คู่มือเรียนรู้ภาษาบาลีด้วยตนเอง : ประยุกต์ด้วยวิธีเปลี่ยนภาษาบาลีแบบสากล
491.37
คู่มือเรียนรู้ภาษาบาลีด้วยตนเอง : ประยุกต์ด้วยวิธีเปลี่ยนภาษาบาลีแบบสากล
ผู้แต่ง: ประดิษฐ์ บุณยะภักดี
ชื่อเรื่อง: คู่มือเรียนรู้ภาษาบาลีด้วยตนเอง : ประยุกต์ด้วยวิธีเปลี่ยนภาษาบาลีแบบสากล
สรุปเนื้อหา
การเรียนรู้ระเบียบคำพูดภาษาบาลีในเบื้องต้น ต้องอาศัยโครงสร้าง คือส่วนต่าง ๆ แห่งคำพูด ซึ่งมีอยู่ 10 ชนิด คือ
1. อักขรวิธี 2. สนธิ 3. นาม 4. สัพพนาม 5. สมาส
6. ตัทธิต 7. อาขยาต 8. กิตก์ 9. อุณาทิ 10. การก (Case - เคช)
ทั้ง 10 ชนิดนี้ว่าด้วยหลักใหญ่ ๆ มี 4 ภาค คือ
ภาคที่ 1 : อักขรวิธี ภาคที่ 2 : วจีวิภาค ภาคที่ 3 : วากยสัมพันธ์ ภาคที่ 4 : ฉันทลักษณ์
ภาษาบาลีมีสระ 8 ตัว คือ
อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
สระ 8 ตัวนี้ แบ่งออกเป็น 3 เสียง คือ
1. เสียงสั้น เรียก รัสสระ คือ อ อิ อุ
2. เสียงยาว เรียก ทีฆสระ คือ อา อี อู
3. เสียงผสม เรียก สังยุตตสระ คือ เอ โอ
พยัญชนะในภาษาบาลี มี 33 ตัว พยัญชนะที่ออกเสียงยากเป็นพิเศษ มี 6 ตัว คือ
ค ออกเสียงคล้าย ก + ย๊ะ = กฺย๊ะ เทียบอักษรโรมัน G
ช " จ + ย๊ะ = จฺย๊ะ " J
ฑ " ฎะ + หรือ ดะ " D.
ท " ด๊ะ + " D
พ " บ๊ะ + " B
ห " ฮะ " H
ที่มา: ประดิษฐ์ บุณยะภักดี. (2538). คู่มือเรียนรู้ภาษาบาลีด้วยตนเอง : ประยุกต์ด้วยวิธีเปลี่ยนภาษาบาลี
แบบสากล
กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.
|