เลียงผา
เลียงผา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Artiodactyla |
วงศ์: | Bovidae |
วงศ์ย่อย: | Caprinae |
สกุล: | Capricornis |
สปีชีส์: | C. sumatraensis |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | |
Capricornis sumatraensis (Bechstein, 1799) |
|
สปีชีส์ย่อย | |
|
|
ชื่อพ้อง | |
|
เลียงผา หรือ เยียงผา หรือ โครำ (อังกฤษ: Common serow, Mainland serow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง อยู่ในอันดับสัตว์กีบคู่
เนื้อหา |
[แก้] ข้อมูล
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง อยู่ในอันดับสัตว์กีบคู่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis sumatraensis วงศ์ Bovidae อันเป็นวงศ์เดียวกับแพะ, แกะ และวัว [1]
[แก้] รูปร่าง
มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแพะ ลำตัวสั้น ขายาว ขนมีเส้นเล็กและหยาบ ขนตามลำตัวมีสีเทาอมดำ บริเวณท้องจะมีสีอ่อนกว่า สีของเลียงผาวัยอ่อนจะมีสีเข้ม แต่จะอ่อนลงเรื่อย ๆ เมื่อโตตามวัย จนดูคล้ายกับสีเทา สีขนบริเวณหน้าแข้งหรือใต้หัวเข่ามีหลากหลาย บางตัวอาจมีสีดำ บางตัวอาจมีสีเทาหรือสีน้ำตาลเหลือง มีแผงคอยาวในบางตัวอาจพาดไปถึงหัวไหล่ มีต่อมขนาดใหญ่อยู่ใต้ตาเห็นได้ชัดเจน ริมฝีปากมีสีขาว หูยาวคล้ายลา มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีรูปร่างคล้ายเขาของแพะ แต่เขาตัวเมียจะสั้นกว่าตัวผู้
เลียงผามีขนาดความยาวลำตัวและหัว 140-155 เซนติเมตร ความยาวหาง 115-160 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 85-94 เซนติเมตร น้ำหนัก 85-154 กิโลกรัม
[แก้] ถิ่นกำเนิด
มีการกระจายพันธุ์ในแคว้นแคชเมียร์และแคว้นอัสสัมในภาคเหนือของอินเดีย, สิกขิม, ภูฏาน, พม่า, จีน, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย
[แก้] ที่อยู่อาศัย
มักอาศัยและหากินตามลำพังบนภูเขาสูงหรือหน้าผา ที่มีพุ่มไม้เตี้ยขึ้นอยู่ กินพืช เช่น ใบไม้และยอดไม้เป็นหลัก ปีนหน้าผาได้อย่างคล่องแคล่ว ออกหากินในเวลาเช้าตรู่ และพลบค่ำ นอนหลับพักผ่อนในเวลากลางวันตามพุ่มไม้ ชอบลับเขาตามต้นไม้หรือโขดหินที่เคยทำอยู่ประจำ มีนิสัยชอบถ่ายมูลซ้ำที่เดิม ว่ายน้ำเก่ง เคยมีรายงานหลายครั้งว่า สามารถว่ายน้ำข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง หรือว่ายไปมาระหว่างเกาะในทะเลได้ด้วย เมื่อพบศัตรูจะยืนอยู่นิ่ง ๆ ครู่หนึ่งแล้วจึงกระโจนหลบหนีไป มีประสาทหูและตาดีเยี่ยม จมูกรับกลิ่นดีมาก มีฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว
[แก้] การประกาศเป็นสัตว์สงวน
เลียงผา เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 สถานภาพปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์แล้ว เนื่องจากถูกล่าไปทำเป็นยาสมุนไพรจีน
[แก้] อ้างอิง
- ^ หนังสือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก ISBN 974-87081-5-2
|