อูฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อูฐ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Camelidae
สกุล: Camelus
Linnaeus, 1758
สปีชีส์

Camelus bactrianus
Camelus dromedarius
Camelus gigas
Camelus hesternus
Camelus sivalensis

อูฐ (อังกฤษ: camel; อาหรับ: جمليات‎, ญะมัล) จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบว่าอูฐมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือสมัยอีโอซีน บรรพบุรุษของสัตว์ตระกูลอูฐในยุคแรกนั้นมีขนาดเท่ากับกระต่ายและมี 4 นิ้วเท้า ปัจจุบันสัตว์ในตระกูลอูฐได้ถูกนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในบางประเทศ แต่ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เป็นอาหาร ตัดขน รีดนม และใช้เนื้อเพื่อบริโภค

อูฐเป็นสัตว์ที่มีความอดทนสูง สามารถอาศัยโดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำเลย 2 สัปดาห์ เพราะมีไขมันสะสมไว้ในหนอกและร่างกายเก็บรักษาน้ำได้เป็นอย่างดี จึงสามารถอยู่ในที่ทุรกันดารเช่นทะเลทรายได้เป็นอย่างดี กินอาหารประเภทใบไม้ในทะเลทราย ตัวโตเต็มที่มีความสูงถึงบ่าประมาณ 1.85 เมตร และหนอกสูงอีก 75 เซนติเมตร ความสามารถ วิ่งได้เร็ว 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเดินด้วยความเร็วคงที่ประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แบกน้ำหนักได้ 150-200 กิโลกรัม อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงได้จาก 34 องศาเซลเซียสในตอนกลางคืนมาเป็น 41 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน[1]

[แก้] ประเภท

สัตว์ที่จัดอยู่ในตระกูลอูฐมีอยู่ 6 ชนิดด้วยกันคือ

  1. อูฐหนอกเดียว (Arabian camel) เป็นอูฐที่มีถิ่นที่อยู่ในออสเตรเลียและตะวันออกกลาง
  2. อูฐสองหนอก (Bactrian camel) มีถิ่นที่อยู่ในแถบเอเชีย
  3. ยามา (llama) มีถิ่นที่อยู่ในอเมริกาใต้
  4. อัลปากา (alpaca) มีถิ่นที่อยู่ในอเมริกาใต้
  5. บีกูญา (vicuña) มีถิ่นที่อยู่ในอเมริกาใต้
  6. กวานาโก (guanaco) มีถิ่นที่อยู่ในอเมริกาใต้

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ วีรกร ตรีเศศ, อาหารสมอง อูฐคือสิงห์ทะเลทราย, มติชน สุดสัปดาห์ 24-30 ตุลาคม พ.ศ. 2551 หน้า 44
Commons
เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น