4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 7

การจัดการความรู้ในชีวิตประจำวัน
ผศ.ดร.ไพโรจน์ ชลารักษ์

7.2 ธรรมชาติและลักษณะของปัญหาในชีวิตประจำวัน

เมื่อได้เข้าใจชัดเจนแล้วว่าปัญหาแวดล้อมอยู่ในชีวิตประจำวันไม่เคยขาดหาย เราควรจัดการกับปัญหาเหล่านี้ โดยการหาความรู้ความเข้าใจปัญหาในชีวิตประจำวันให้ละเอียดและกว้างขวางเพียงพอ เพื่อจะได้จัดการกับปัญหาเหล่านั้นให้ได้สำเร็จ ชีวิตประจำวันของคนจะเป็นปัญหาหรือไม่ในเรื่องใดขึ้นอยู่กับท่าที และทัศนะของบุคคลต่อเรื่องนั้นเป็นส่วนใหญ่เรื่องบางเรื่อง เช่น สภาพบ้านถูกน้ำท่วมอาจเป็นปัญหาของบางคนแต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับบางคน ฤดูหนาวเป็นปัญหาสำหรับบางคน แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับบางคน การขาดแคลนอาหารทั้งเนื้อสัตว์และพืชผัก ก็เป็นปัญหาสำหรับบางคนไม่ใช่ทุกคน และไม่เหมือนกันรวมทั้งระดับความหนักเบาของปัญหาที่ไม่เท่ากันในแต่ละคนแม้ในเรื่องเดียวกันทั้งนี้ก็เพราะท่าที และทัศนะของบุคคลต่อปรากฏการณ์ที่เป็นปัญหานั้น ๆ นั่นเอง
เมื่อใดที่บุคคลยอมรับหรือคิดว่ามีหรือเป็นปัญหาเกิดขึ้นกับตนแล้ว สิ่งที่เป็นปัญหามักมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง คือ
1)ปัญหาที่ส่งผลโดยตรง หมายถึงปัญหาที่เกิดแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง แล้วผู้นั้นยอมรับ และต้องแก้ไขหรือต้องกำจัดด้วยตนเอง เช่น เมื่อเกิดความหิว ความเจ็บปวด ไม่สบาย ความอยากหรือต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความคิดถึงความเหงา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแก่ผู้ใดผู้นั้นจะเป็นทุกข์ และถ้าแก้ไขไม่ได้จะเป็นปัญหาเรื้อรังเป็นความเครียด
2)ปัญหาที่ส่งผลโดยอ้อม หมายถึงมิได้เป็นปัญหาของตน แต่มีผลกระทบมาถึงเพราะความเกี่ยวพันหรือเกี่ยวข้องกับผู้ที่มีปัญหาในเชิงความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็นบิดา มารดา บุตร ญาติพี่น้อง เพื่อนทั้งสนิทใกล้ชิดหรือห่าง หรือในฐานะคนรัก เช่น พ่อแม่มีบุตรที่สอบตกก็เป็นทุกข์กังวลกับลูกด้วย คนรักกันที่คู่รักเจ็บป่วยก็เป็นทุกข์กังวลด้วย คนเป็นเพื่อนกันมีความผิดหวังเศร้าโศกก็จะมีปัญหาเศร้าโศกเสียใจไปด้วย เป็นต้น ในอีกมิติหนึ่งหากพิจารณาความรุนแรงของปัญหาทำให้เกิดแก่คนอาจจำแนกปัญหาได้ 2 ประเภท ได้แก่
1)ปัญหาเล็ก หมายถึงปัญหาที่ส่งผลต่อคนในระดับเล็กน้อยไม่รุนแรง หรือเป็นสำหรับคนใดคนหนึ่ง อาจเรียกว่าเป็นปัญหาส่วนตัว (personal problems) หรือหากเป็นกับคนหลาย ๆ คนก็ไม่มีความรุนแรงเสียหายมากหรือร้ายแรง เช่น ปัญหาโรคหวัด ทั้งต่อบุคคลเพียงคนเดียวหรือกลุ่มคนจำนวนมาก หากเป็นหวัดธรรมดา ความรุนแรงจะไม่มาก คนที่เผชิญปัญหาก็จะไม่วิตกกังวล หรือเครียดมากนัก
2)ปัญหาใหญ่ หมายถึงปัญหาที่ส่งผลต่อผู้เผชิญรุนแรง ถ้าเป็นปัญหาส่วนตัวคนใดคนหนึ่ง อาจหมายถึงว่าหากแก้ไขไม่ได้ จะมีการบาดเจ็บสาหัส สูญเสียทรัพย์สินจำนวนมากหรือล้มหายตายจากได้ หรือหากเป็นปัญหากับคนหมู่มากก็มีจำนวนผู้รับผลจำนวนมาก และเสียหายรุนแรง เป็นเวลายาวนานพอ ๆ กับการสูญเสียในแบบเฉพาะบุคคลเช่นกัน ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสังคม หรือปัญหาขององค์กร (social problems) ซึ่งพิจารณาแล้วอาจจำแนกปัญหาออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
(1)ปัญหาในองค์กร หมายถึง ปัญหากลุ่มคนที่มีความคิดร่วมกันเกี่ยวกับ ผลประโยชน์และเป้าหมายการทำงานร่วมกัน เมื่อเกิดปัญหาก็ถือเป็นปัญหาส่วนรวมร่วมกัน เช่น ในบริษัทห้างร้าน ทางธุรกิจต่าง ๆ มีปัญหาได้แก่ ขาดวัตถุดิบ สินค้าขายไม่ได้ราคา ไม่ได้ตามเป้าหมาย สินค้าที่ขายได้ มีปัญหาบกพร่องหรือกระบวนการผลิตมีปัญหา คนในองค์กรนี้ก็จะต้องรับผลกระทบเหมือน ๆ กันคือเป็นปัญหาของทุกคนในองค์กรไม่ใช่แต่คนใดคนหนึ่ง
(2)ปัญหาสาธารณะ หมายถึง เป็นปัญหากระทบหรือส่งผลต่อคนวงกว้างจำนวนมาก ไม่จำกัดด้วยอาชีพ เชื้อชาติ วัย หรือความสัมพันธ์เชิงผลประโยชน์ใด ๆ โดยตรง ได้แก่ ปัญหาภัยธรรมชาติ โรคระบาด อาชญากรรม การก่อการร้ายหรือสงคราม เป็นต้น
หากพิจารณาในมิติของเวลาที่เกิดปัญหา อาจจำแนกปัญหาออกเป็น 2 ประเภทได้ คือ
1)ปัญหาที่รู้ได้ล่วงหน้า หรือพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งปัญหาลักษณะนี้จะเป็นประสบการณ์ ที่มนุษย์เคยเผชิญมาก่อน และสะสมความรู้ไว้แล้ว เป็นลักษณะเงื่อนไขที่ทำให้ต้องเกิดหรือมักจะเกิดโดยมนุษย์รู้ได้ล่วงหน้า ดังนั้นปัญหาชนิดนี้จึงมักหาทางป้องกันและแก้ไขได้ แต่อาจไม่ทั้งหมด เช่น ปัญหาโรคระบาด ภายหลังน้ำท่วม ปัญหาวาตภัย อุทกภัย เมื่อเข้าฤดูมรสุม ปัญหาอาชญากรรม เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นต้น
2)ปัญหาที่ไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าและมักเกิดอย่างปัจจุบันทันด่วน หมายถึง เหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดการณ์หรือทำนายได้ ว่าจะเกิดที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และรุนแรงขนาดไหน เพียงแต่รู้ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นแน่ ๆ เช่นปัญหาอุบัติเหตุต่าง ๆ แผ่นดินไหว การก่อวินาศกรรมและอาชญากรรม เป็นต้น อาจกล่าวโดยสรุปได้อีกอย่างหนึ่งว่าปัญหาในชีวิตประจำวันวันหากเป็นปัญหาที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง ก็มีลักษณะที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเจตนาของมนุษย์ เช่น ผลิตและใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมาใช้แต่เป็นอันตรายกับมนุษย์เองและปัญหาที่เป็นเจตนามนุษย์ตั้งใจทำให้เป็นปัญหาคือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพื่อแก้ปัญหาตนเอง เช่นปัญหาอาชญากรรมและอุบัติเหตุต่าง ๆ


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008