4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 4

การแสวงหาความรู้ การค้นคืนความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ
รศ.อัญญาณี คล้ายสุบรรณ์

4.5 กลยุทธ์การแสวงหาความรู้

เพื่อให้ได้ความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาและเป็นความรู้ใหม่หรือความรู้ที่มีคุณค่ายิ่งขึ้น การแสวงหาความรู้จึงควรมีกลยุทธ์ที่ดี มิฉะนั้น ก็จะได้ความรู้เพิ่มขึ้นไม่มาก ได้ความรู้ไม่ละเอียดลึกซึ้งไม่ครบถ้วน ไม่สมบูรณ์ กลยุทธ์การแสวงหาความรู้ อาจแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
1) กลยุทธ์สำหรับการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองคนเดียว เพื่อตนเองคนเดียว เป็นกลยุทธ์เพื่อพัฒนาตนในด้านความรู้โดยเฉพาะได้แก่ วิธีการต่อไปนี้
(1) ทำตนเป็นคนอยากรู้อยากเห็น (curious) และช่างสงสัยโดยเฉพาะกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ สัตว์ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ธรรมชาติทุกอย่าง เมื่อเป็นคนอยากรู้อยากเห็นต้องพยายามเข้าใกล้ หาโอกาสรับรู้ สัมผัสทุกอย่างอย่างเอาใจใส่จริงจัง
(2) ใช้กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) หมายถึง เรียนรู้หรือรับรู้อย่างเป็นระบบที่ดี ได้แก่ เมื่อได้สัมผัสหรือรับรู้สิ่งใด ก็ตั้งคำถามเป็นอันดับแรกแล้ว กำหนดสมมุติฐานตามมา จากนั้นก็ใช้การหาข้อมูลหรือความรู้อื่น ๆมา ประกอบ หรืออาจหาเพิ่ม ให้เพียงพอ เพื่อพิจารณาวิเคราะห์สังเคราะห์ แล้วจึงสรุปตัดสินลงไปเป็นที่สุดแห่งความรู้ความ เข้าใจนั้น
(3) ทำตนเป็นคนเปิดใจกว้าง สำหรับการรับรู้ เรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ ทุกเรื่อง ไม่ปิดกั้นไม่ด่วนสรุป และพร้อมสำหรับการเผชิญสถานการณ์ทุกรูปแบบ แล้วใช้วิธีการการเรียนรู้พิจารณา วินิจฉัยจะได้ความรู้ที่ถูกต้องชัดเจน
(4) อาศัยสื่อ แหล่งข้อมูลสารสนเทศและแหล่งความรู้ อย่างหลากหลายมากมายเป็นเครื่องช่วย โดยศึกษาทำความเข้าใจ ธรรมชาติ วัตถุประสงค์ ลักษณะ องค์ประกอบและอื่น ๆ ของแหล่งความรู้เหล่านั้นให้คุ้นเคย เมื่อถึงเวลาจะใช้แหล่งเหล่านั้นแสวงหาความรู้ก็จะสามารถใช้ได้โดยไม่เสียเวลามากเกินไป และได้ความรู้อย่างถูกต้องเพียงพอตามต้องการแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นมักจะมีเครื่องมือเครื่องใช้และวิธีการต่าง ๆ หลากหลายและเป็นการเฉพาะให้ใช้ด้วย เช่น ห้องสมุดต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์วิจัย หน่วยประชาสัมพันธ์ ต่าง ๆ
(5) พัฒนาบุคลิกภาพให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้ได้มีโอกาสพบปะสนทนา หรือร่วมกิจกรรมกับบุคคลจำนวนมากมาย และหลากหลายในโอกาสต่าง ๆ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ การมีโอกาสได้พบปะสัมผัสกับบุคคลหลากหลาย ต่างโอกาส ต่างเวลา ต่างสถานที่ จะทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เพราะแต่ละคนมีความรู้และประสบการณ์แตกต่างกันมากมายอยู่แล้ว โดยเฉพาะความรู้ประเภท ความรู้เฉพาะตน (tacit knowledge)
(6) พยายามพัฒนาตนเองให้มีความสามารถสูงด้านภาษา เพราะภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญและมีประสิทธิภาพมาก ซึ่งจะเป็นตัวนำและถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันได้ บุคคลใดมีความรู้ความสามารถทางภาษามาก ก็มีโอกาสได้รับความรู้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้หมายรวมถึง ภาษาที่ไม่ใช่ วจนภาษาด้วย ได้แก่ ภาษาใบ้ ภาษาท่าทาง เสียง สัญญาณ หรือสื่อสัญลักษณ์อื่น ๆ ด้วย


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008