ภาษาเขมร
ภาษาเขมร |
||||
---|---|---|---|---|
เสียงอ่าน: | [pʰiːəsaː kʰmaːe] เพียซาขแม | |||
พูดใน: | กัมพูชา เวียดนาม ไทย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย | |||
จำนวนผู้พูด: | 15.7 - 21.6 ล้าน (พ.ศ. 2547) | |||
ตระกูลภาษา: | ออสโตร-เอเชียติก มอญ-เขมร มอญ-เขมรตะวันออก ภาษาเขมร |
|||
ระบบการเขียน: | อักษรเขมร | |||
สถานะทางการ | ||||
ภาษาทางการใน: | กัมพูชา | |||
ผู้วางระเบียบ: | พุทธสาสนบัณฑิตย | |||
รหัสภาษา | ||||
ISO 639-1: | km | |||
ISO 639-2: | khm | |||
ISO 639-3: | อย่างใดอย่างหนึ่ง: khm — เขมรกลาง kxm — เขมรเหนือ |
|||
| ||||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
ภาษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร) เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ มาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ต่อวัฒนธรรมของชาวเขมร ในขณะที่อิทธิพลอื่นๆ เช่น จากภาษาไทย และภาษาลาว เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์
ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต์
เนื้อหา |
[แก้] สัทวิทยา
ภาษาเขมรมาตรฐานในปัจจุบัน มีเสียงสระและพยัญชนะดังต่อไปนี้ (เขียนตาม IPA)
[แก้] พยัญชนะ
p (pʰ) | t (tʰ) | c (cʰ) | k (kʰ) | ʔ |
ɓ ~ b | ɗ ~ d | |||
(f) | s | h | ||
m | n | ɲ | ŋ | |
w | j | h | ||
l | ||||
r |
ในคำยืมบางคำ เสียงพยัญชนะ ʃ, z เสียงพยัญชนะ f/ฟ ปรากฏและ g ปรากฏในคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส และคำยืมใหม่อื่น ๆ
[แก้] สระ
i | e | ɨ | ə | a | ɑ | u | o | ||
i | eː | ɛː | ɨː | əː | aː | ɑː | uː | oː | ɔː |
iːə | eːi | aːe | ɨːə | əːɨ | aːə | ɑːo | uːə | oːu | ɔːə |
eə | uə | oə |
หมายเหตุ มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนและค่าทางสัทวิทยาของสระเหล่านี้
[แก้] พยางค์และคำ
คำในภาษาเขมรมักจะประกอบด้วย 1 หรือ 2 พยางค์ มีเสียงอักษรควบจากพยัญชนะ 2 ตัวอยู่ที่ปรากฏที่ต้นพยางค์อยู่ 85 เสียง และมีอักษรควบจากจาก พยัญชนะ 3 ตัวอยู่ 2 เสียง ดังตาราง
pʰt- | pʰc- | pʰk- | pʰʔ- | pɗ- | pʰn- | pʰɲ- | pʰŋ- | pʰj- | pʰl- | pɽ- | ps- | ph- | |||||||
tʰp- | tʰk- | tʰʔ- | tɓ- | tʰm- | tʰn- | tʰŋ- | tw- | tj- | tl- | tɽ- | th- | ||||||||
cʰp- | cʰk- | cʰʔ- | cɓ- | cɗ- | cʰm- | cʰn- | cʰŋ- | cʰw- | cʰl- | cɽ- | ch- | ||||||||
kʰp- | kʰt- | kʰc- | kʰʔ- | kɓ- | kɗ- | kʰm- | kʰn- | kʰɲ- | kŋ- | kʰw- | kʰj- | kʰl- | kʰɽ- | ks- | kh- | ||||
sp- | st- | sk- | sʔ- | sɓ- | sɗ- | sm- | sn- | sɲ- | sŋ- | sw- | sl- | sɽ- | sth- | ||||||
ʔəw- | |||||||||||||||||||
mət- | məc- | məʔ- | məɗ- | mən- | məɲ- | məl- | məɽ- | məs- | məh- | ||||||||||
ləp- | lək- | ləʔ- | ləɓ- | ləm- | ləŋ- | ləw- | ləh- | ləkh- |
แต่ละพยางค์จะเริ่มต้นด้วยพยัญชนะหรือพยัญชนะควบกล้ำ ตามด้วยเสียงสระ แต่ละพยางค์สามารถจะมีเสียงพยัญชนะต่อไปนี้ลงท้าย เมื่อใช้เสียงสระสั้น จะต้องลงท้ายด้วยพยัญชนะ
โครงสร้างของคำในภาษาเขมรที่มีมากที่สุดเป็นพยางค์เต็มตามที่อธิบายไว้ข้างบน ต่อหน้าด้วยพยางค์สั้นที่มีโครงสร้าง CV-, CɽV-, CVN- หรือ CɽVN- (C เป็นพยัญชนะ V เป็นสระ N เป็น m/ม, n/น, ɲ หรือ ŋ/ง). สระในพยางค์สั้นเหล่านี้มักจะออกเสียงเป็น ə ในภาษาพูด
คำต่าง ๆ สามารถประกอบด้วย 2 พยางค์เต็มได้
คำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส หรือ ภาษาอื่น ๆ
[แก้] ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่นมีการแสดงอย่างชัดเจนในบางกรณี มีข้อแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ระหว่างคนพูดจากเมืองพนมเปญ (เมืองหลวง) และเมืองพระตะบองในชนบท โดยภาษาเขมรจะแบ่งเป็นภาษาถิ่นได้ 5 ถิ่น ได้แก่
- สำเนียงพระตะบอง พูดทางแถบภาคเหนือของประเทศกัมพูชา
- สำเนียงพนมเปญ เป็นสำเนียงกลางของกัมพูชาเช่นเดียวกับสำเนียงกรุงเทพฯของไทย โดยจะพูดในพนมเปญและจังหวัดโดยรอบเท่านั้น
- สำเนียงเขมรบน หรือสำเนียงเขมรสุรินทร์ พูดโดยชาวไทยเชื้อสายเขมรในแถบอีสานใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
- สำเนียงแขมรกรอม หรือภาษาเขมรถิ่นใต้ พูดโดยชาวเขมรที่อาศัยแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม
- สำเนียงคาร์ดามอน ถือเป็นภาษาถิ่นที่ใช้พูดทางภาคตะวันตกของประเทศกัมพูชา มีผู้ใช้ในแถบเขาคาร์ดามอน (เทือกเขากระวาน) และมีผู้ใช้จำนวนน้อย
ลักษณะของสำเนียงในพนมเปญ คือการออกเสียงอย่างไม่เคร่งครัด โดยที่บางส่วนของคำจะนำมารวมกัน หรือตัดออกไปเลย เช่น "พนมเปญ" จะกลายเป็น"มเปญ" อีกลักษณะหนึ่งของสำเนียงในพนมเปญ ปรากฏในคำที่มีเสียง r/ร เป็นพยัญชนะที่ 2 ในพยางค์แรก กล่าวคือ จะไม่ออกเสียง r/ร ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกแข็งขึ้น และจะอ่านให้มีระดับเสียงตก เช่นเดียวกับวรรณยุกต์เสียงโท ตัวอย่างเช่น "dreey" ("เตรย" แปลว่า "ปลา") อ่านเป็น "เถ็ย" (โดย d จะกลายเป็น t และมีสระคล้ายเสียง "เอ" และเสียงสระจะสูงขึ้น) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คำว่า "ส้ม" ออกเสียงว่า kroich โกรชในชนบท ส่วนในเมืองออกเสียงเป็น koich โคช
[แก้] ไวยากรณ์
ลำดับคำในภาษาเขมรมักจะเป็น ประธาน-กริยา-กรรม ภาษาเขมรประกอบด้วยคำเดี่ยวเป็นหลัก แต่การสร้างคำจากการเติมหน้าคำและการเติมภายในคำก็มีมาก
[แก้] อักษรเขียน
ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรเขมร และเลขเขมร (มีลักษณะคล้ายเลขไทย) ใช้กันทั่วไปมากกว่าเลขอารบิก ชาวเขมรได้รับตัวอักษรและตัวเลขจากอินเดียฝ่ายใต้ อักษรเขมรนั้นมีด้วยกัน 2แบบ
- อักษรเชรียง (อักซอเจรียง) หรืออักษรเอน หรืออักษรเฉียง เป็นตัวอักษรที่นิยมใช้ทั่วไป เดิมนั้นนิยมเขียนเป็นเส้นเอียง แต่ภายหลังเมื่อมีระบบการพิมพ์ ได้ประดิษฐ์อักษณแบบเส้นตรงขึ้น และมีชื่ออีกอย่างว่า อักษรยืน (อักซอโฌ) อักษรเอนนี้เป็นตัวยาว มีเหลี่ยม เขียนง่าย ถือได้ว่าเป็นอักษรแบบหวัด
- อักษรมูล หรืออักษรกลม เป็นอักษรที่ใช้เขียนบรรจง ตัวกว้างกว่าอักษรเชรียง นิยมใช้เขียนหนังสือธรรม เช่น คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา หรือการเขียนหัวข้อ ที่ต้องการความโดดเด่น หรือการจารึกในที่สาธารณะ
- Romanization เขียนภาษาเขมรด้วยอักษรโรมัน
ในสมัยก่อน มีผู้นิยมใช้อักษรเขมรเขียนภาษาไทย หรือภาษาบาลี ด้วย เรียกอักษรอย่างนี้ว่า อักษรขอมไทย
[แก้] อิทธิพลของภาษาเขมรในภาษาไทย
ภาษาเขมรมีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏในปริบทต่างๆ ดังนี้
- ในวรรณคดี (เช่น ลิลิตยวนพ่าย, โคลงกำสรวล, คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง) ได้แก่ เพ็ญ, พร, ไถง, ผกา, ผอูน, แข, อัญขยม, ฉนำ, จำรัส ฯลฯ
- ในภาษาพูดทั่วไป เช่น จมูก, ถนน, อาจ, อำนาจ ฯลฯ
- ในอาชีพต่างๆ เช่น เสมียน, ตำรวจ, ฯลฯ
- ในราชาศัพท์ เช่น ขนง, โขนง, เขนย, บรรทม, เสด็จ ฯลฯ
- ในชื่อ จังหวัด เช่น ฉะเชิงเทรา นครพนม บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ฯลฯ
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- คำถามเกี่ยวกับยูนิโคดสำหรับภาษาเขมร
- การใช้ยูนิโคดสำหรับภาษาเขมร
- Ethnologue เกี่ยวกับเขมร
- บทความที่ Omniglot เกี่ยวกับภาษาเขมร
- ตารางอักษรเขมรที่ Geonames
- ศูนย์กัมพูชาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
|
|