4000111 ทักษะการจัดการความรู้
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

ทักษะการจัดการความรู้

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

หน่วยที่ 2 กระบวนการจัดการความรู้ (knowledge management procedure)

ผศ.พิมพา สุวรรณฤทธิ์

2.5 การจัดการความรู้ในองค์กรและปัญหาสาธารณะ

การเลือกสรรความรู้ การผสมผสานความรู้ และการพัฒนาเพื่อเพิ่มความรู้นี้เป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ด้วยตัวคน ๆ เดียว เป็นการจัดการความรู้ของคนคนเดียว แต่ในการจัดการกับปัญหาขององค์กรมีบุคคลเกี่ยวข้องหลายคน หรือปัญหาของสังคมสาธารณะก็จะไม่สามารถใช้ความรู้จาก คน ๆ เดียวมาจัดการได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้ขององค์กรมาใช้จัดการ ซึ่งหมายถึง นำเอาความรู้ของแต่ละคนในองค์กรมาเลือกสรรผสมผสานและพัฒนาขึ้นใช้ จัดการกับปัญหาขององค์กรหรือสังคมนั้น เทคนิควิธีที่จะจัดการความรู้ในองค์กรจึงแตกต่างไปจากการจัดการความรู้ปัจเจกชนหรือคนเดียว เทคนิควิธีที่ได้สำหรับจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาส่วนร่วมหรือองค์กรจะได้แก่
1)การเรียนรู้ร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (group learning) เป็นการผสมผสานความรู้ หลากหลายด้านหรือหลากหลายสาขาจากหลายบุคคลหรือหลายแหล่ง กิจกรรมที่ทำเป็นการเรียนรู้ร่วมกันนี้จะเป็นการแบ่งปันความรู้ (knowledge sharing) ผสมผสานความรู้ (knowledge integrating) เลือกสรรความรู้ (knowledge selecting) ตรวจสอบความรู้ (knowledge testing) และพัฒนาความรู้ (knowledge increasing and developing) ไปด้วยในตัวใน คราวเดียวกัน
2)วิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ (analysis and synthesis of knowledge) เป็นกิจกรรม ของคนที่เกี่ยวข้องในปัญหาขององค์กร ช่วยกันพิจารณาว่ามีความรู้อะไรแฝงอยู่ที่ใด และจะนำออกมาใช้ได้อย่างไร ซึ่งพิจารณาปัญหาเดียวกันด้วยคนหลาย ๆ คน จะสามารถค้นพบความรู้และแนวทางการนำมาใช้ได้มากกว่าและดีกว่าคนเดียวคิดทำ
3)ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดการกับสารสนเทศให้เกิดความรู้มาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารไม่ได้ช่วยให้เกิดความรู้ โดยตรงแต่ช่วยให้คนสังเคราะห์ความรู้ขึ้นมาได้ ตัวอย่างเช่น ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวบรวมข้อมูลและสารสนเทศเรื่องโรคเอดส์ ซึ่งสามารถทำได้มากมาย รวดเร็ว แล้วใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเช่นกันวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศเหล่านั้นจะได้สิ่งที่คนรับเป็นความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ในแง่มุมต่าง ๆ ของโรคเอดส์ ได้แก่ ประวัติการค้นพบ อาการที่ปรากฏ พัฒนาการของเชื้อ การแพร่ระบาดปฏิกิริยาต่อยาที่ใช้ต่อต้าน เป็นต้น
4)การบันทึกความรู้เก็บไว้ในสื่อรูปแบบต่าง ๆ (knowledge storing) หมายถึง การถ่ายทอด หรือแปรความรู้ในตัวคนออกมาเก็บไว้เป็นสารสนเทศหรือข้อมูลอยู่ในสื่อ (media) ต่าง ๆ เช่น เขียน หรือพิมพ์หรือวาดไว้บนกระดาษ ผ้า หรือวัสดุอื่น ๆ จารึกไว้บนวัสดุทนทาน ถ่ายภาพไว้ บันทึกเป็นเสียงไว้ หรือบันทึกเป็นสื่อเคลื่อนไหวได้ และส่งผ่านได้โดยเวลาจะใช้ก็สามารถแปรรูปนำกลับมาเป็นรูปเดิมได้อีกเป็นลักษณะของการจัดเก็บเพื่อการค้นคืนเพื่อให้ได้ผลเหมือนเดิมตอน ที่เก็บไว้ (knowledge & storage and retrieval)


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008