4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 7

การจัดการความรู้ในชีวิตประจำวัน
ผศ.ดร.ไพโรจน์ ชลารักษ์

7.4 การจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

ดังได้กล่าวแล้วว่าปัญหาในชีวิตประจำวันมีทั้งที่คาดการณ์หรือรู้ล่วงหน้าได้กับปัญหาที่ไม่สามารถคาดการณ์หรือรู้ล่วงหน้าได้ แต่ถึงจะไม่รู้ล่วงหน้าเมื่อเกิดเป็นปัญหาขึ้นแล้วมนุษย์ก็ต้องหาทางแก้ไขให้ได้ ซึ่งก็ต้องอาศัยการจัดการความรู้เป็นหลัก การแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันจึงมีขั้นตอนเป็นกระบวนการ ดังนี้
1)การสัมผัสเรียนรู้และทำความเข้าใจปัญหา หมายถึง การที่บุคคลต้องพยายามใช้สติเป็นตัวตั้ง ใช้ประสาทสัมผัสทุกอย่างรับรู้ภาวะการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเรื่องธรรมชาติ และมนุษย์สร้างอย่างตั้งใจให้ครบถ้วนใช้ปัญหาไตร่ตรองพิจารณา วินิจฉัยภาวะการณ์หรือปัญหาเหล่านั้น แล้ววิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้อันเกิดจากการใช้ปัญญาพิจารณาภาวะการณ์เหล่านั้น เก็บรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบที่ดี คือ ระบบความรู้ที่พร้อมจะรำลึกย้อนหรือนำกลับมาใช้ได้อีกอย่างทันเวลาต่อปัญหาครั้งใหม่ที่เกิดขึ้นกิจกรรมนี้ต้องทำตลอดเวลาทุกวัน จนเป็นกิจนิสัย เรียกว่าผู้ใดทำสิ่งนี้ได้จะเป็นผู้ตื่น หรือผู้รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ทันโลกทันเหตุการณ์ อันเป็นพื้นฐานคุณสมบัติสำคัญในการ แก้ปัญหาหรือจัดการกับปัญหาได้อย่างดี
2)วางแผนการแก้ปัญหาไว้ให้เรียบร้อยล่วงหน้า เป็นหลักการว่าเมื่อมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น จะทำตามขั้นตอนดังนี้ คือ
(1)รับรู้และพิจารณาปัญหาอย่างจริงจังให้ยืนยันได้ว่าเป็นปัญหาแน่ (มีสติและสัมปชัญญะ)
(2)วิเคราะห์และสังเคราะห์หาส่วนประกอบ หรือปัจจัยแห่งปัญหาให้พบ (problem solution)
(3)กำหนดเป้าหมายและแนวทางแก้ปัญหาให้ได้ชัดเจน
(4)แสวงหาปัจจัยช่วยแก้ปัญหาเพิ่มเติม เช่นหาความรู้เพิ่มเติมหาเครื่องมือ เพิ่มเติมหาโอกาสเหมาะสม ตามแนวทางที่วางไว้
(5)ประเมินสถานการณ์ ปัญหาตลอดเวลาให้สามารถบอกได้ว่าขั้นไหนเวลาใด จะจัดการอย่างไร ได้บ้างเพื่อให้การแก้ไขปัญหาไม่เป็นการสายเกินไป
(6)ตัดสินใจลงมือปฏิบัติการทุกระยะทุกขั้นตอนที่มั่นใจว่าถูกต้องเหมาะสมและหวังผลสำเร็จได้มากที่สุดอย่างทันเวลา
(7)ประเมินผลหลังการดำเนินการแล้วเพื่อหาข้อบกพร่อง และวิเคราะห์ความรู้สะสมไว้ใช้ในโอกาสต่อไป
3)ดำเนินการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติการตามแผน โดยต้องไม่ลืมความยืดหยุ่น และการประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา เนื่องจากเหตุปัจจัยแห่งปัญหาอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปต้องคอยเฝ้าสังเกตติดตามและปรับกระบวนการ กระบวนทัศน์ และวิธีการแก้ปัญหาตามปัญหาให้สอดคล้องกับภาวะการณ์หรือสถานการณ์ด้วย
4)การแก้ปัญหาจะสำเร็จด้วยดี ลุล่วงด้วยดีให้ผลตามความคาดหมายหรือล้มเหลวผิดหวังทั้งหมด หรือได้ผลเพียงบางส่วน ก็ย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น แต่สิ่งที่ผู้เผชิญปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาต้องระลึกไว้เสมอก็คือการเก็บสะสมความรู้และประสบการณ์ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ ให้เป็นทรัพย์อันมีค่า (อริยทรัพย์) เพื่อใช้ประโยชน์ในวันข้างหน้าหรือโอกาส ในการเผชิญปัญหาครั้งใหม่ด้วย ทุกเรื่องทุกปัญหาที่เกิดขึ้นและได้จัดการไปแล้ว ต้องถือเป็นบทเรียนมีค่าเป็นแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบความสามารถของผู้แก้ปัญหาที่ผู้อื่นจะได้เรียนรู้ได้ไม่เท่า ผู้เผชิญปัญหาเอง นักจัดการความรู้ที่ดีต้องไม่ทำให้เกิดปัญหาเดิมขึ้นอีกเป็นครั้งที่สองหรือครั้ง ต่อ ๆ ไป ถ้าจะเกิดก็ต้องจัดการกับปัญหาให้ลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม สุภาษิตไทยที่กล่าวว่า “รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม” เป็นคติที่ดีสำหรับนักจัดการความรู้ที่จะช่วยให้เป็นผู้จัดการกับปัญหาอย่างสามารถได้


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008