4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 3 แหล่งความรู้และระบบการจัดเก็บความรู้

ผศ.จินตนา เกษรบัวขาว

3.3 ชนิดและประเภทของแหล่งความรู้

แหล่งความรู้อาจจำแนกตามลักษณะที่ดำรงอยู่ของความรู้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงหรือสารสนเทศได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1) แหล่งบุคคล หมายถึง ตัวบุคคลที่มีความรู้ ซึ่งหมายรวมตั้งแต่ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ (scholars and experts) ไปจนถึงผู้ให้ข้อมูล (informants) ธรรมดาซึ่งสามารถทำให้เกิดความรู้แก่ ผู้ต้องการเรียนรู้ได้
แหล่งบุคคลนี้อาจจำแนกย่อยออกตามลักษณะความรู้ที่มีให้เรียนรู้ได้ดังนี้
(1) บุคคลผู้รู้เฉพาะทาง คือผู้ที่รู้และเชี่ยวชาญสาขาวิชาหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่ง จะมีทั้งประเภท ผู้ศึกษาเล่าเรียนสาขาวิชานั้นมาโดยตรง หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ปฏิบัติงานหรือทำงานที่ใช้ความรู้ในสาขาวิชานั้นโดยตรง
(2) ผู้รู้ทั่วไป (learned man) หมายถึงผู้อาวุโสที่ผ่านการทำงานการดำรงชีวิต มายาวนานทำให้รู้เรื่องราวหลายเรื่องเกี่ยวเนื่องกันในทางประวัติศาสตร์แต่อาจมิได้รู้หรือเชี่ยวชาญเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ
2) แหล่งทรัพยากรความรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น หมายถึง แหล่งต่าง ๆ ที่มนุษย์ทำขึ้น เพื่อใช้เก็บสะสมรวบรวมความรู้ไว้ สำหรับแหล่งประเภทนี้มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ
(1) ทรัพยากรสารนิเทศ หมายถึง วัสดุบันทึกต่าง ๆ ที่มนุษย์ตั้งใจทำขึ้นอาจเขียน ด้วยลายมือเพื่อบันทึกหรือรวบรวมความรู้ไว้ ได้แก่ วัสดุประเภทสิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุชนิดต่าง ๆ ต้นฉบับ ภาพวาด เป็นต้น
(2) สถานที่เก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ที่ให้ความรู้ซึ่งเป็นที่รวบรวม และจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบเป็นแห่ง ๆ แน่นอนเรียกชื่อต่าง ๆ กัน ได้แก่ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ศูนย์การเรียน ศูนย์สื่อ อุทยานการศึกษา เป็นต้น
(3) แหล่งหรือสถานที่ที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่มนุษย์เคยสร้าง ใช้ประโยชน์แล้วตกทอดมาจนถึงคนรุ่นหลัง ๆ ให้ได้รู้จักเรียนรู้หรือใช้ประโยชน์ต่อมาถึงปัจจุบัน
3) แหล่งธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่มิใช่มนุษย์สร้างแต่เกิดเองเป็นเองตามธรรมชาติ แล้วมนุษย์ได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ได้ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ถ้ำ ทะเล ลำธาร ดิน หิน แร่ต่าง ๆ รวมสัตว์ พืช สิ่งมีชีวิตนานาชนิด
หากพิจารณาแหล่งความรู้ตามลักษณะการจัดตั้งทางสังคมจะพบว่าแหล่งความรู้มี 3 แบบ คือ
(1) แหล่งความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นหน่วยงานหรือองค์กรจัดตั้งเพื่อ ทำหน้าที่สอนหรือฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพแก่คน ซึ่งจะมีชื่อเรียก เป็นการเฉพาะลงไป เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบัน เป็นต้น หน่วยงานเหล่านี้จะเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการเป็นหลักหากเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาชีพจะได้แก่บริษัท ห้างร้าน สถานประกอบการต่าง ๆ
(2) แหล่งความรู้ทางคุณธรรมจริยธรรม เป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่ หลักทางด้านการเผยแพร่ความรู้ ฝึกอบรม แนะนำทางด้านศีลธรรม จริยธรรม ความคิด ปรัชญา แนวทางการปฏิบัติ หรือตัดสินการกระทำหรือพฤติกรรมทั่วไปว่าดีหรือไม่ดี สมควรหรือไม่สมควร ได้แก่ วัด และศาสนสถานต่าง ๆ
(3) แหล่งความรู้พื้นฐานอย่างบูรณาการ หมายถึง แหล่งที่ทำหน้าที่สอนฝึกอบรม และชี้วัดตัดสินความคิดความประพฤติแก่คนในวัยเด็กก่อนจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบตนเองได้เต็มที่ แหล่งนี้ใช้การบูรณาการทั้งความรู้ทางวิชาการ ความรู้ทางอาชีพ และเกณฑ์ทางคุณธรรมจริยธรรมมาใช้ถ่ายทอดให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ตลอดเวลา คือบ้าน หรือครอบครัวนั่นเอง
ในอีกด้านหนึ่งหากพิจารณาแหล่งความรู้ตามลำดับชั้นที่ได้รับการส่งผ่าน หรือถ่ายทอดกันต่อ ๆ มาแล้ว แหล่งข้อมูลอาจแบ่งได้ ดังนี้
(1) แหล่งปฐมภูมิ (primary sources) หมายถึง แหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของความรู้แท้จริง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นข้อมูล (data) หรือข้อเท็จจริง (facts) หรือปรากฏการณ์ (phenomena) หรือหากเป็นแหล่งบุคคลก็จะได้แก่บุคคลต้นบัญญัติ เป็นผู้พูดเอง คิดเอง ปฏิบัติเอง เขียนเอง หลักฐานที่ปรากฏก็จะเป็นต้นฉบับ ตัวเขียน เป็นต้น
(2) แหล่งทุติยภูมิ (secondary souirces) เป็นแหล่งรองลงมาจากแหล่งปฐมภูมิ หมายความว่ามีผู้นำเอาความรู้ข้อมูล หรือสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิมาแสดงกล่าวอ้างกล่าวถึงอีกขั้นหนึ่งภายหลัง
(3) แหล่งตติยภูมิ (tertiary sources) เป็นแหล่งความรู้ชนิดที่ผ่านการส่งต่อมาอย่างน้อยสองชั้นแล้ว ทำให้มีความผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อนไปจากแหล่งเดิมมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ว่าในช่วงชั้นก่อนหน้านี้มีทำให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างมากหรือน้อยเพียงใดบ้าง


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008