4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 3 แหล่งความรู้และระบบการจัดเก็บความรู้

ผศ.จินตนา เกษรบัวขาว

3.1 ความหมายของแหล่งความรู้

แหล่งความรู้ (sources of knowledge) หมายถึงที่ ๆ มีความรู้สถิตอยู่ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคือคนนั่นเอง ทุกคนมีความรู้อยู่แล้วมากน้อยต่างกันชนิดและประเภทของความรู้ก็แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ คนแต่ละคนจึงเป็นแหล่งความรู้แต่ละแหล่ง 1 คน คือ 1 แหล่ง ที่ใดมีคนอยู่ที่นั่นก็มีแหล่งความรู้
อย่างไรก็ตามความรู้ในตัวคนสามารถถ่ายทอดออกมาเก็บไว้นอกตัวคนได้ในรูปของการบันทึกลงในวัสดุบันทึก (recorded materials) โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ตัวอักษรภาษาต่าง ๆ ภาพต่าง ๆ หรือบันทึกลงวัสดุบันทึกเสียง ภาพเคลื่อนไหว สัญญาณต่าง ๆ ที่แปลงสภาพกลับมาเหมือนเดิมได้อีก ความรู้ที่ถ่ายทอดออกจากตัวคนลงวัสดุบันทึกแล้วนี้ เรียกว่า ข้อมูล (data) หรือสารสนเทศ (information) วัสดุที่ใช้บันทึกเหล่านั้นเปลี่ยนสภาพจากวัสดุพื้นฐานธรรมดาเป็น วัสดุสารสนเทศ (information materials) หรือเมื่อมีการรวบรวมไว้มาก ๆ ก็เรียกรวม ๆ ว่าทรัพยากรสารสนเทศ (information resources)
ทรัพยากรสารสนเทศชนิดต่าง ๆ มีพัฒนาการมาแต่โบราณนานไม่น้อยกว่า 5,000 ปีล่วงมาแล้ว นับตั้งแต่มีหลักฐานว่ามนุษย์สามารถคิดประดิษฐ์ตัวหนังสือขึ้นมาใช้สื่อสารกันได้ ดังเช่นหลักฐานตัวอักษรภาพ (pictographs) และอักษรฮีโรกริฟฟิค (hieroglyphics) เขียนบนกระดานปาปิรุส (papyrus) ของอิยิปต์สมัยโบราณ หรืออักษรรูปลิ่ม (cuniforms) ที่จารึกบนแผ่นดินเหนียว (clay) ของชาวเมโสโปเตเมีย ซึ่งถือได้ว่ากระดาษปาปิรุส และแผ่นดินเหนียวที่จารึกเรื่องราวโบราณเหล่านั้นเป็นทรัพยากรสารสนเทศอย่างแท้จริง เพราะเมื่อคนยุคปัจจุบันได้ค้นพบศึกษาเรียนรู้โดยการ พยายามอ่านและแปลความหมายทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของคนอิยิปต์ และคนเมโสโปเตเมีย มากมาย คนยุคโบราณเหล่านั้นเก็บสะสมทรัพยากรสารสนเทศที่เขาสร้างขึ้นไว้ในที่รวมกันเรียกว่าห้องสมุด (library) เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาและการให้คนที่ต้องการอ่านได้ใช้ประโยชน์ได้สะดวก ห้องสมุดจึงถูกกำหนดว่าเป็นแหล่งรวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งหมายถึงความรู้ของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณแล้ว (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์, 2515,1)
อีกประการหนึ่งคนทุกคนสามารถเรียนรู้จากธรรมชาติภายนอกรอบตัวทุกอย่างได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่มีสายตามองเห็น มีหูฟังเสียง มีจมูกดมกลิ่น มีลิ้นชิมรสและมีผิวกาย ทุกส่วนสัมผัสสิ่งต่าง ๆ และรู้ได้ การใช้ประสาทสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ทำให้สามารถรู้สภาวะสิ่งนั้น ได้ชัดเจน เช่น ดวงตามองเห็น พืชสัตว์ สิ่งไร้ชีวิตต่าง ๆ ทำให้เห็นความแตกต่าง หูฟังเสียงต่าง ๆ หลากหลาย จมูกดมกลิ่นต่าง ๆ ได้ ทำให้เกิดความรู้จากการสัมผัสนั้น ๆ ทุกครั้ง ทำให้เกิดความรู้ขึ้นในตัวคนตลอดเวลาและดำรงอยู่ตลอดไป จึงสามารถกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าแหล่งความรู้อยู่ที่ธรรมชาติแวดล้อมตัวคนนั่นเอง ดังนั้นหากพิจารณาแหล่งความรู้ตามความหมายนี้ความรู้จึงมีอยู่ในทุกที่ทุกแห่งในโลก และในจักรวาลที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ กล่าวโดยสรุปแหล่งความรู้จึงหมายถึง
1) ตัวคนแต่ละคน ทุกคน เพราะสามารถให้ความรู้แก่ผู้อื่นได้
2) ทรัพยากรสารสนเทศ และแหล่งรวมทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุบันทึกข้อมูล และสารสนเทศทุกชนิด ทุกประเภท ตั้งแต่ยุคโบราณที่มีวิธีการบันทึกธรรมดามาถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งใช้เทคโนโลยีการบันทึกที่มีประสิทธิภาพมากซึ่งเรียกง่าย ๆ ว่า ไอที (I.T : information technology) และแหล่งรวมทรัพยากรสารสนเทศที่เรียกว่าห้องสมุดด้วย
3) ธรรมชาติทั่วไปที่ปรากฏแก่มนุษย์ ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไร้ชีวิต


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008