|
ภาษาศาสตร์เบื้องต้น
410
ภาษาอินเดีย
ผู้แต่ง: จินดา เฮงสมบูรณ์
ชื่อเรื่อง: ภาษาศาสตร์เบื้องต้น
สรุปเนื้อหา
การศึกษาภาษาในอินเดีย เริ่มต้นจากการศึกษาคัมภีร์ทางศาสนาอันเก่าแก่ของชาวฮินดู คือ คัมภีร์ฤคเวท ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงสมัยพุทธกาล
ภาษาในคัมภีร์ฤคเวทเริ่มจะเป็นที่ไม่เข้าใจกันในหมู่ชนที่เกี่ยวข้อง ราว 600 ปีก่อนคริสตกาล ปาณินิ * (Panini) ได้ศึกษาภาษาในคัมภีร์พระเวทจนสามารถ
หาหลักเกณฑ์ของภาษานั้นได้ และจักรวบรวมเข้าเป็นหมวดหมู่ เขียนเป็นตำราไวยากรณ์ ขึ้น 8 บท รวมเรียกว่า อัษฏาธยายี (Astadhayayi)
มีกฎหรือสูตร (Sutra) ซึ่งอธิบายโครงสร้างของคำอย่างชัดเจน นับเป็นผลงานค้นคว้าทางภาษาที่ละเอียดลออที่สมบูรณ์ ปาณินิ ให้ชื่อตำราภาษา
ที่ศึกษาวิเคราะห์และเรียบเรียงไว้นั้นว่า สันสกฤต (Sanskrit) หมายถึง ภาษาที่ตกแต่งดีแล้ว มีหลักเกณฑ์งดงามแล้ว
นักภาษาศาสตร์ที่ได้ศึกษาไวยากรณ์ของปาณินิ * กล่าวว่าวิธีการศึกษาและอธิบายของปาณินิเป็นวิธีวรรณนา คือศึกษาและอธิบายตามที่ได้
สังเกตเห็นจริง ๆ มิได้เรียบเรียงขึ้นตามความเชื่อหรือเหตุผลของตัวเอง มิได้เรียบเรียงตามหลักปรัชญา จึงเป็นที่ยกย่องกันทั่วไปในหมู่นักภาษาศาสตร์
ว่าเป็นตำราไวยากรณ์เล่มแรกที่ศึกษาภาษาในแนววิทยาศาสตร์และวิเคราะห์ภาษาได้สมบูรณ์ที่สุด
ที่มา:
จินดา เฮงสมบูรณ์. (2542). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
|
|