ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

495.91ส173ล ลักษณะภาษาไทย

ลักษณะภาษาไทย
ภาษาคือ เสียงหรือกริยาอาการที่ใช้ทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน อาจหมายรวมถึงการใช้แสง สี เสียงรหัส หรือสัญญาณต่างๆ ที่ใช้ทำการสื่อความหมายติดต่อกันได้ของมนุษย์ ความหมายโดยทั่วไปของภาษา หมายถึง เครื่องสื่อสารความคิดให้เข้าใจซึ่งกันและ กันจะโดยวิธีใดก็ได้
สื่อ คือตัวนำเป็นสิ่งสัมผัสได้เป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมโยงจุดสองจุด หรือระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารให้ติดต่อกัน การใช้ภาษาจะต้องมี สื่ออาจเป็นวัตถุ เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือกริยาอาการต่างๆได้
สารหมายถึง หมายถึง ความหมายที่อยู่ในใจของผู้ส่งสาร อาจเป็นความรู้ ความรู้สึก หรือความคิด มีโครงสร้างที่มีส่วนประกอบกลมกลืน เป็นระเบียบ เป็นรหัสมีเนื้อเรื่องที่แปลงเป็นสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ภาษาพูด ท่าทาง เสียงกริ่ง การลดธงครึ่งเสา สารนี้ถูกส่งไปยังผู้รับสาร ซึ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจในสารตรงกันกับผู้ส่งสาร
ภาษาพูดและภาษาเขียน การใช้ภาษาในการสื่อสาร เพื่อแสดงความต้องการ ความรู้สึก และความคิดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารนั้น มี 2 วิธี คือ
1.ใช้วัจนภาษา คือ ภาษาที่สื่อโดยใช้ถ้อยคำ เช่นการใช้เสียงที่มีระเบียบ ระบบ ประกอบด้วยหน่วยเสียง การใช้ลายเส้นขีดเขียน เป็นสัญลักษณ์ หรือรหัสแทนเสียงในภาษาพูด
2.ใช้อวัจนภาษา คือภาษาที่ไม่ต้องใช้ถ้อยคำ ได้แก่การรหัสต่างๆ เช่นการใช้สัญญาณธงของเรือทหาร การใช้สีหน้า ดวงตา การโบกมือ สัญญาณระฆัง

ที่มา สมปราชญ์ อัมมะพันธุ์. (2520). ลักษณะภาษาไทย. ภูเก็ต: วิทยาลัยภูเก็ต.

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:March 2009


Send comments to Chumpot@hotmail.com