ภาษาลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาลาว
ພາສາລາວ พาสาลาว 
ตัวอย่างอักษร:
Lao language.gif

พูดใน: ลาว ไทย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคนาดา จีน ออสเตรเลีย พม่า เวียดนาม กัมพูชา
จำนวนผู้พูด: ใช้อย่างเป็นภาษาทางการในประเทศลาวประมาณ 6 ล้านคน และใช้อย่างไม่เป็นทางการในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ประมาณ 20 ล้านคน
ตระกูลภาษา: ไท-กะได
 คำ-ไท
  บี-ไท
   ไท-เซค
    ไท
     ไทตะวันตกเฉียงใต้
      ลาว-ผู้ไท
       ภาษาลาว 
ระบบการเขียน: อักษรลาว 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: ประเทศลาว
ผู้วางระเบียบ: ยังไม่มี
รหัสภาษา
ISO 639-1: lo
ISO 639-2: lao
ISO 639-3: lao
Indic script
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาลาว (ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไต และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ภาษาอีสานของประเทศไทยซึ้งเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาลาว ระบบการเขียนในภาษาลาว จะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับ อักษรไทย

เนื้อหา

[แก้] สำเนียงภาษาถิ่น

สำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวสามารถแบ่งได้ 6 สำเนียงใหญ่ คือ:

  1. ภาษาลาวเวียงจันทน์ (เวียงจันทน์ บอลิคำไซ)
  2. ภาษาลาวเหนือ (หลวงพระบาง ไซยะบูลี อุดมไซ)
  3. ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ (เซียงขวาง หัวพัน)
  4. ภาษาลาวกลาง (คำม่วน สะหวันนะเขด)
  5. ภาษาลาวใต้ (จำปาสัก สาละวัน เซกอง อัตตะปือ)
  6. ภาษาลาวตะวันตก (ไม่มีใช้ในประเทศลาว ร้อยเอ็ด)

ทางการสปป.ลาวไม่ได้กำหนดให้สำเนียงถิ่นใดเป็นสำเนียงภาษากลาง แต่การใช้ภาษาลาวอย่างเป็นทางการ เช่น ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศลาว สถานีวิทยุแห่งประเทศลาว จะใช้สำเนียงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นสำเนียงของคนเมืองหลวง สามารถเข้าใจกันได้ทั่วประเทศ การเรียนภาษาลาวในประเทศลาวนั้น รัฐบาลลาวไม่ได้บังคับให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ แต่ให้สามารถใช้สำเนียงท้องถิ่นต่างๆ ได้ แต่การเรียนภาษาลาวสำหรับชาวต่างประเทศ รัฐบาลลาวแนะนำให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ ฉะนั้นประชาชนในประเทศลาวจึงพูด อ่าน ภาษาลาวเป็นสำเนียงท้องถิ่นของตน แต่ประชาชนก็สามารถฟังเข้าใจใด้ทุกสำเนียงทั่วประเทศ แม้จะพูดภาษาต่างสำเนียงกันก็ตาม

ภาษาลาวอีกสำเนียงหนึ่งที่ไม่มีในประเทศลาวคือ ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) เป็นภาษาลาวท้องถิ่นที่ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาอีสาน สำเนียงนี้ใช้พูดกันมากในแถบตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุดรธานี นครราชสีมา (อ.บัวใหญ่ สีดา สูงเนิน ชุมพวง บัวลาย แก้งสนามนาง ประทาย โนนแดง ปักธงชัย สีคิ้ว บางหมู่บ้าน) สุรินทร์ (อ.รัตนบุรี สนม โนนนารายณ์) บุรีรัมย์ (อ.พุทไธสง นาโพธิ์ บ้านใหม่ไชยพจน์ ลำปลายมาศ หนองหงส์ และบางหมู่บ้านของอำเภอสตึก โนนดินแดง โนนสุวรรณ หนองกี่ คูเมือง ประคำ และอำเภอเมืองบุรีรัมย์ )

ส่วนจังหวัดอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบางจังหวัดในภาคเหนือของไทยจะใช้สำเนียงดังนี้

  • ภาษาลาวเหนือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.เลย อุตรดิตถ์ (อ.บ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของ อ.สีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อ.คอนสาร) พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ และนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อ.สังคม) อุดรธานี (อ.น้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
  • ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ค่อยมีผู้พูดในประเทศไทย จังหวัดที่พูดในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนลาวพวนที่อพยพมาจากแขวงเซียงขวาง สปป.ลาว เช่น ที่บ้านเชียง อ.หนองหาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และบางหมู่บ้าน ใน จ.สกลนคร หนองคาย และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัด สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
  • ภาษาลาวเวียงจันทน์ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย) ขอนแก่น (อ.ภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อ.เมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อ.บ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และ อำเภอขุนหาญ)
  • ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสะหวันนะเขด ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.นครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อ.เซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสะหวันนะเขด จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จ.มุกดาหาร
  • ภาษาลาวใต้ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร

แต่ในปัจจุบัน ภาษาลาวตะวันตกหรือภาษาอีสาน ในประเทศไทยไม่ได้รับการพัฒนาให้ใช้เป็นภาษาทางการ รัฐบาลไทยได้กำหนดให้ใช้ภาษาไทย เป็นภาษาทางการแทน จึงทำให้ภาษาลาวตะวันตกได้รับ อิทธิพลจากภาษาไทยค่อนข้างมาก และมีการใช้คำศัพท์ภาษาไทยปะปนค่อนข้างมาก รวมทั้งไม่มีการใช้ตัวอักษรภาษาลาวในการเขียนด้วย จึงทำให้ภาษาลาวตะวันตก ในปัจจุบันแตกต่างจากภาษาลาวในประเทศลาว ฉะนั้นจึงทำให้ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่ไม่ได้เรียนภาษาลาวแบบ สปป.ลาว บางครั้งฟังภาษาลาวในแบบทางการ สปป.ลาวไม่เข้าใจโดยตลอด โดยจะเข้าใจแบบจับใจความรู้เรื่อง เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจคำศัพท์ความหมายหรือประโยค ทุกคำทุกความหมายได้ เพราะคำศัพท์บางคำ สปป.ลาวบัญญัติขึ้นใหม่ ทำให้ภาษาขาดการติดต่อกัน แต่อย่างใดก็ยังถือว่าเป็นภาษาอันเดียวกัน อย่างกรณีภาษาอังกฤษในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา

ส่วนในประเทศลาว นอกจากสำเนียงถิ่นใหญ่แล้วยังมีสำเนียงถิ่นย่อย แตกออกไปจากสำเนียงใหญ่ทั้ง 5 สำเนียง ออกไปอีกหลายสำเนียงย่อย เช่น ภาษาลาวใต้ถิ่นสาละวัน ภาษาลาวกลางถิ่นสะหวันนะเขด สำเนียงย่อยถิ่นเมืองอาดสะพังทอง ภาษาเวียงจันทน์ถิ่นเมืองปากงึม ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษาลาวใต้ ถิ่นจำปาสัก ในจังหวัด พระวิหาร สตึงแตรง และรัตนคีรีของประเทศกัมพูชาด้วย

[แก้] เสียงวรรณยุกต์

ภาษาลาวเวียงจันทน์มีระดับเสียงวรรณยุกต์ 6 ระดับ: Low (เอก) Mid (สามัญ) High (ตรี) Rising (จัตวา) High Falling (ใกล้เคียงกับโท) และ Low Falling (โท) ระดับเสียงจะแตกต่างกัน ไปตามชนพื้นเมืองของผู้พูดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่น ชาวหลวงพระบางจะใช้ ระดับเสียงวรรณยุกต์ 5 ระดับ คือ

  • กลางต่ำลงขึ้น
  • ต่ำขึ้น
  • กลางระดับ
  • สูงขึ้น
  • กลางขึ้น

[แก้] ตัวอักษร

ภาษาลาวมีตัวอักษรที่ใช้เขียนอยู่สองแบบ คือ

  • อักษรลาว ใช้เขียนเรื่องคดีทางโลกทั่วไป ปัจจุบันรัฐบาลลาวได้ปรับปรุงอักษรลาวเดิมให้ใช้เป็นอักษรราชการ (ในภาคอีสานของไทยยังคงใช้อยู่บ้างในเอกสารโบราณ เรียกชื่อว่า อักษรไทน้อย)
  • อักษรธรรมลาว ใช้เขียนเรื่องคดีทางธรรม โหราศาตร์ ไสยศาสตร์ และตำราวิชาการบางประการ เช่น ตำรายา

[แก้] อ้างอิง

  • สีเวียงแขก กอนนิวง (1999). หนังสือคู่มือเรียนภาษาลาวง่ายๆ เวียงจันทน์ : สำนักพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งรัฐ
  • ANSI Z39.35-1979, System for the Romanization of Lao, Khmer, and Pali; ISBN 0-88738-968-6.
  • Hoshino, Tatsuo and Marcus, Russel. (1989). Lao for Beginners: An Introduction to the Spoken and Written Language of Laos. Tuttle Publishing. ISBN 0804816298.
  • Enfield, N. J. (2007). A Grammar of Lao. Mouton de Gruyter Publishers. ISBN 3110185881.
  • Cummings, Joe. (2002). Lao Phrasebook: A Language Survival Kit. Lonely Planet. ISBN 1740591682.
  • Mollerup, Asger. Thai–Isan–Lao Phrasebook. White Lotus, Bangkok, 2001. ISBN 9747534886.
  • Kerr, Allen. (1994). Lao–English Dictionary. White Lotus. ISBN 9748495698.
  • Simmala, Buasawan and Benjawan Poomsan Becker (2003), Lao for Beginners. Paiboon Publishing. ISBN 1-887521-28-3

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาลาว
Wikibooks
วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ:
ภาษาลาว
  • SEAsite Laos เว็บไซต์เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของลาว
  • Omniglot เกี่ยวกับอักษรลาวโดย
  • AbcdLaos เว็บไซต์เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของลาวในภาษาสเปน
เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น