4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 5

การประเมินคุณค่าและการใช้ประโยชน์จากความรู้
ผศ.ฑัณฑิกา ศรีโปฎก

5.4 การตรวจสอบความรู้

การตรวจสอบความรู้ หมายถึง การทำให้แน่ใจหรือเชื่อได้ว่าความรู้ที่มีหรือหามาได้มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัยหรือเป็นข้อมูลสารสนเทศที่เป็นความรู้ใหม่ล่าสุดหรือไม่ เพราะข้อมูลความรู้บางอย่างมีความเปลี่ยนแปลง เพราะมีการค้นพบพิสูจน์ทราบหรือวินิจฉัยใหม่ล่าสุดออกมาเรื่อย ๆ
การตรวจสอบความรู้จึงมีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ประการคือ
1) ตรวจสอบความถูกต้องทั้งในสาระหลัก และรายละเอียดมีความสอดคล้อง ต้องกันแหล่งข้อมูลความรู้ต่างแหล่งอาจให้ข้อเท็จจริงแตกต่างกัน ซึ่งอาจมีทั้งผิดและถูก การตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องจึงเป็นเรื่องจำเป็น ตัวอย่างเช่นพืชสมุนไพรบางชนิดอาจใช้ได้ทั้งรับประทานเพื่อรักษาโรคอย่างหนึ่ง แต่อาจใช้เป็นยาทาเฉพาะที่ภายนอกเพื่อรักษาโรคอีกอย่างหนึ่งได้ ลักษณะการใช้และโรคที่ใช้รักษาแตกต่างกันมาก อาจมีความเข้าใจผิดพลาดและนำไปสู่การใช้ผิด ทำให้เกิดอันตรายแทนที่จะรักษาโรคให้หายได้
2) เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของความรู้ การรู้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ในเรื่องใด เมื่อนำไปปฏิบัติหรือใช้อาจเกิดความบกพร่องเป็นโทษได้ ความรู้จึงต้องค้นหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนตัวอย่าง เช่น สมุนไพรชนิดหนึ่งใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยโรคชนิดหนึ่งได้ แต่ในเวลาเดียวกันก็ส่งผลแทรกซ้อนให้เกิดอาการอีกอย่างหนึ่งได้ เช่น ฟ้าทะลายโจร (สมุนไพรชนิดหนึ่ง) ใช้ชงน้ำร้อนกินแก้เจ็บคอได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ความดันโลหิตต่ำ ผู้ที่มีสภาพ มีความดันโลหิตต่ำอยู่แล้วจึงควรระมัดระวัง เมื่อจะกินฟ้าทะลายโจร กรณีเช่นนี้ หมายถึง หากผู้มีความรู้แต่ไม่รู้ครบถ้วนถึงคุณสมบัติของฟ้าทะลายโจรว่าส่งผลอะไรอย่างไรบ้าง การแก้ไขปัญหารักษาโรคอย่างใดอย่างหนึ่งได้แต่อาจทำให้เกิดโรคอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาแทนที่
3) เพื่อตรวจสอบความทันสมัยของความรู้ เพราะความรู้หลายเรื่อง เป็นความรู้ที่มี มิใช่ข้อเท็จจริงตายตัว แต่เป็นมติหรือข้อสรุปของผู้รู้ ณ เวลาหนึ่ง แต่เวลาผ่านไปการค้นคว้าวิจัยหรือการศึกษาค้นพบมีมากขึ้น ข้อสรุปหรือมติที่เคยมีอยู่ ณ เวลานั้นก็ถูกเปลี่ยนแปลงไปได้ ตัวอย่าง เช่น ในอดีตเราเคยสรุปเป็นทฤษฏีว่า ดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล มี 9 ดวง แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีการประชุม สัมมนาของผู้รู้ทั้งหลาย ได้มีข้อสรุปเป็นมติใหม่ว่า ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลมีเพียง 8 ดวง ดาวพลูโต มีคุณสมบัติและลักษณะไม่เข้าข่ายความเป็นดาวเคราะห์ไปแล้วดังนี้เป็นต้น


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008