4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 5

การประเมินคุณค่าและการใช้ประโยชน์จากความรู้
ผศ.ฑัณฑิกา ศรีโปฎก

5.3 วิธีการประเมินคุณค่าของความรู้

การประเมินเป็นวิธีการตรวจวัดโดยประมาณ ซึ่งผลที่ได้จะไม่เป็นค่าตัวเลขที่ตายตัวถูกต้องแน่นอน โดยเฉพาะการประเมินความรู้ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรมยิ่งทำได้ยาก วิธีการประเมินความรู้จึงควรให้ผู้รู้ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นผู้ให้ความเห็น โดยอาจจะทำการสอบถามความเห็นจากผู้รู้หลาย ๆ คน หรือตรวจสอบหลักฐาน จากหลาย ๆ แหล่ง หากความรู้เรื่องใดผู้รู้ให้ความเห็นตรงกันมากว่ามีคุณค่าสูง มีความถูกต้องสูง มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากและทันสมัยจริง ก็สามารถอนุมานได้ว่าความรู้นั้นมีคุณค่าหากนำมาใช้ประโยชน์เพราะคุณค่าแท้จริงของสิ่งใดก็ตาม หมายถึงประโยชน์ที่เกิดจากการใช้สิ่งนั้นมากหรือน้อยเพียงใดนั่นเอง หากความรู้เรื่องใดนำมาใช้แล้วเกิดประโยชน์มากก็ย่อมมีคุณค่ามาก การประเมินคุณค่าความรู้อาจทำได้ 2 ทาง คือ
1) ประเมินโดยผู้รู้ หมายถึง แสดงความรู้นั้นออกมาให้ผู้รู้เป็นผู้ประเมินหลาย ๆ คน หรือตรวจสอบกับแหล่งความรู้เฉพาะทางนั้น ๆ หลาย ๆ แหล่ง ก็จะได้รับคำตอบหรือการวินิจฉัยคุณค่าของความรู้ออกมาโดยตรง วิธีนี้อาจเรียกว่าเป็นการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้
2) ประเมินโดยทดลองปฏิบัติ หมายถึง ผู้ต้องการประเมินคุณค่าความรู้ได้นำเอา ความรู้นั้นไปทดลองปฏิบัติใช้ แล้วได้ผลเป็นประการใด ก็สามารถสรุปว่ามีคุณค่ามากน้อยเพียงใด เช่น ต้องการประเมินความรู้เรื่องเทคนิควิธีการย้อมผ้า เมื่อนำความรู้เรื่องเทคนิควิธีย้อมผ้าหลาย ๆ วิธีมาทดลองทำแล้วเมื่อได้ผลออกมา แต่ละวิธีเป็นอย่างไรก็เปรียบเทียบกันดู ผลสรุปก็จะปรากฏได้เอง วิธีนี้เรียกว่าเป็นการประเมินผลจากการทดลองปฏิบัติ


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008