ่อเกิดของปรัชญาตะวันตก ประชาธิปไตย ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่สำคัญ กีฬาโอลิมปิก วรรณกรรมและประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก รวมทั้งนาฏกรรมตะวันตก รวมทั้งโศกนาฏกรรมและสุขนาฏกรรม[34] ศาสนาซึ่งมีอิทธิพล เช่น ศาสนายูดาย กำเนิดขึ้นในเอเชียตะวันตก และศาสนาฮินดู ซึ่งกำเนิดขึ้นในเอเชียใต้ ยังปรากฏชัดในช่วงเวลานี้เช่นกัน

ยุคกลางตอนกลายได้เกิดการปฏิวัติทางความคิดและเทคโนโลยี สังคมเมืองที่ก้าวหน้าในประเทศจีนได้เป็นปัจจัยที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมและความรู้ใหม่ ๆ เช่นการหว่านเมล็ดพืชและการพิมพ์ ในอินเดีย ความก้าวหน้าที่สำคัญมีในด้านคณิตศาสตร์ ปรัชญา ศาสนาและโลหะวิทยา ยุคทองของอิสลามมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในจักรวรรดิมุสลิม การกลับมาค้นพบความรู้ในยุคคลาสสิคของยุโรปและการประดิษฐ์แท่นพิมพ์นำไปสู่การฟื้นฟูศิลปะวิทยาในศตวรรษที่ 14 และ 15 ในระยะเวลา 500 ปีต่อมาเป็นยุคแห่งการสำรวจและล่าอาณานิคม กระทั่งดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกา เอเซีย และแอฟริกาอยู่ภายใต้การควบคุมของยุโรป นำไปสู่การดิ้นรนเพื่อเอกราชในภายหลัง การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18-19 ก่อให้เกิดนวัตกรรมรูปแบบการขนส่งสำคัญ เช่น ทางรถไฟและรถยนต์ การพัฒนาทางพลังงาน เช่น ไฟฟ้าและถ่านหิน และมีการพัฒนารูปแบบการปกครองเช่น ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและคอมมิวนิสต์

จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การพัฒนาทางเทคโนโลยีในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นการเริ่มต้นของยุคสารสนเทศ มนุษย์สมัยใหม่มีชีวิตในโลกที่ทุกสถานที่สามารถรับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวของทั่วทุกที่ในโลกไปพร้อมๆ กัน และทุกที่เชื่อมต่อถึงกันโดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยหลัก มีการประมาณไว้ว่าใน ค.ศ. 2010 มนุษย์กว่า 2 พันล้านคนสื่อสารกันได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต[35] และ 3.3 พันล้านคนสื่อสารกันด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่[36]

ถึงแม้ว่าการเชื่อมต่อถึงกันระหว่างมนุษย์ช่วยให้เกิดการเติบโตทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ การสนทนา และเทคโนโลยี แต่ก็เกิดการปะทะกันของวัฒนธรรม เกิดการพัฒนาและการใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง อารยธรรมมนุษย์ได้นำไปสู่การทำลายสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดมลภาวะ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญต่อการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตอื่น เรียกว่า เหตุการณ์สูญพันธุ์โฮโลซีน (holocene extinction event)[37] ซึ่งอาจเร่งให้เกิดเร็วขึ้นโดยปรากฏการณ์โลกร้อนในอนาคต[38]

[แก้] ถิ่นที่อยู่และประชากร

โลกเมื่อมองจากอวกาศ แสดงขอบเขตการจับจองที่อยู่อาศัยของมนุษย์บนดาวเคราะห์ บริเวณที่มีแสงสว่างคือ พื้นที่ที่มีการอยู่อาศัยหนาแน่นที่สุด

ถิ่นฐานมนุษย์ช่วงต้นๆ ขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดกับน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นซึ่งใช้เพื่อยังชีพขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น ประชากรของเหยื่อสัตว์ที่ใช้เพื่อการล่าและผืนดินซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงปศุสัตว์ แต่มนุษย์มีขีดความสามารถอย่างสูงในการเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่ด้วยวิธีการเทคโนโลยี ผ่านชลประทาน การผังเมือง การก่อสร้าง การขนส่ง การผลิตสินค้า การทำลายป่าและการกลายเป็นทะเลทราย (desertification) การเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่โดยเจตนามักทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มความมั่งคั่งทางวัตถุ เพิ่มสภาวะน่าสบาย (thermal comfort) พัฒนาปริมาณอาหารที่หาได้ พัฒนาสุนทรียศาสตร์ หรือเพิ่มความง่ายในการเข้าถึงทรัพยากรหรือถิ่นฐานมนุษย์อื่นๆ ด้วยการริเริ่มโครงสร้างพื้นฐานทางการค้าและการขนส่งขนานใหญ่ ความใกล้ชิดทรัพยากรเหล่านี้กลายเป็นสิ่งไม่จำเป็น และในหลายพื้นที่ ปัจจัยเหล่านี้มิได้เป็นแรงขับดันเบื้องหลังการเติบโตและการเสื่อมถอยของประชากร แต่รูปแบบซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่มักเป็นปัจจัยหลักกำหนดการเปลี่ยนแปลงประชากร

เทคโนโลยีเอื้อให้มนุษย์ตั้งอาณานิคมในทุกทวีปและปรับตัวเองเข้ากับลักษณะอากาศแทบทุกแบบได้ ภายในศตวรรษที่แล้ว มนุษย์ได้สำรวจแอนตาร์กติกา ร่องลึกมหาสมุทร และอวกาศ แม้การตั้งอาณานิคมในสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะยังเป็นไปไม่ได้ก็ตาม ด้วยประชากรกว่าหกพันล้านคน มนุษย์เป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ที่มีจำนวนมากที่สุด มนุษย์ส่วนมาก (61%) อาศัยอยู่ในเอเชีย ที่เหลืออาศัยอยู่ในทวีปอเมริกา (14%) ทวีปแอฟริกา (14%) ทวีปยุโรป (11%) และโอเชียเนีย (0.5%)

การอยู่อาศัยของมนุษย์ภายในระบบนิเวศวิทยาปิดในสิ่งแวดล้อมไม่เป็นมิตร เช่น แอนตาร์กติกาและอวกาศ มีราคาแพง โดยปกติแล้วมีระยะเวลาจำกัด และมีขอบเขตเฉพาะการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ทางทหารหรือทางอุตสาหกรรมเท่านั้น ชีวิตในอวกาศนานทีมีหน โดยไม่เคยมีมนุษย์ในอวกาศพร้อมกันเกินกว่าสิบสามคนเลย[39] ระหว่าง ค.ศ. 1969 และ 1972 มนุษย์ใช้ช่วงเวลาสั้นๆ บนดวงจันทร์คราวละสองคน จวบจนปัจจุบัน มนุษย์ไม่เคยเดินทางเยือนเทห์ฟากฟ้าอื่นเลย แม้จะมีมนุษย์ขึ้นไปยังอวกาศอย่างต่อเนื่องนับแต่การส่งลูกเรือชุดแรกไปอาศัยอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2000[40] อย่างไรก็ดี เทห์ฟากฟ้าอื่นเคยมีวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นส่งไปเยือนแล้ว

นับแต่ ค.ศ. 1800 ประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นจากหนึ่งพันล้านคนเป็นกว่าหกพันล้านคน[41] ใน ค.ศ. 2004 ประชากรราว 2.5 พันล้านคนจาก 6.3 พันล้านคน (39.7%) อาศัยอยู่ในเขตเมือง และตัวเลขนี้คาดว่าจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 21 เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 สหประชาชาติประเมินว่าประชากรโลกครึ่งหนึ่งจะอาศัยอยู่ในเขตเมืองเมื่อถึงสิ้นปีนั้น[42] ปัญหาของมนุษย์ผู้อาศัยอยู่ในนครมีทั้งมลพิษและอาชญากรรมหลากหลายรูปแบบ[43] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นครชั้นในและสลัมชานเมือง

มนุษย์ได้มีผลกระทบอย่างรวดเร็วต่อธรรมชาติ ด้วยมนุษย์แทบไม่เคยตกเป็นเหยื่อของสัตว์ใด จึงถูกอธิบายว่าเป็นนักล่าขั้นสูงสุด (apex predator)[44] ปัจจุบัน ผ่านการพัฒนาที่ดิน การเผาไหม้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ และมลพิษ จึงคาดกันว่ามนุษย์เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศโลก[45] ถ้าการเปลี่ยนแปลงนี้ยังเกิดขึ้นด้วยอัตราในปัจจุบัน มีการทำนายว่า สปีชีส์ครึ่งหนึ่งบนโลกจะหายไปภายในศตวรรษหน้า[46][47]

[แก้] ชีววิทยา

ดูบทความหลักที่ ชีววิทยามนุษย์

[แก้] กายวิภาคศาสตร์

ดูบทความหลักที่ กายวิภาคศาสตร์มนุษย์
ลักษณะทางกายวิภาคพื้นฐานของมนุษย์เพศหญิงและชาย ขนร่างกายและขนใบหน้าของชายถูกนำออกจากแบบจำลองนี้

มนุษย์มีลักษณะร่างกายต่างกันอยู่มาก แม้ว่าขนาดร่างกายส่วนใหญ่ถูกกำหนดโดยยีน แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อร่างกายเช่นการออกกำลังกายและโภชนาการ ความสูงเฉลี่ยของมนุษย์โตเต็มวัยอยู่ที่ประมาณ 1.5 ถึง 1.8 เมตร ตัวเลขนี้แตกต่างกันมากในแต่ละที่และขึ้นอยู่กับชาติพันธุ์กำเนิด[48][49] น้ำหนักโดยเฉลี่ยคือ 76-83 กิโลกรัมสำหรับผู้ชาย และ 54-64 กิโลกรัมสำหรับผู้หญิง[50] น้ำหนักอาจแตกต่างกันได้มากโดยมีปัจจัยเช่นความอ้วน มนุษย์ไม่เหมือนไพรเมตอื่นส่วนมากตรงที่มนุษย์สามารถเดินสองเท้าได้เต็มที่ ดังนั้นจึงสามารถใช้สองแขนในการทำงานกับวัตถุหรือเครื่องมือชนิดต่างๆ โดยมีนิ้วโป้งที่ยื่นออกไปด้านข้างช่วยประคอง

แม้มนุษย์จะดูเหมือนไม่มีขนเมื่อเทียบกับไพรเมตอื่น แต่ด้วยการเติบโตของเส้นผมที่เด่นชัดเกิดขึ้นหลักๆ บนจุดสูงสุดของหัว ใต้แขนและบริเวณหัวเหน่า มนุษย์โดยเฉลี่ยมีรูขุมขนบนร่างกายมากกว่าชิมแปนซีโดยเฉลี่ย ความแตกต่างหลักคือ ขนของมนุษย์สั้นกว่า บางกว่าและย้อมสีเข้มน้อยกว่าของชิมแปนซีโดยเฉลี่ย ทำให้ขนของมนุษย์มองเห็นได้ยากกว่า[51]

สีของผิวหนังและขนมนุษย์กำหนดโดยการมีอยู่ของสารสี เรียกว่า เมลานิน สีผิวหนังมนุษย์มีตั้งแต่น้ำตาลเข้มไปถึงชมพูซีด สีขนมนุษย์มีตั้งแต่ขาวถึงน้ำตาลถึงแดงถึงดำที่พบมากที่สุด[52] ความเข้มข้นของเมลานินในผมจางไปเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ทำให้ผมกลายเป็นสีเทาหรือกระทั่งขาว นักวิจัยส่วนมากเชื่อว่า การเข้มของผิวหนังเป็นการปรับตัวซึ่งวิวัฒนาการมาเป็นการป้องกันต่อการแผ่รังสีอัลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ดี เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการถกเถียงกันว่า สีผิวหนังเฉพาะเป็นการปรับตัวเพื่อรักษาสมดุลโฟเลต ซึ่งถูกทำลายโดยการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต และวิตามินดี ซึ่งต้องการแสงอาทิตย์ในการสร้างขึ้น[53] การมีสารสีจับผิวหนังของมนุษย์ร่วมสมัยนั้นจัดช่วงชั้นตามภูมิศาสตร์ และโดยทั่วไปแล้วมีความสัมพันธ์กับระดับของการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต ผิวหนังมนุษย์ยังสามารถมีสีเข้มขึ้นได้ (เช่น การอาบแดด) เพื่อสนองต่อการสัมผัสการแผ่รังสีอัลตราไวโอเล็ต[54][55] มนุษย์มีแนวโน้มอ่อนแอทางกายภาพกว่าไพรเมตอื่นที่มีขนาดเท่าๆ กัน โดยมนุษย์เพศชายหนุ่มภายใต้เงื่อนไขยังแสดงว่าไม่อาจเทียบได้กับความแข็งแกร่งของอุรังอุตังเพศเมีย ซึ่งแข็งแรงกว่าอย่างน้อยสามเท่า[56]

โครงสร้างเชิงกรานมนุษย์แตกต่างไปจากของไพรเมตอื่น เช่นเดียวกับนิ้วเท้า ผลคือ มนุษย์วิ่งระยะสั้นได้ช้ากว่าสัตว์อื่นส่วนมาก แต่เป็นหนึ่งในบรรดานักวิ่งระยะไกลที่ดีที่สุดในอาณาจักรสัตว์[57] ขนตามร่างกายที่บางกว่าและต่อมเหงื่อที่มีมากกว่าของมนุษย์ยังช่วยหลีกเลี่ยงอาการเพลียแดดขณะวิ่งเป็นระยะทางไกลๆ ด้วยเหตุนี้ การล่าต่อเนื่อง (persistence hunting) จึงมีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดสำหรับมนุษย์ช่วงแรกๆ วิธีการนี้ เหยื่อจะถูกไล่ติดตามกระทั่งเหนื่อยอย่างแท้จริง วิธีนี้ยังอาจช่วยให้ประชากรมนุษย์โครมันยองช่วงแรกๆ เอาชนะประชากรนีแอนเดอร์ธัลในการแย่งชิงอาหาร ในทางตรงกันข้าม นีแอนเดอร์ธัลซึ่งมีความแข็งแรงทางกายมากกว่าจะประสบความยากลำบากกว่าเมื่อต้องล่าสัตว์ด้วยวิธีนี้ และมีแนวโน้มล่าสัตว์ที่ใหญ่กว่าในพื้นที่ปิด การแลกเปลี่ยนข้อได้เปรียบนี้ของเชิงกรานมนุษย์สมัยใหม่คือ การคลอดเด็กจะยากและอันตรายกว่ามาก

องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์ในบุคคลหนัก 60 กก.[58]
องค์ประกอบ น้ำหนัก  % อะตอม
ออกซิเจน 38.8 กก. 25.5
คาร์บอน 10.9 กก. 9.5
ไฮโดรเจน 6.0 กก. 63.0
ไนโตรเจน 1.9 กก. 1.4
อื่นๆ 2.4 กก. 0.6

โครงสร้างไหล่มนุษย์สมัยใหม่เอื้อให้ขว้างปาอาวุธได้ ซึ่งสำหรับคู่แข่งนีแอนเดอร์ธัลแล้ว การขว้างปาอาวุธนั้นยากกว่ามากหรือกระทั่งเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้อย่างมีประสิทธิภาพเลย[59]

สูตรฟันของมนุษย์เป็นดังนี้ Upper: 2.1.2.3, lower: 2.1.2.3 มนุษย์มีสัดส่วนเพดานปากสั้นกว่าและฟันเล็กกว่ามากเมื่อเทียบกับไพรเมตอื่น มนุษย์เป็นเพียงไพรเมตชนิดเดียวที่สั้นและค่อนข้างราบ มนุษย์มีลักษณะฟันเก โดยมีช่องว่างจากฟันที่เสียไปโดยปกติแล้วจะถูกอุดอย่างรวดเร็วในวัยเด็ก มนุษย์ค่อยๆ เสียฟันกรามซี่สุดท้ายไป โดยในบางรายไม่มีมาแต่กำเนิด[60]

[แก้] พันธุศาสตร์

มนุษย์เป็นสปีชีส์ยูคาริโอต แต่ละเซลล์ดิพลอยด์มีโครโมโซมสองชุด ชุดละ 23 โครโมโซม โดยโครโมโซมได้รับมาจากพ่อและแม่คนละชุด มนุษย์มีโครโมโซมร่างกาย 22 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่ การประเมินในปัจจุบันว่า มนุษย์มียีนประมาณ 22,000 ยีน[61] เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่น มนุษย์มีการกำหนดเพศ XY ดังนั้น ผู้หญิงมีโครโมโซมเพศ XX และชายมี XY โครโมโซมเอกซ์มียีนจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่บนโครโมโซมวาย ซึ่งหมายความว่า โรคยีนด้อยซึ่งร่วมกับยีนถ่ายทอดทางโครโมโซมเอกซ์ เช่น ฮีโมฟีเลีย กระทบต่อผู้ชายบ่อยกว่าหญิง

[แก้] วงจรชีวิต

เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่น การสืบพันธุ์ของมนุษย์เป็นการปฏิสนธิภายในโดยการร่วมเพศ (หรือเพศสัมพันธ์) ระหว่างกระบวนการนี้ องคชาติตั้งของชายถูกสอดใส่เข้าไปในช่องคลอดของหญิง กระทั่งชายหลั่งน้ำอสุจิ ซึ่งบรรจุสเปิร์ม สเปิร์มเดินทางผ่านช่องคลอดและปากมดลูกเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับโอวุม (ไข่) ในเวลาที่มีการปฏิสนธิและการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้วนั้น สภาวะตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นในมดลูกของหญิงตามมา

ไซโกตแบ่งตัวภายในมดลูกของหญิงกลายมาเป็นเอ็มบริโอ (คัพภะ) ซึ่งหลังสภาวะตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ (9 เดือน) เอ็มบริโอจะกลายเป็นทารกในครรภ์ หลังช่วงเวลานี้ ทารกในครรภ์ที่โตเต็มที่แล้วก็จะคลอดออกจากร่างของหญิง และหายใจด้วยตัวเองเป็นทารกครั้งแรก ณ จุดนี้ วัฒนธรรมสมัยใหม่ส่วนใหญ่ยอมรับว่า ทารกเป็นบุคคลซึ่งได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเต็มที่ แม้บางเขตอำนาจขยายความเป็นมนุษย์ (personhood) หลากหลายระดับไปจนถึงทารกมนุษย์ในครรภ์ ขณะที่ยังอยู่ในมดลูก

เมื่อเทียบกับสปีชีส์อื่น การคลอดมนุษย์เป็นสิ่งอันตราย การคลอดซึ่งเจ็บปวดที่กินเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงหรือนานกว่านั้นไม่ใช่เรื่องแปลก และบางครั้งนำไปสู่การเสียชีวิตของแม่ หรือเด็ก สาเหตุมาจากทั้งเส้นรอบวงหัวที่ใหญ่ของทารกในครรภ์ (เพื่อบรรจุสมอง) และเชิงกรานที่ค่อนข้างแคบของแม่ (ลักษณะซึ่งจำเป็นให้การเคลื่อนไหวสองเท้าประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นผลมาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ)[62][63] โอกาสการคลอดลูกสำเร็จเพิ่มขึ้นอย่างมากระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในประเทศร่ำรวย ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์ ในทางกลับกัน การตั้งครรภ์และการคลอดลูกตามธรรมชาติยังเป็นประสบการณ์อันตรายในภูมิภาคกำลังพัฒนาของโลก โดยมีอัตรามารดาตายมากกว่าประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 100 เท่า[64]

ในประเทศพัฒนาแล้ว ทารกแรกเกิดหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม และสูง 50-60 เซนติเมตร[65] อย่างไรก็ดี ทารกในประเทศกำลังพัฒนามีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเป็นธรรมดา และเป็นสาเหตุของอัตราตายทารกที่สูงในภูมิภาคเหล่านี้[66] มนุษย์แรกเกิดช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เติบโตขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี กระทั่งบรรลุพัฒนาการทางเพศเมื่ออายุได้ 12 ถึง 15 ปี หญิงยังมีพัฒนาการทางกายภาพกระทั่งอายุ 18 ปี ขณะที่พัฒนาการของชายสิ้นสุดเมื่ออายุได้ 21 ปี ระยะชีวิตมนุษย์สามารถแบ่งได้เป็นหลายขั้น: ทารก เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ตอนต้น ผู้ใหญ่และวัยชรา อย่างไรก็ดี ความยาวของแต่ละขั้นนี้ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและยุคสมัย เมื่อเทียบกับไพรเมตอื่นแล้ว มนุษย์มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว (growth spurt) ผิดปกติในช่วงวัยรุ่น โดยร่างกายมีขนาดใหญ่ขึ้น 25% สัตว์อื่น ตัวอย่างเช่น ชิมแปนซีใหญ่ขึ้นเพียง 14% และไม่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว[67] มนุษย์มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วนี้เป็นไปได้ว่าจำเป็นเพื่อให้เด็กมีร่างกายเล็กกระทั่งเจริญเต็มที่ทางจิตใจ มนุษย์เป็นหนึ่งในไม่กี่สปีชีส์ที่หญิงหมดประจำเดือน มีการเสนอว่าการหมดประจำเดือนเพิ่มความสำเร็จในการสืบพันธุ์โดยรวมของหญิง โดยการให้หญิงใช้เวลาและทรัพยากรมากขึ้นในลูกหลานที่มีอยู่แล้ว มากกว่าที่จะให้กำเนิดลูกจนถึงวัยชรา[68][69]

ทั่วโลกมีอายุคาดเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างสำคัญ ประเทศพัฒนาแล้วโดยทั่วไปจะสูงวัย โดยมีอายุมัธยฐานที่ราว 40 ปี ในประเทศกำลังพัฒนา อายุมัธยฐานอยู่ระหว่าง 15 ถึง 20 ปี อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดในฮ่องกง คือ 84.8 ปีสำหรับหญิง และ 78.9 ปีสำหรับชาย ขณะที่สวาซิแลนด์ คือ 31.3 ปีสำหรับทั้งสองเพศ ซึ่งอาจมีสาเหตุหลักมาจากโรคเอดส์[70] ขณะที่ชาวยุโรปหนึ่งในห้ามีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีชาวแอฟริกาเพียงหนึ่งในยี่สิบที่มีอายุ 60 ขึ้นไป[71] จำนวนผู้มีอายุ 100 ปีขึ้นไปในโลก สหประชาชาติประเมินไว้ที่ 210,000 คน เมื่อ ค.ศ. 2002[72] ทั่วโลก มีชาย 81 คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเทียบกับหญิง 100 คนในกลุ่มอายุนั้น และในบรรดาที่มีอายุมากที่สุด มีชาย 53 คนต่อหญิง 100 คน

[แก้] ความแปรผันทางชีววิทยา

หลักฐานพันธุกรรมและโบราณคดีล่าสุดสนับสนุนแนวคิดล่าสุดที่ว่ามนุษย์สมัยใหม่มีแหล่งกำเนิดแห่งเดียวในแอฟริกาตะวันออก[73] โดยมีการอพยพครั้งแรกๆ เมื่อ 60,000 ปีที่แล้ว การศึกษาพันธุกรรมปัจจุบันได้แสดงว่า มนุษย์ในทวีปแอฟริกามีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากที่สุด[74] อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับลิงไม่มีหางใหญ่อื่นๆ ลำดับยีนของมนุษย์เป็นแบบเดียวกัน (homogeneous) ผิดธรรมดา[75][76][77][78] ความเด่นของความแปรผันทางพันธุกรรมเกิดขึ้นในกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมีเพียง 5 ถึง 15% จากความแปรพันทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างกลุ่ม[75]

[แก้] เชื้อชาติและกลุ่มชาติพันธุ์

ดูบทความหลักที่ เชื้อชาติ และ กลุ่มชาติพันธุ์
ห้าเชื้อชาติของบลูเมนบาช (Blumenbach)

ไม่มีความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเชื้อชาติในทางชีววิทยา นักโบราณคดีจำนวนน้อยสนับสนุนแนวคิดว่า "เชื้อชาติ" ของมนุษย์เป็นมโนทัศน์ชีววิทยาพื้นฐาน นักโบราณคดีส่วนมากยังยึดมั่นว่า คำว่า "เชื้อชาติ" ถือว่าเชื้อชาติเป็นกลุ่มที่ผูกพันกันอย่างชัดเจนด้วยลักษณะเฉพาะที่สำคัญ มักเป็นลำดับที่มีระเบียบและใช้เพื่ออ้างความชอบธรรมแก่ความไม่เท่าเทียมทางสังคมโดยปริยาย ด้วยเหตุผลเหล่านี้ นักโบราณคดีจึงมีแนวโน้มปฏิเสธการใช้คำว่า "เชื้อชาติ" เพื่ออธิบายความหลากหลายทางชีววิทยา พวกเขามักเห็นว่า "เชื้อชาติ" เป็นความนึกคิดทางสังคมซึ่งเสริมแต่งบนความแปรผันทางชีววิทยาที่ซ่อนอยู่ แต่ปิดบังบางส่วน[79][80][81] มุมมองขัดแย้งมีว่า เป็นไปได้ที่จะพูกถึง "เชื้อชาติ" โดยไม่ต้องทำการสันนิษฐานองค์ประกอบและลำดับขั้น และนักชีววิทยาบางคนและนักนิติวิทยาศาสตร์จำนวนมากใช้คำว่า "เชื้อชาติ" เพื่ออธิบายความแปรผันทางชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษแห่งทวีป (continental ancestry) เป็นที่ตกลงกันโดยทั่วไปว่า ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่าง รวมทั้งโรคที่พบได้ทั่วไปบางโรค สัมพันธ์กับบรรพบุรุษแห่งทวีปจากภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และบรรพบุรุษทางพันธุกรรมตามที่กำหนดโดยการระบุเชื้อชาตินั้นกำลังเป็นเครื่องมือแพร่หลายมากขึ้นในการประเมินความเสี่ยงทางการแพทย์[76][77][78] [82] [83] [84][85][86]

เมื่อกล่าวถึงสปีชีส์ตามธรรมชาติโดยทั่วไป คำว่า "เชื้อชาติ" นั้นเลิกใช้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสปีชีส์นั้นกระจายพันธุ์อย่างมีรูปแบบบนอาณาเขต ในความหมายโดยนัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ คำนี้ไม่อาจใช้ได้กับสปีชีส์ซึ่งพันธุกรรมเป็นแบบเดียวกันเช่นมนุษย์ ดังที่ระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วยเชื้อชาติ (ยูเนสโก ค.ศ. 1950)[87] การศึกษาพันธุกรรมได้พิสูจน์การปลอดพรมแดนทางชีววิทยาที่ชัดเจน ดังนั้น คำว่า "เชื้อชาติ" จึงพบใช้ในศัพท์เฉพาะทางวิทยาศาสตร์น้อยครั้ง ทั้งในโบราณคดีชีววทิยาและในพันธุศาสตร์มนุษย์[88] สิ่งที่ในอดีตถูกนิยามว่าเป็น "เชื้อชาติ" เช่น ขาว ดำ หรือเอเชีย ปัจจุบัน นิยามใหม่ว่า "กลุ่มชาติพันธุ์" หรือ "ประชากร" โดยสัมพันธ์กับสาขาที่พิจารณา[89] (สังคมวิทยา โบราณคดี พันธุศาสตร์)

[แก้] อาหาร

มนุษย์กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ด้วยความหลากหลายของแหล่งอาหารที่มีอยู่ในภูมิภาคที่อาศัยอยู่ และความหลากหลายของบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและศาสนา กลุ่มมนุษย์จึงได้เปิดรับอาหารหลายแบบ จากตั้งแต่มังสวิรัตินิยมไปจนถึงกินเนื้อสัตว์เป็นหลัก ในบางกรณี การจำกัดอาหารในมนุษย์สามารถนำไปสู่โรคขาดอาหารได้ อย่างไรก็ดี กลุ่มมนุษย์ที่เสถียรรับเอารูปแบบอาหารหลายแบบผ่านทั้งพันธุกรรมเฉพาะและขนบวัฒนธรรมที่จะใช้แหล่งอาหารที่สมดุลทางโภชนาการ[90] อาหารมนุษย์สะท้อนอย่างโดดเด่นในวัฒนธรรมมนุษย์ และได้นำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์การอาหาร

กระทั่งการพัฒนาการเกษตรเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่แล้ว โฮโม เซเปียนส์ ใช้วิธีการล่าสัตว์และเก็บของป่าเป็นวิธีการเก็บอาหารเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีทั้งแหล่งอาหารอยู่กับที่ (เช่น ผลไม้ ธัญพืช หัวของพืช และเห็ด ตัวอ่อนแมลงและสัตว์ทะเลพวกหอยและหมึก) กับการล่าสัตว์ป่า อันจะต้องถูกล่าและฆ่าเพื่อบริโภค[91] มีการเสนอว่าสมาชิกของ โฮโม เซเปียนส์ ได้ใช้ไฟเตรียมและทำอาหารตั้งแต่วิวัฒนาการเบนออกจาก Homo rhodesiensis (ซึ่งวิวัฒนาการมาจาก Homo erectus อีกทอดหนึ่ง)[92] ราวหนึ่งหมื่นปีที่แล้ว มนุษย์ได้พัฒนาการเกษตร ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงอาหารของมนุษย์ไปอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงอาหารนี้ยังอาจเปลี่ยนแปลงชีววิทยามนุษย์ด้วย เมื่อฟาร์มโคนมเป็นแหล่งอาหารอันอุดมแหล่งใหม่ จนนำไปสู่วิวัฒนาการความสามารถในการย่อยแลคโทสในผู้ใหญ่บางส่วน[93][94] เกษตรกรรมทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้น พัฒนาการของนคร และเพราะความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้น โรคติดเชื้อจึงแพร่กระจายเป็นวงกว้างขึ้นด้วย ประเภทของอาหารที่บริโภค และวิธีการเตรียมอาหาร แตกต่างกันตามเวลา สถานที่และวัฒนธรรม

โดยทั่วไป มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลาสองถึงแปดสัปดาห์โดยไม่มีอาหาร ขึ้นอยู่กับไขมันของร่างกายที่สะสมไว้ การมีชีวิตโดยปราศจากน้ำโดยทั่วไปจำกัดเพียงสามหรือสี่วันเท่านั้น มนุษย์ราว 36 ล้านคนเสียชีวิตทุกปีจากสาเหตุทางตรงหรือทางอ้อมที่เกี่ยวกับความหิวโหย[95] ทุพโภชนาการวัยเด็กนั้นพบทั่วไปและเป็นสาเหตุของภาระโรคทั่วโลก[96] อย่างไรก็ดี การกระจายอาหารทั่วโลกไม่เท่าเทียมกัน และความอ้วนในบรรดาบางประชากรมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายที่เพิ่มขึ้นในประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศ รวมถึงประเทศกำลังพัฒนาอีกส่วนหนึ่ง ประชากรหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกอ้วนเกิน[97] ขณะที่ประชากรสหรัฐอเมริกา 35% อ้วนเกิน[98] ความอ้วนเกิดจากการบริโภคแคลอรีเกินกว่าใช้หมด ดังนั้น น้ำหนักเพิ่มที่เกินมาโดยทั่วไปจึงเกิดจากอาหารไขมันสูงอุดมไปด้วยพลังงานและการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอร่วมกัน[97]

[แก้] การนอนหลับ

มนุษย์โดยทั่วไปออกหากินกลางวัน ความต้องการการนอนหลับโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่างเจ็ดถึงเก้าชั่วโมงต่อวันสำหรับผู้ใหญ่และเก้าถึงสิบชั่วโมงสำหรับเด็ก คนสูงวัยโดยทั่วไปนอนหลับหกถึงเจ็ดชั่วโมง แต่ในสังคมสมัยใหม่ การนอนหลับน้อยกว่าเท่านี้เป็นธรรมดา การขาดการนอนหลับนี้อาจมีผลกระทบด้านลบได้ การจำกัดการนอนหลับในผู้ใหญ่เหลือสี่ชั่วโมงต่อวันอย่างต่อเนื่องได้แสดงว่า สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในสภาพทางสรีระและจิตใจ รวมทั้งความล้า ความก้าวร้าวและความไม่สบายกาย[99]

[แก้] จิตวิทยา

สมองมนุษย์ จุดรวมระบบประสาทส่วนกลางในมนุษย์ ควบคุมระบบประสาทส่วนปลาย นอกเหนือไปจากควบคุมกิจกรรม "ต่ำกว่า" นอกอำนาจใจ หรืออัตโนวัติเป็นหลัก เช่น การหายใจและการย่อยอาหาร สมองยังเป็นที่ตั้งของคำสั่ง "สูงกว่า" เช่น ความคิด การให้เหตุผลและภาวะนามธรรม ขั้นตอนกระบวนการคิดเหล่านี้ประกอบเป็นจิต และ ร่วมกับผลพฤติกรรมของขั้นตอนเหล่านี้ มีการศึกษาในสาขาจิตวิทยา

สมองมนุษย์โดยทั่วไปได้รับการพิจารณาว่าสามารถทำกิจกรรมคำสั่งสูงกว่าเหล่านี้ได้ และเชื่อกันว่า "ฉลาด" กว่าโดยรวมมเมื่อเทียบกับสมองของสปีชีส์ใดๆ ที่ทราบ ขณะที่สปีชีส์อื่นซึ่งไม่ใช่มนุษย์บางสปีชี์สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างและใช้เครื่องมือพื้นๆ ได้ ซึ่งส่วนมากผ่านสัญชาตญาณและการล้อเลียน เทคโนโลยีมนุษย์ซับซ้อนกว่ามาก และวิวัฒนาและพัฒนาขึ้นตามเวลาอยู่เป็นนิตย์

แม้มนุษย์จะก้าวหน้ากว่าหลายสปีชีส์อย่างกว้างขวางในความสามารถคิด แต่ความสามารถเหล่านี้ส่วนมากทราบกันในรูปดั้งเดิมในบรรดาสปีชีส์อื่น มานุษยวิทยาสมัยใหม่โน้มเอียงต่อการรับรองทฤษฎีของชาลส์ ดาร์วินที่ว่า "ข้อแตกต่างในจิตระหว่างมนุษย์กับสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ แม้จะมากเพียงใด แน่นอนว่า คนละระดับกันเท่านั้นและไม่ได้ผิดแผกกันสิ้นเชิงเสียทีเดียว"

[แก้] ความรู้สึกตัวและความคิด

มนุษย์เป็นหนึ่งในไม่กี่สปีชีส์ที่ทราบว่าผ่านวิธีส่องกระจก (mirror test) เด็กมนุษย์ส่วนมากจะผ่านวิธีส่องกระจกเมื่ออายุได้ 18 เดือน อย่างไรก็ดี ประโยชน์ของการทดสอบนี้ที่ใช้เป็นการทดสอบความรู้สึกตัวอย่างแท้จริงนั้นเป็นที่ถกเถียงกัน และอาจเป็นสาระของระดับมากกว่าการแบ่งแยกชัดเจน ลิงถูกฝึกให้ใช้กฎนามธรรมกับงาน

สมองมนุษย์รับรู้โลกภายนอกผ่านประสาทสัมผัส และในปัจเจกมนุษย์แต่ละคนได้รับอิทธิพลอย่างมากจากอิทธิพลของผู้นั้นเอง นำไปสู่การมองการมีอยู่และการผ่านของเวลาเชิงจิตวิสัย มนุษย์กล่าวกันหลากหลายว่ามีความรู้สึกตัว การรู้ตัวเอง และจิต ซึ่งสอดคล้องคร่าว ๆ กับกระบวนการทางจิตของความคิด มนุษย์ยังกล่าวกันว่ามีคุณลักษณะ เช่น การรู้ตัวเอง ความรู้สึก ความฉลาด และความสามารถในการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างตนกับสิ่งแวดล้อมของตน ขอบเขตที่จิตสร้างหรือได้รับประสบการณ์โลกภายนอกยังเป็นหัวข้อถกเถียงกันอยู่ เช่นเดียวกับนิยามและความสมเหตุสมผลของหลายคำที่ใช้ข้างต้น ตัวอย่างเช่น นักปรัชญาปริชานศาสตร์ (cognitive science) แดเนียล เดนเน็ตต์ แย้งว่า ไม่มีสิ่งที่เป็นศูนย์กลางเรื่องเล่าที่เรียกว่า "จิต" แต่มีเพียงการรับและส่งความรู้สึกเข้าออกอยู่รวมกัน เหมือน "ซอฟต์แวร์" ต่าง ๆ ที่ทำงานขนานกัน นักจิตวิทยา บี.เอฟ. สกินเนอร์ แย้งว่า จิตเป็นการอธิบายเรื่องสมมุติที่เบนความสนใจจากสาเหตุทางสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม และสิ่งที่โดยทั่วไปมองว่าเป็น กระบวนการทางจิต อาจเข้าใจได้ว่าเป็นรูปแบบของพฤติกรรมทางวาจาภายใน

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Global Mammal Assessment Team (2008). Homo sapiens. In: IUCN 2009. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2009.2. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 03 March 2010.
  2. ^ "Human Evolution by The Smithsonian Institution's Human Origins Program". Human Origins Initiative. Smithsonian Institution. http://www.mnh.si.edu/anthro/humanorigins/ha/sap.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-08-30. 
  3. ^ Roberts, Sam. "U.N. Reports 7 Billion Humans, but Others Don’t Count on It", The New York Times, 31 October 2011. สืบค้นวันที่ 2011-11-07
  4. ^ Human evolution: the fossil evidence in 3D, by Philip L. Walker and Edward H. Hagen, Dept. of Anthropology, University of California, Santa Barbara. Retrieved April 5, 2005.
  5. ^ Green, Richard E.; Krause, Johannes; Ptak, Susan E.; Briggs, Adrian W.; Ronan, Michael T.; Simons, Jan F.; Du, Lei; Egholm, Michael; Rothberg, Jonathan M.; Paunovic, Maja; Pääbo, Svante (2006). "Analysis of one million base pairs of Neanderthal DNA". Nature 444 (ฉบับที่ 7117): 16, 330–336. doi:10.1038/nature05336. PMID 17108958. 
  6. ^ Mitchell, Alanna. "DNA Turning Human Story Into a Tell-All", NYTimes, January 30, 2012. สืบค้นวันที่ 2012-02-13
  7. ^ "Press Release 05-024: New Clues Add 40,000 Years to Age of Human Species". US National Science Foundation (NSF). January 13, 2006. http://www.nsf.gov/news/news_summ.jsp?cntn_id=102968. เรียกข้อมูลเมื่อ 2012-02-13. 
  8. ^ "Age of ancient humans reassessed", BBC News, February 16, 2005. สืบค้นวันที่ 2012-02-13
  9. ^ "The Oldest Homo Sapiens: Fossils Push Human Emergence Back To 195,000 Years Ago". ScienceDaily. February 23, 2005. http://www.sciencedaily.com/releases/2005/02/050223122209.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2012-02-13. 
  10. ^ Alemseged, Z.; Coppens, Y.; Geraads, D. (2002). "Hominid cranium from Homo: Description and taxonomy of Homo-323-1976-896". American Journal of Physical Anthropology 117 (ฉบับที่ 2): 103–112. doi:10.1002/ajpa.10032. PMID 11815945. 
  11. ^ Stoneking, Mark; Soodyall, Himla (1996). "Human evolution and the mitochondrial genome". Current Opinion in Genetics & Development 6 (ฉบับที่ 6): 731–736. doi:10.1016/S0959-437X(96)80028-1. 
  12. ^ Gill, Victoria. "Africa's genetic secrets unlocked", BBC News, May 1, 2009; the results were published in the online edition of the journal Science.
  13. ^ Wood, Bernard; Richmond, Brian G. (2000). "Human evolution: taxonomy and paleobiology". Journal of Anatomy 197 (ฉบับที่ 1): 19–60. doi:10.1046/j.1469-7580.2000.19710019.x. PMC 1468107. PMID 10999270. 
  14. ^ de Waal, Frans (1997). Bonobo. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-20535-9. 
  15. ^ Britten, Roy J. (2002). "Divergence between samples of chimpanzee and human DNA sequences is 5%, counting indels". Proceedings of the National Academy of Sciences USA 99 (ฉบับที่ 21): 13633–13635. doi:10.1073/pnas.172510699. PMC 129726. PMID 12368483. http://www.pnas.org/cgi/content/full/99/21/13633. 
  16. ^ Wildman, D.; Uddin, M.; Liu, G.; Grossman, L.; Goodman, M. (2003). "Implications of natural selection in shaping 99.4% nonsynonymous DNA identity between humans and chimpanzees: enlarging genus Homo". Proceedings of the National Academy of Sciences USA 100 (ฉบับที่ 12): 7181–7188. doi:10.1073/pnas.1232172100. PMC 165850. PMID 12766228. http://www.pnas.org/cgi/content/full/100/12/7181. 
  17. ^ Ruvolo, Maryellen (1997). "Molecular phylogeny of the hominoids: inferences from multiple independent DNA sequence data sets". Molecular Biology and Evolution 14 (ฉบับที่ 3): 248–265. PMID 9066793. http://mbe.oxfordjournals.org/cgi/reprint/14/3/248. 
  18. ^ Brunet, M.; Guy, F.; Pilbeam, D.; Mackaye, H.; Likius, A.; Ahounta, D.; Beauvilain, A.; Blondel, C.; Bocherens, H.; Boisserie, J.; De Bonis, L.; Coppens, Y.; Dejax, J.; Denys, C.; Duringer, P.; Eisenmann, V.; Fanone, G.; Fronty, P.; Geraads, D.; Lehmann, T.; Lihoreau, F.; Louchart, A.; Mahamat, A.; Merceron, G.; Mouchelin, G.; Otero, O.; Pelaez Campomanes, P.; Ponce De Leon, M.; Rage, J.; Sapanet, M.; Schuster, M.; Sudre, J.; Tassy, P.; Valentin, X.; Vignaud, P.; Viriot, L.; Zazzo, A.; Zollikofer, C. (2002). "A new hominid from the Upper Miocene of Chad, Central Africa". Nature 418 (ฉบับที่ 6894): 145–151. doi:10.1038/nature00879. PMID 12110880. http://www.nature.com/nature/journal/v418/n6894/full/nature00879.html. 
  19. ^ Vančata1 V.; Vančatová, M.A. (1987). "Major features in the evolution of early hominoid locomotion". Human Evolution 2 (ฉบับที่ 6): 517–537. doi:10.1007/BF02437426. 
  20. ^ Park, Min S.; Nguyen, Andrew D.; Aryan, Henry E.; U, Hoi Sang; Levy, Michael L.; Semendeferi, Katerina (2007). "Evolution of the human brain: changing brain size and the fossil record". Neurosurgery 60 (ฉบับที่ 3): 555–562. doi:10.1227/01.NEU.0000249284.54137.32. PMID 17327801. 
  21. ^ Bruner, Emiliano (2007). "Cranial shape and size variation in human evolution: structural and functional perspectives" (PDF). Child's Nervous System 23 (ฉบับที่ 12): 1357–1365. doi:10.1007/s00381-007-0434-2. PMID 17680251. http://www.emilianobruner.it/pdf/Bruner2007_CNS.pdf. 
  22. ^ Brues, Alice M.; Snow, Clyde C. (1965). "Physical Anthropology". Biennial Review of Anthropology 4 (ฉบับที่): 1–39. http://books.google.com/books?id=9WemAAAAIAAJ&pg=PA1. 
  23. ^ Boyd, Robert; Silk, Joan B. (2003). How Humans Evolved. New York, New York: Norton. ISBN 0-393-97854-0. 
  24. ^ Dobzhansky, Theodosius (1963). "Anthropology and the natural sciences—the problem of human evolution". Current Anthropology 4 (ฉบับที่ 2): 138–148. 
  25. ^ Wade, Nicholas. "Still Evolving, Human Genes Tell New Story", The New York Times, March 7, 2007. สืบค้นวันที่ 2012-02-13
  26. ^ Wolman, David (April 3, 2008). Fossil Feces Is Earliest Evidence of N. America Humans. news.nationalgeographic.com. http://news.nationalgeographic.com/news/2008/04/080403-first-americans.html. 
  27. ^ Dr. D.R.Johnson. "Human Evolution : Lower and Middle Pleistocene - Homo erectus and Homo sapiens : Lecture 1 of 6". Faculty of Biological Sciences, University of Leeds. 
  28. ^ McKie, Robin. "How Neanderthals met a grisly fate: devoured by humans", The Observer, May 17, 2009. สืบค้นวันที่ 2012-02-14
  29. ^ Wood, Bernard A. (2009). "Where does the genus Homo begin, and how would we know?". In Grine, Frederick E.; Fleagle, John G.; Leakey, Richard E. (eds). The First Humans: Origin and Early Evolution of the Genus Homo. London, UK: Springer. pp. 17–27. ISBN 978-1-4020-9979-3. http://books.google.com/books?id=ITp_RnsPfzQC&pg=PA17. 
  30. ^ Eswaran, Vinayak; Harpending, Henry; Rogers, Alan R. (July 2005). "Genomics refutes an exclusively African origin of humans" (PDF). Journal of Human Evolution 49 (ฉบับที่ 1): 1–18. doi:10.1016/j.jhevol.2005.02.006. PMID 15878780. http://harpending.humanevo.utah.edu/Documents/eswaran%20et%20al%202005%20genomics%20refutes%20exclusively%20african%20origin%20jhe.pdf. 
  31. ^ Jorde LB, Rogers AR, Bamshad M, Watkins WS, Krakowiak P, Sung S, Kere J, Harpending HC. (1997). "Microsatellite diversity and the demographic history of modern humans" (PDF). Proc Natl Acad Sci USA 94 (ฉบับที่ 7): 3100–3. PMC 20328. PMID 9096352. http://www.pnas.org/content/94/7/3100.full.pdf. 
  32. ^ Harpending HC, Batzer MA, Gurven M, Jorde LB, Rogers AR, Sherry ST. (1998). "Genetic traces of ancient demography" (PDF). Proc Natl Acad Sci USA 95 (ฉบับที่ 4): 1961–7. PMC 19224. PMID 9465125. http://www.pnas.org/content/95/4/1961.full.pdf. 
  33. ^ "Supervolcanoes". BBC2. March 2004. http://www.bbc.co.uk/science/horizon/1999/supervolcanoes_script.shtml. เรียกข้อมูลเมื่อ 2012-02-13. 
  34. ^ Thornton, Bruce (2002). Greek Ways: How the Greeks Created Western Civilization. San Francisco, CA, USA: Encounter Books. p. 1-14. ISBN 1-893554-57-0. http://books.google.fr/books?id=fa6swJv64xkC&printsec=frontcover&dq=Greek+Ways:+How+the+Greeks+Created+Western+Civilization&hl=en&sa=X&ei=5O1xT__KCImGhQfgztC4AQ&redir_esc=y#v=onepage&q=Greek%20Ways%3A%20How%20the%20Greeks%20Created%20Western%20Civilization&f=false. 
  35. ^ "Internet Usage Statistics - The Internet Big Picture". internetworldstats.com/. http://www.internetworldstats.com/stats.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 19 November 2010. 
  36. ^ "Reuters homepage". Reuters. http://investing.reuters.co.uk/news/articleinvesting.aspx?type=media&storyID=nL29172095. เรียกข้อมูลเมื่อ 19 November 2010. 
  37. ^ Pimm S, Raven P, Peterson A, Sekercioglu CH, Ehrlich PR (2006). "Human impacts on the rates of recent, present, and future bird extinctions". Proc. Natl. Acad. Sci. U.S.A. 103 (ฉบับที่ 29): 10941–6. doi:10.1073/pnas.0604181103. PMC 1544153. PMID 16829570. 
    *Barnosky AD, Koch PL, Feranec RS, Wing SL, Shabel AB (2004). "Assessing the causes of late Pleistocene extinctions on the continents". Science 306 (ฉบับที่ 5693): 70–5. doi:10.1126/science.1101476. PMID 15459379. 
  38. ^ Lewis OT (2006). "Climate change, species-area curves and the extinction crisis" (PDF). Philos. Trans. R. Soc. Lond., B, Biol. Sci. 361 (ฉบับที่ 1465): 163–71. doi:10.1098/rstb.2005.1712. PMC 1831839. PMID 16553315. http://www.journals.royalsoc.ac.uk/content/711761513317h856/fulltext.pdf. 
  39. ^ Nancy Atkinson (2009-03-26). "Soyuz Rockets to Space; 13 Humans Now in Orbit". Universetoday.com. http://www.universetoday.com/27924/soyuz-rockets-to-space-13-humans-now-in-orbit/. เรียกข้อมูลเมื่อ 2011-12-10. 
  40. ^ Kraft, Rachel (December 11, 2010). "JSC celebrates ten years of continuous human presence aboard the International Space Station". JSC Features. Johnson Space Center. http://www.jsc.nasa.gov/jscfeatures/articles/000000945.html. 
  41. ^ "World's population reaches six billion", BBC News, August 5, 1999. สืบค้นวันที่ February 5, 2008
  42. ^ Whitehouse, David. "Half of humanity set to go urban", BBC News, May 19, 2005
  43. ^ Urban, Suburban, and Rural Victimization, 1993–98 U.S. Department of Justice, Bureau of Justice Statistics,. Accessed 29 Oct 2006
  44. ^ Scientific American (1998). Evolution and General Intelligence: Three hypotheses on the evolution of general intelligence.
  45. ^ "Climate Change 2001: Working Group I: The Scientific Basis". grida.no/. http://www.grida.no/climate/ipcc_tar/wg1/007.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-05-30. 
  46. ^ American Association for the Advancement of Science. Foreword. AAAS Atlas of Population & Environment.
  47. ^ Wilson, E.O. (2002). in The Future of Life.
  48. ^ de Beer H (2004). "Observations on the history of Dutch physical stature from the late-Middle Ages to the present". Econ Hum Biol 2 (ฉบับที่ 1): 45–55. doi:10.1016/j.ehb.2003.11.001. PMID 15463992. 
  49. ^ "Pygmy." Britannica Concise Encyclopedia. Encyclopædia Britannica, Inc., 2006. Answers.com Accessed 30 Oct. 2006. http://www.answers.com/topic/pygmy
  50. ^ Human weight - ArticleWorld
  51. ^ Why Humans and Their Fur Parted Way by Nicholas Wade, New York Times, August 19, 2003.
  52. ^ Rogers, Alan R., Iltis, David & Wooding, Stephen (2004). "Genetic variation at the MC1R locus and the time since loss of human body hair". Current Anthropology 45 (ฉบับที่ 1): 105–108. doi:10.1086/381006. 
  53. ^ Jablonski, N.G. & Chaplin, G. (2000). The evolution of human skin coloration (pdf), 'Journal of Human Evolution 39: 57–106.
  54. ^ Harding RM, Healy E, Ray AJ et al. (April 2000). "Evidence for variable selective pressures at MC1R". Am. J. Hum. Genet. 66 (ฉบับที่ 4): 1351–61. doi:10.1086/302863. PMC 1288200. PMID 10733465. 
  55. ^ Robin, Ashley (1991). Biological Perspectives on Human Pigmentation. Cambridge: Cambridge University Press.
  56. ^ Schwartz, Jeffrey (1987). The Red Ape: Orangutans and Human Origins. Cambridge, MA: Westview Press. p. 286. ISBN 0813340640. 
  57. ^ Parker-Pope, Tara. "The Human Body Is Built for Distance", The New York Times, October 27, 2009
  58. ^ Burton, George (2000). Chemical Storylines (2 ed.). Oxford, UK: Heinemann. p. 3. ISBN 9780435631192. http://books.google.com/books?id=zvbV4M0-YdEC&pg=PA3. 
  59. ^ "Were Neanderthals stoned to death by modern humans?". New Scientist. 20 November 2008. http://www.newscientist.com/article/dn16091-were-neanderthals-stoned-to-death-by-modern-humans.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2011-12-10. 
  60. ^ Collins, Desmond (1976). The Human Revolution: From Ape to Artist. p. 208. 
  61. ^ Pertea, Mihaela; Salzberg, Steven L. (2010). "Between a chicken and a grape: estimating the number of human genes". Genome Biology 11 (ฉบับที่ 5): 206. doi:10.1186/gb-2010-11-5-206. PMC 2898077. PMID 20441615. 
  62. ^ LaVelle, M. (1995). "Natural selection and developmental sexual variation in the human pelvis". American Journal of Physical Anthropology 98 (ฉบับที่ 1): 59–72. doi:10.1002/ajpa.1330980106. PMID 8579191. 
  63. ^ Correia, H.; Balseiro, S.; De Areia, M. (2005). "Sexual dimorphism in the human pelvis: testing a new hypothesis". Homo 56 (ฉบับที่ 2): 153–160. doi:10.1016/j.jchb.2005.05.003. PMID 16130838. 
  64. ^ Rush, David (2000). "Nutrition and maternal mortality in the developing world". American Journal of Clinical Nutrition 72 (ฉบับที่ 1 Suppl): 212S–240S. PMID 10871588. http://www.ajcn.org/content/72/1/212S.full. 
  65. ^ "Low Birthweight". Archived from the original on May 13, 2007. http://web.archive.org/web/20070513150431/http://www.childinfo.org/areas/birthweight/. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-05-30. 
  66. ^ Khor, G. (2003). "Update on the prevalence of malnutrition among children in Asia". Nepal Medical College Journal 5 (ฉบับที่ 2): 113–122. PMID 15024783. 
  67. ^ Leakey, Richard; Lewin, Roger (1993). Origins Reconsidered: In Search of What Makes Us Human. New York, New York: Anchor Books. ISBN 978-0-385-46792-6. 
  68. ^ Diamond, Jared (1997). Why is Sex Fun? The Evolution of Human Sexuality. New York, New York: Basic Books. pp. 167–170. ISBN 0-465-03127-7. 
  69. ^ Peccei, Jocelyn Scott (2001). "Menopause: adaptation or epiphenomenon?" (PDF). Evolutionary Anthropology 10 (ฉบับที่ 2): 47–57. doi:10.1002/evan.1013. http://www.biology.ed.ac.uk/public/conferences/evolbiol2006/papers/Peccei.pdf. 
  70. ^ "Human Development Report 2006," United Nations Development Programme, pp. 363–366, November 9, 2006
  71. ^ The World Factbook, U.S. Central Intelligence Agency. Retrieved April 2, 2005.
  72. ^ U.N. Statistics on Population Ageing, United Nations press release, February 28, 2002. Retrieved April 2, 2005.
  73. ^ Liu, Hua; Prugnolle, Franck; Manina, Andrea; Balloux, François (2006). "A geographically explicit genetic model of worldwide human-settlement history". The American Journal of Human Genetics 79 (ฉบับที่ 2): 230–237. doi:10.1086/505436. PMC 1559480. PMID 16826514. 
  74. ^ Jorde, L.; Watkins, W; Bamshad, M; Dixon, M; Ricker, C.; Seielstad, M.; Batzer, M. (2000). "The distribution of human genetic diversity: a comparison of mitochondrial, autosomal, and Y-chromosome data". American Journal of Human Genetics 66 (ฉบับที่ 3): 979–988. doi:10.1086/302825. PMC 1288178. PMID 10712212. 
  75. ^ 75.0 75.1 Race, Ethnicity, and Genetics Working Group (2005). "The use of racial, ethnic, and ancestral categories in human genetics research". American Journal of Human Genetics 77 (ฉบับที่ 4): 519–532. doi:10.1086/491747. PMC 1275602. PMID 16175499. 
  76. ^ 76.0 76.1 Bamshad, Michael; Wooding, Stephen; Salisbury, Benjamin A.; Stephens, J. Clairborne (2004). "Deconstructing the relationship between genetics and race". Nature Reviews Genetics 5 (ฉบับที่ 8): 598–609. doi:10.1038/nrg1401. PMID 15266342. 
  77. ^ 77.0 77.1 Tishkoff, Sarah A.; Kidd, Kenneth K. (2004). "Implications of biogeography of human populations for 'race' and medicine". Nature Genetics 36 (ฉบับที่ 11 Suppl): S21–27. doi:10.1038/ng1438. PMID 15507999. 
  78. ^ 78.0 78.1 Jorde, Lynn B.; Wooding, Stephen P. (2004). "Genetic variation, classification and 'race'". Nature Genetics 36 (ฉบับที่ 11 Suppl): S28–33. doi:10.1038/ng1435. PMID 15508000. 
  79. ^ Marks, J (1995). Human biodiversity: genes, race, and history. New York: Aldine de Gruyter. ISBN 0-585-39559-4. 
  80. ^ AAA (1998-05-17). "American Anthropological Association Statement on "Race"". Aaanet.org. http://www.aaanet.org/stmts/racepp.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-04-18. 
  81. ^ Smedley, Audrey (2007-March-14-17). The History of the Idea of Race... and Why It Matters. presented at the conference “Race, Human Variation and Disease: Consensus and Frontiers” sponsored by the American Anthropological Association (AAA). http://www.understandingrace.org/resources/pdf/disease/smedley.pdf. 
  82. ^ Ian Whitmarsh and David S. Jones, 2010, What's the Use of Race? Modern Governance and the Biology of Difference, MIT press. Page 188. "Far from waning in the age of molecular genetics, race has been resurgent in biomedical discourse, especially in relation to a torrent of new interest in human biological variation and its quantification."
  83. ^ Templeton, Alan R. (1998). "Human races: a genetic and evolutionary perspective" (PDF). American Anthropologist 100 (ฉบับที่ 3): 632–650. http://www.realfuture.org/GIST/Readings/Templeton(1998).pdf. 
  84. ^ Collins FS (November 2004). "What we do and don't know about 'race', 'ethnicity', genetics and health at the dawn of the genome era". Nature Genetics 36 (ฉบับที่ 11 Suppl): S13–5. doi:10.1038/ng1436. PMID 15507997. 
  85. ^ Wallace, Robert (2003). "A Racialized Medical Genomics: Shiny, Bright and Wrong". Race: The Power of an Illusion. http://www.pbs.org/race/000_About/002_04-background-01-13.htm. 
  86. ^ Garcia, Richard (2003). "The misuse of race in medical diagnosis". Race: The Power of an Illusion. http://www.pbs.org/race/000_About/002_04-background-01-y.htm.  Reprinted from: Garcia RS (May 2003). "The misuse of race in medical diagnosis". The Chronicle of Higher Education 49 (ฉบับที่ 35): B15. PMID 15287125. 
  87. ^ "The Race question; UNESCO and its programme; Vol.:3; 1950 - Publication 791" (PDF). http://unesdoc.unesco.org/images/0012/001282/128291eo.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ 2011-12-10. 
  88. ^ Vogel, Friedrich; Motulsky, Arno G. (1997). Human Genetics: Problems and Approaches (3rd ed.). Heidelberg, Germany: Springer. pp. 610–611. ISBN 978-3-540-60290-3. http://books.google.com/books?id=Rbq0j5ZjhGgC&pg=PA610. 
  89. ^ "American Anthropological Association Response to OMB Directive 15: Race and Ethnic Standards for Federal Statistics and Administrative Reporting". American Anthropological Association. Sept 1997. http://www.aaanet.org/gvt/ombdraft.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2012-02-12. 
  90. ^ American Dietetic, Association; Dietitians Of, Canada (2003). "Vegetarian Diets". Journal of the American Dietetic Association 103 (ฉบับที่ 6): 748–765. doi:10.1053/jada.2003.50142. PMID 12778049. online copy available
  91. ^ Cordain L, Eaton SB, Sebastian A et al. (February 2005). "Origins and evolution of the Western diet: health implications for the 21st century". Am. J. Clin. Nutr. 81 (ฉบับที่ 2): 341–54. PMID 15699220. 
  92. ^ Ulijaszek SJ (November 2002). "Human eating behaviour in an evolutionary ecological context". Proc Nutr Soc 61 (ฉบับที่ 4): 517–26. doi:10.1079/PNS2002180. PMID 12691181. 
  93. ^ Krebs JR (September 2009). "The gourmet ape: evolution and human food preferences". Am. J. Clin. Nutr. 90 (ฉบับที่ 3): 707S–711S. doi:10.3945/ajcn.2009.27462B. PMID 19656837. 
  94. ^ Holden C, Mace R (October 1997). "Phylogenetic analysis of the evolution of lactose digestion in adults". Hum. Biol. 69 (ฉบับที่ 5): 605–28. PMID 9299882. 
  95. ^ United Nations Information Service. “Independent Expert On Effects Of Structural Adjustment, Special Rapporteur On Right To Food Present Reports: Commission Continues General Debate On Economic, Social And Cultural Rights”. United Nations, March 29, 2004, p. 6.
  96. ^ Murray C, Lopez A (1997). "Global mortality, disability, and the contribution of risk factors: Global Burden of Disease Study". Lancet 349 (ฉบับที่ 9063): 1436–42. doi:10.1016/S0140-6736(96)07495-8. PMID 9164317. 
  97. ^ 97.0 97.1 Haslam DW, James WP (October 2005). "Obesity". Lancet 366 (ฉบับที่ 9492): 1197–209. doi:10.1016/S0140-6736(05)67483-1. PMID 16198769. 
  98. ^ Catenacci VA, Hill JO, Wyatt HR (September 2009). "The obesity epidemic". Clin. Chest Med. 30 (ฉบับที่ 3): 415–44, vii. doi:10.1016/j.ccm.2009.05.001. PMID 19700042. 
  99. ^ Grandner, Michael A.; Patel, Nirav P.; Gehrman, Philip R.; Perlis, Michael L.; Pack, Allan I. (2010). "Problems associated with short sleep: bridging the gap between laboratory and epidemiological studies". Sleep Medicine Reviews 14 (ฉบับที่ 4): 239–47. doi:10.1016/j.smrv.2009.08.001. PMC 2888649. PMID 19896872. 

[แก้] หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Freeman, Scott; Jon C. Herron, Evolutionary Analysis (4th ed.) Pearson Education, Inc., 2007. ISBN 0-13-227584-8 pages 757–761.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น