ช้างเอเชีย
- สำหรับความหมายอื่นของคำว่าช้าง ดู ช้าง (แก้ความกำกวม)
ช้างเอเชีย ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: พาลิโอซีนยุคสุดท้าย-ปัจจุบัน[1] |
|
---|---|
ช้างเอเชียสายพันธุ์อินเดีย (Elephas maximus indicus) ในอุทยานแห่งชาติจิมคอร์เบตต์ในประเทศอินเดีย | |
ช้างเอเชียสายพันธุ์บอร์เนียว (E. m. borneensis) เป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดและใกล้สูญพันธุ์ที่สุด | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Proboscidea |
วงศ์: | Elephantidae |
สกุล: | Elephas |
สปีชีส์: | E. maximus |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | |
Elephas maximus Linnaeus, 1758 |
|
พันธุ์ย่อย | |
ถิ่นอาศัยของช้างเอเชีย |
ช้างเอเชีย (อังกฤษ: Asian elephant) จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae มีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา (Loxodonta africana) รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 60 ปี ซึ่งถือได้ว่ามีอายุยืนกว่าช้างแอฟริกา [3]
ลำตัวมีสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง โดยงวงของช้างเอเชียจะมีเพียงจะงอยเดียว ต่างจากช้างแอฟริกาที่มี 2 จะงอย ตัวผู้มีงายาวเรียก ช้างพลาย ถ้าไม่มีงาเรียก ช้างสีดอ ในฤดูผสมพันธุ์มีอาการดุร้ายมาก มีระยะเวลาตั้งท้องนานประมาณ 18-22 เดือน ออกลูกครั้งละตัว ตัวเมียเรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย[4] โผล่ออกมา ซึ่งงาของช้าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. งาปลี มีลำใหญ่วัดรอบประมาณ 15 นิ้ว แต่ยาวไม่มาก
2. งาหวาย หรืองาเครือ ขนาดวัดโดยรอบประมาณ 14 นิ้ว แต่ยาวรี
ช้างเป็นสัตว์กินพืช อยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง ช้างเอเชียส่วนใหญ่มีขนาดความสูงประมาณ 2-4 เมตร (7-12 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 3,000-5,000 กิโลกรัม (6,500-11,000 ปอนด์) ช้างเมื่อโตเต็มที่จะกินอาหารวันหนึ่งประมาณ 200 กิโลกรัม[5]
ช้างเอเชีย แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ย่อย ได้ดังนี้[6]
- ช้างศรีลังกา (E. m. maximus) จะมีรูปร่างขนาดใหญ่ ตัวสีดำ ขนาดใบหูใหญ่และมีสีกระจายมากบริเวณใบหู ใบหน้า งวงและลำตัว มักจะเป็นช้างสีดอหรือไม่มีงา เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในเกาะซีลอนหรือเกาะลังกา ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศศรีลังกาเท่านั้น ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกาตัวผู้ หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็นช้างสีดอ คือไม่มีงาคงมีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกาตัวผู้หรือช้างพลายมีงาน้อยมาก ส่วนตัวเมียเหมือนช้างเอเชียพันธุ์อื่นคือไม่มีงาแต่มีขนายเท่านั้น
- ช้างอินเดีย (E. m. indicus) ขนาดตัวจะเล็กกว่าชนิดแรก สีตามจุดต่างๆ จางกว่า เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียได้แก่ เนปาล, ภูฐาน, อินเดีย, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มณฑลยูนานในประเทศจีน และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยนั้นมีช้างเอเชียพันธุ์อินเดียกระจัดกระจายอยู่ในป่าตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ
- ช้างสุมาตรา (E. m. sumatranus) มีขนาดตัวเล็ก สีผิวจางมากที่สุด พบในมาเลเซีย เกาะสุมาตรา
- ช้างบอร์เนียว (E. m. borneensis) มีขนาดตัวเล็กที่สุด จนถูกเรียกว่าเป็น "ช้างแคระ" พบในตอนเหนือของเกาะบอร์เนียวใกล้กับรัฐซาบาห์และกาลิมันตันของมาเลเซีย
ช้างเอเชีย จัดเป็นสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงไว้ใช้งานประเภทต่าง ๆ มาแต่โบราณ เช่น ใช้เป็นพาหนะ ลากซุง หรือแม้แต่ในการสงคราม โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะนับถือช้างเป็นสัตว์ชั้นสูง โดยจะปรากฏเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ธงรูปช้าง, ตำราคชลักษณ์ เป็นต้น
ช้างถูกใช้ในประเพณีต่าง ๆ รวมทั้งเป็นราชพาหนะและสิ่งประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ โดยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่มีช้างเผือกไว้ในครอบครอง ถือว่าเป็นกษัตริย์ที่มีบุญบารมี เฉกเช่น สมเด็จพระจักรพรรดิราชในคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท[7]
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- ^ Haynes, G. 1993. Mammoths, mastodonts, and elephants: biology, behavior, and the fossil record. Cambridge University Press, Cambridge
- ^ จาก IUCN (อังกฤษ)
- ^ หน้า 93, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
- ^ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ^ หนังสือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก ISBN 974-87081-5-2
- ^ Asian elephant (อังกฤษ)
- ^ วีดีทัศน์สารคดีเรื่อง ตำราคชลักษณ์
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Elephas maximus จากวิกิสปีชีส์
- เว็บไซต์ช้าง (อังกฤษ)